เครือข่ายครอบครัว โร่ร้อง "นิพิฏฐ์" ช่วยลงดาบโฆษณาดาวน์โหลดภาพ-คลิปลามก พร้อมวอนงัดกฎหมายปราบผู้ผลิต-จำหน่าย หวังทุกฝ่ายร่วมมือแก้ก่อนสังคมเสื่อมหนัก ขณะที่ วธ. เร่งประสานแจ้งเตือนไปยังสื่อสิ่งพิมพ์ให้หยุดเผยแพร่ภาพ ด้านประธานเครือข่ายครอบครัวฯ เผยผลสำรวจ นิตยสาร ดารา-บันเทิง เป็นสื่อยั่วยุทางเพศอันดับหนึ่ง
วันนี้(4เม.ย.)ที่กระทรวงวัฒนธรรม ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว เครือข่ายเยาวชนสานพลังสู่สังคม และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา นำนิตยสารสิ่งพิมพ์จำนวนหนึ่งที่ลงโฆษณาให้ดาวน์โหลดภาพโป๊ คลิปลามกเข้าร้องเรียนนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ. )เพื่อเรียกร้องให้ดำเนิการตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา287กับผู้ที่เกี่ยวข้องและเสนอให้เร่งหามาตราการจัดระเบียบการโฆษณาที่ไม่เหมาะสม
ดร.ปริญญา กล่าวว่า การยื่นหนังสือครั้งนี้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อบอกว่า การโฆษณาสื่อลามก ให้ดาวน์โหลดภาพโป๊ คลิปลามกลงในนิตยสารบันเทิง กีฬาเป็นการทำผิดกฏหมาย และอยากให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขโดยด่วน ถ้ายังปล่อยเลยไปก็จะกลายเป็นการความชินชาและเกิดการกระทำที่มากขึ้น โดยเรื่องเร่งด่วนที่อยากให้รีบแก้ไขมี 3 เรื่อง ดังนี้ 1.เรื่องหนังสือบันเทิง หนังสือดาราหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่ลงโฆษณาจำหน่ายคลิปลามกผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เพราะเป็นช่องทางที่เยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยการลงโฆษณานี้เป็นความผิดตามมาตรา287(3)ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ง่ายกว่าเรื่องอื่นๆ เนื่องจากมีตัวผู้กระทำผิดตามกฏหมายชัดเจน คือ เจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณาของหนังสือต่างๆที่ลงโฆษณาให้สื่อลามก 2.ขอให้ปราบปรามผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายคลิปลามกทางโทรศัพท์มือถือ เพราะมีความผิดฐานเป็นผู้ผลิตหรือจำหน่ายสื่อลามกตามมาตรา287(1)และ(2)ซึ่งสามารถติดตามตัวผู้กระทำผิดได้ง่ายมีตัวตนที่ติดต่อได้ เนื่องจากเป็นผู้ลงโฆษณากับหนังสือบันเทิงและสื่อสิ่งพิมพ์ และ3.การที่เครือข่ายโทรศัพท์มือถือเปิดให้บริการดาวน์โหลดคลิปลามกและมีการได้ส่วนแบ่งหรือค่าให้บริการจากผู้จำหน่ายคลิป จึงถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุลามก ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา287(2)
"ที่ผ่านมาประชาชนไม่ทราบว่าการโฆษณาสื่อลามกเหล่านี้ถือว่ามีความผิดฐานเดียวกันกับผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตามมาตรา 287 มีโทษถึงจำคุกไม่เกิน 3 ปี และเราถือว่าวธ.ก็มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ดังนั้นการมายื่นหนังสือในครั้งนี้เพื่อ แสดงให้เห็นว่าการโฆษณาสื่อลามก ไม่ใช่เพียงเรื่องความไม่เหมาะสม แต่การกระทำดังกล่าวถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย และต้องตระหนักเพื่อช่วยกันหาทางแก้ไข ก่อนที่สังคมจะเสื่อมกันไปมากกว่านี้”ดร.ปริญา กล่าว
ขณะที่นายนิพิฎฐ์ กล่าวว่า ปัญหานี้ถือเป็นเรื่องสำคัญและเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบแก้ไข ซึ่งในเร็วๆ นี้ตนจะเร่งดำเนินการประสานแจ้งเตือนไปยังสื่อสิ่งพิมพ์ให้หยุดการเผยแพร่ภาพเหล่านี้ นอกจากนี้ตนจะทำหนังสือไปยังกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารสนเทศ (ICT) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้มีมาตรการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ และจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์แห่งชาติเพื่อให้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย
ด้านนางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ ประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เปิดผลสำรวจความคิดเห็นเด็กและเยาวชน มุมมองต่อสื่อสิ่งพิมพ์กับการยั่วยุทางเพศ จากการสำรวจความคิดเห็นเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 15- 25 ปี จำนวน 525 คน แบ่งเป็นเพศหญิง 52.19 % เพศชาย 47.81% โดยระบุว่า เคยเห็นการนำเสนอภาพที่ส่อถึงการยั่วยุทางเพศสูงถึง 96.76% จากสื่อนิตยสาร อาทิ ทีวีพูล กอสซิป สไปซี่ สตาร์นิวส์ ทีวีอินไซต์ และรองลงมาคือสื่อไอที เช่น อินเทอร์เน็ตตามเว็บไซต์ต่างๆ โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 30.09 ตามด้วยหนังสือพิมพ์กีฬา อาทิ สปอตพูล สปอตแมน สตาร์ซคเกอร์
ฮอตสกอร์ เจาะเกมส์ ร้อยละ 10.40 ทั้งนี้ในรอบหนึ่งปีทีผ่านมา ผลสำรวจระบุว่า เยาวชนร้อยละ 67.62 พบเห็นการนำเสนอภาพที่ยั่วยุทางเพศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เยาวชนกว่า 88.00% ระบุว่าเคยเห็นการลงโฆษณาให้ส่งข้อความสั้น( SMS ) เพื่อดาวน์โหลดภาพโป๊ คลิปโป๊ และ 37.9 %ระบุว่าเคย ส่งข้อความสั้น( SMS) ดาวน์โหลดภาพและคลิปดังกล่าว
“นอกจากนี้ผลสำรวจ 90.29% เชื่อว่าการที่สื่อสิ่งพิมพ์นำเสนอภาพที่ส่อถึงการยั่วยุทางเพศ ส่งผลต่อการส่งข้อความสั้น (SMS) ดาวน์โหลดภาพโป๊หรือคลิปโป๊ ตามที่ลงโฆษณาไว้ และเยาวชนตัวอย่างดังกล่าวกว่า 93.52% ระบุว่า การดาวน์โหลด ภาพโป๊ คลิปโป๊ มีผลทำให้เกิดภัยคุกคามทางเพศสูงถึง โดย 97.33% ต้องการให้ภาครัฐมีมาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทั้งการออกกฎควบคุม หาหน่วยงานบล็อกภาพ และอย่านิ่งเฉย รวมทั้งมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ให้มีมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ทั้งการควบคุม อายุคนซื้อ จัดโซน ควบคุมสื่อ ปลุกจิตสำนึกผู้ผลิตและผู้บริโภค” นางอัญญาอร กล่าว
วันนี้(4เม.ย.)ที่กระทรวงวัฒนธรรม ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว เครือข่ายเยาวชนสานพลังสู่สังคม และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา นำนิตยสารสิ่งพิมพ์จำนวนหนึ่งที่ลงโฆษณาให้ดาวน์โหลดภาพโป๊ คลิปลามกเข้าร้องเรียนนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ. )เพื่อเรียกร้องให้ดำเนิการตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา287กับผู้ที่เกี่ยวข้องและเสนอให้เร่งหามาตราการจัดระเบียบการโฆษณาที่ไม่เหมาะสม
ดร.ปริญญา กล่าวว่า การยื่นหนังสือครั้งนี้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อบอกว่า การโฆษณาสื่อลามก ให้ดาวน์โหลดภาพโป๊ คลิปลามกลงในนิตยสารบันเทิง กีฬาเป็นการทำผิดกฏหมาย และอยากให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขโดยด่วน ถ้ายังปล่อยเลยไปก็จะกลายเป็นการความชินชาและเกิดการกระทำที่มากขึ้น โดยเรื่องเร่งด่วนที่อยากให้รีบแก้ไขมี 3 เรื่อง ดังนี้ 1.เรื่องหนังสือบันเทิง หนังสือดาราหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่ลงโฆษณาจำหน่ายคลิปลามกผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เพราะเป็นช่องทางที่เยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยการลงโฆษณานี้เป็นความผิดตามมาตรา287(3)ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ง่ายกว่าเรื่องอื่นๆ เนื่องจากมีตัวผู้กระทำผิดตามกฏหมายชัดเจน คือ เจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณาของหนังสือต่างๆที่ลงโฆษณาให้สื่อลามก 2.ขอให้ปราบปรามผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายคลิปลามกทางโทรศัพท์มือถือ เพราะมีความผิดฐานเป็นผู้ผลิตหรือจำหน่ายสื่อลามกตามมาตรา287(1)และ(2)ซึ่งสามารถติดตามตัวผู้กระทำผิดได้ง่ายมีตัวตนที่ติดต่อได้ เนื่องจากเป็นผู้ลงโฆษณากับหนังสือบันเทิงและสื่อสิ่งพิมพ์ และ3.การที่เครือข่ายโทรศัพท์มือถือเปิดให้บริการดาวน์โหลดคลิปลามกและมีการได้ส่วนแบ่งหรือค่าให้บริการจากผู้จำหน่ายคลิป จึงถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุลามก ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา287(2)
"ที่ผ่านมาประชาชนไม่ทราบว่าการโฆษณาสื่อลามกเหล่านี้ถือว่ามีความผิดฐานเดียวกันกับผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตามมาตรา 287 มีโทษถึงจำคุกไม่เกิน 3 ปี และเราถือว่าวธ.ก็มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ดังนั้นการมายื่นหนังสือในครั้งนี้เพื่อ แสดงให้เห็นว่าการโฆษณาสื่อลามก ไม่ใช่เพียงเรื่องความไม่เหมาะสม แต่การกระทำดังกล่าวถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย และต้องตระหนักเพื่อช่วยกันหาทางแก้ไข ก่อนที่สังคมจะเสื่อมกันไปมากกว่านี้”ดร.ปริญา กล่าว
ขณะที่นายนิพิฎฐ์ กล่าวว่า ปัญหานี้ถือเป็นเรื่องสำคัญและเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบแก้ไข ซึ่งในเร็วๆ นี้ตนจะเร่งดำเนินการประสานแจ้งเตือนไปยังสื่อสิ่งพิมพ์ให้หยุดการเผยแพร่ภาพเหล่านี้ นอกจากนี้ตนจะทำหนังสือไปยังกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารสนเทศ (ICT) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้มีมาตรการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ และจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์แห่งชาติเพื่อให้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย
ด้านนางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ ประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เปิดผลสำรวจความคิดเห็นเด็กและเยาวชน มุมมองต่อสื่อสิ่งพิมพ์กับการยั่วยุทางเพศ จากการสำรวจความคิดเห็นเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 15- 25 ปี จำนวน 525 คน แบ่งเป็นเพศหญิง 52.19 % เพศชาย 47.81% โดยระบุว่า เคยเห็นการนำเสนอภาพที่ส่อถึงการยั่วยุทางเพศสูงถึง 96.76% จากสื่อนิตยสาร อาทิ ทีวีพูล กอสซิป สไปซี่ สตาร์นิวส์ ทีวีอินไซต์ และรองลงมาคือสื่อไอที เช่น อินเทอร์เน็ตตามเว็บไซต์ต่างๆ โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 30.09 ตามด้วยหนังสือพิมพ์กีฬา อาทิ สปอตพูล สปอตแมน สตาร์ซคเกอร์
ฮอตสกอร์ เจาะเกมส์ ร้อยละ 10.40 ทั้งนี้ในรอบหนึ่งปีทีผ่านมา ผลสำรวจระบุว่า เยาวชนร้อยละ 67.62 พบเห็นการนำเสนอภาพที่ยั่วยุทางเพศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เยาวชนกว่า 88.00% ระบุว่าเคยเห็นการลงโฆษณาให้ส่งข้อความสั้น( SMS ) เพื่อดาวน์โหลดภาพโป๊ คลิปโป๊ และ 37.9 %ระบุว่าเคย ส่งข้อความสั้น( SMS) ดาวน์โหลดภาพและคลิปดังกล่าว
“นอกจากนี้ผลสำรวจ 90.29% เชื่อว่าการที่สื่อสิ่งพิมพ์นำเสนอภาพที่ส่อถึงการยั่วยุทางเพศ ส่งผลต่อการส่งข้อความสั้น (SMS) ดาวน์โหลดภาพโป๊หรือคลิปโป๊ ตามที่ลงโฆษณาไว้ และเยาวชนตัวอย่างดังกล่าวกว่า 93.52% ระบุว่า การดาวน์โหลด ภาพโป๊ คลิปโป๊ มีผลทำให้เกิดภัยคุกคามทางเพศสูงถึง โดย 97.33% ต้องการให้ภาครัฐมีมาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทั้งการออกกฎควบคุม หาหน่วยงานบล็อกภาพ และอย่านิ่งเฉย รวมทั้งมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ให้มีมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ทั้งการควบคุม อายุคนซื้อ จัดโซน ควบคุมสื่อ ปลุกจิตสำนึกผู้ผลิตและผู้บริโภค” นางอัญญาอร กล่าว