“จุรินทร์” เผย หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของ สธ. ออกตรวจรักษาผู้ประสบภัยน้ำท่วมใต้ต่อเนื่อง ยอดคนป่วยพุ่งใกล้ 8 หมื่นราย เสียชีวิต 56 ราย จ.นครศรีธรรมราช มากสุด 25 ราย และพบมีปัญหาสุขภาพจิต เสี่ยงฆ่าตัวตาย 56 ราย ซึมเศร้า 103 ราย
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในภาคใต้ ว่า สถานการณ์ล่าสุด เมื่อคืนวันที่ 6 เมษายน 2554 ขณะนี้มีพื้นที่น้ำท่วม 7 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร กระบี่ สงขลา ส่วนใหญ่เริ่มคลี่คลายลง โดยยอดผู้เสียชีวิต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติรายงานจนถึงเมื่อเวลา 22.00 น.วันที่ 6 เมษายน 2554 รวมทั้งสิ้น 56 ราย ได้แก่ที่นครศรีธรรมราช 25 ราย สุราษฎร์ธานี 10 ราย พัทลุง 6 ราย กระบี่ 10 ราย ตรัง 2 ราย ชุมพร 2 ราย และพังงา 1 ราย สูญหาย 1 ราย
ส่วนการดูแลผู้ประสบภัยที่เจ็บป่วย ได้จัดออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการรวม 1,941 ครั้ง มีผู้รับบริการ 79,677 ราย จำนวนนี้พบป่วยเป็นไข้หวัดร้อยละ 45 และเป็นโรคน้ำกัดเท้าร้อยละ 36 สำหรับปัญหาสุขภาพจิต ให้บริการรวม 848 ราย พบมีความเครียดสูง 68 ราย ซึมเศร้า 103 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 56 ราย ซึ่งอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด กระทรวงสาธารณสุขได้จัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปแล้วรวมทั้งหมด 399,000 ชุด ประกอบด้วยยาชุดน้ำท่วมรวม 279,000 ชุด และยารักษาโรคน้ำกัดเท้า 120,000 ชุด
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในด้านการส่งต่อผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้มีการลำเลียงส่งทางเฮลิคคอปเตอร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพอากาศ โรงพยาบาลกรุงเทพ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม-6 เมษายน 2554 รวม 24 ครั้ง ผู้ป่วย 28 ราย และลำเลียงทางเรือ รวม 550 ครั้ง ประกอบด้วยที่ จ.สุราษฎร์ธานี 200 ครั้ง และที่กระบี่ 350 ครั้ง ส่วนผลกระทบของสถานบริการสาธารณสุข พบถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายรวม 187 แห่ง ขณะนี้ยังเปิดให้บริการไม่ได้ 17 แห่งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีทั้งหมด โดยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 16 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง คือโรงพยาบาลท่าโรงช้าง ซึ่งคาดว่าจะให้บริการในวันจันทร์นี้ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการประเมินความเสียหาย คาดว่าจะได้ผลสรุปในสัปดาห์หน้า เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทางด้านนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ในพื้นที่น้ำท่วมทุกแห่ง ยังไม่มีรายงานโรคระบาด โดยกรมควบคุมโรคได้ส่งทีมควบคุมพาหะนำโรค เช่นแมลงวัน ยุง หนู จากสำนักงานควบคุมโรคประจำจังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช เข้าไปพื้นที่ที่ระดับน้ำลดแล้ว และจะประเมินความเสี่ยงทั้งหมด เพื่อระดมทีมจากส่วนกลางและภูมิภาคอื่น ร่วมควบคุมป้องกันและกำจัดพาหะนำโรคทั้งหมด ป้องกันปัญหาโรคระบาดตามมา เช่น โรคฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง ไข้เลือดออก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในภาคใต้ ว่า สถานการณ์ล่าสุด เมื่อคืนวันที่ 6 เมษายน 2554 ขณะนี้มีพื้นที่น้ำท่วม 7 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร กระบี่ สงขลา ส่วนใหญ่เริ่มคลี่คลายลง โดยยอดผู้เสียชีวิต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติรายงานจนถึงเมื่อเวลา 22.00 น.วันที่ 6 เมษายน 2554 รวมทั้งสิ้น 56 ราย ได้แก่ที่นครศรีธรรมราช 25 ราย สุราษฎร์ธานี 10 ราย พัทลุง 6 ราย กระบี่ 10 ราย ตรัง 2 ราย ชุมพร 2 ราย และพังงา 1 ราย สูญหาย 1 ราย
ส่วนการดูแลผู้ประสบภัยที่เจ็บป่วย ได้จัดออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการรวม 1,941 ครั้ง มีผู้รับบริการ 79,677 ราย จำนวนนี้พบป่วยเป็นไข้หวัดร้อยละ 45 และเป็นโรคน้ำกัดเท้าร้อยละ 36 สำหรับปัญหาสุขภาพจิต ให้บริการรวม 848 ราย พบมีความเครียดสูง 68 ราย ซึมเศร้า 103 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 56 ราย ซึ่งอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด กระทรวงสาธารณสุขได้จัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปแล้วรวมทั้งหมด 399,000 ชุด ประกอบด้วยยาชุดน้ำท่วมรวม 279,000 ชุด และยารักษาโรคน้ำกัดเท้า 120,000 ชุด
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในด้านการส่งต่อผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้มีการลำเลียงส่งทางเฮลิคคอปเตอร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพอากาศ โรงพยาบาลกรุงเทพ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม-6 เมษายน 2554 รวม 24 ครั้ง ผู้ป่วย 28 ราย และลำเลียงทางเรือ รวม 550 ครั้ง ประกอบด้วยที่ จ.สุราษฎร์ธานี 200 ครั้ง และที่กระบี่ 350 ครั้ง ส่วนผลกระทบของสถานบริการสาธารณสุข พบถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายรวม 187 แห่ง ขณะนี้ยังเปิดให้บริการไม่ได้ 17 แห่งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีทั้งหมด โดยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 16 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง คือโรงพยาบาลท่าโรงช้าง ซึ่งคาดว่าจะให้บริการในวันจันทร์นี้ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการประเมินความเสียหาย คาดว่าจะได้ผลสรุปในสัปดาห์หน้า เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทางด้านนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ในพื้นที่น้ำท่วมทุกแห่ง ยังไม่มีรายงานโรคระบาด โดยกรมควบคุมโรคได้ส่งทีมควบคุมพาหะนำโรค เช่นแมลงวัน ยุง หนู จากสำนักงานควบคุมโรคประจำจังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช เข้าไปพื้นที่ที่ระดับน้ำลดแล้ว และจะประเมินความเสี่ยงทั้งหมด เพื่อระดมทีมจากส่วนกลางและภูมิภาคอื่น ร่วมควบคุมป้องกันและกำจัดพาหะนำโรคทั้งหมด ป้องกันปัญหาโรคระบาดตามมา เช่น โรคฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง ไข้เลือดออก