ศธ.ประกาศความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับสูงว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชนครั้ง 10 วันที่ 22-24 มี.ค.นี้ ที่พัทยา “ชินวรณ์” วางเป้าบรรลุกรอบการศึกษา 6 เรื่องปี 2558 ด้าน “ผอ.ยูเนสโก ประจำประเทศไทย” ระบุ เด็กทั่วโลก 67 ล้านคน ยังไร้การศึกษา ผู้ใหญ่ 796 ล้านคน ขาดทักษะอ่านออกเสียง ส่วนใหญ่เป็นหญิงแถบเอเชีย พบข้อมูลน่าตกใจเด็กวัยเรียน 28 ล้านคน ตกเป็นเหยื่อสงคราม โรงเรียนหลายแห่งเป็นเป้าโจมตี
วันนี้ (3 มี.ค.) นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยในการแถลงข่าวการจัดประชุมระดับสูงว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชนครั้ง ที่ 10 ระหว่างวันที่ 22-24 มี.ค.นี้ ที่พัทยา จ.ชลบุรี ว่า ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับสูงว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน โดยจะมีผู้นำด้านการศึกษาจากชาติสมาชิกองค์การยูเนสโก เข้าร่วมประชุม 45 ประเทศ ประมาณ 200 คน โดยงานนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯเป็นองค์ประธานเปิดงานในวันที่ 22 มี.ค.โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เฝ้ารับเสด็จฯ และเป็นผู้กราบบังคมทูลถวายรายงานด้วย
นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการประชุมครั้งนี้ได้กำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุการศึกษาเพื่อปวงชน ภายในปี พ.ศ.2558 ตามกรอบปฏิญญาดาการ์ ใน 6 เรื่อง ได้แก่ 1.ขยายและปรับปรุงการศึกษาและการดูแลเด็กเล็กก่อนวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กที่เปราะบางและด้อยโอกาส 2.จัดให้เด็กทุกคนไม่ว่าเด็กชาย หรือ เด็กหญิง เด็กที่อยู่ในสภาวะลำบาก เด็กที่เป็นชนกลุ่มน้อยสามารถเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับที่มีคุณภาพ 3.จัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการเรียนรู้ของเยาวชนและผู้ใหญ่ 4.พัฒนาอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ให้ได้เพิ่มขึ้น 50% 5.ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเพศในการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และ 6.พัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกด้านรองรับความเป็นเลิศทั้งหมด
"ในการเป็นเจ้าภาพประชุมครั้งนี้จะเป็นสิ่งยืนยันให้เห็นความตั้งใจ และความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจังจนทำให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น การจัดโครงการเรียนดี เรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล เป็นต้น ทั้งนี้ สำหรับในประเทศไทยนั้นมีเด็กที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาเพียง 3% เช่น เด็กที่ออกกลางคัน เด็กด้อยโอกาส เป็นต้น” รมว.ศธ.กล่าว
ด้าน นายควาง โจ คิม ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า โครงการการศึกษาเพื่อปวงชนเริ่มจัดประชุมครั้งแรกขึ้นที่ จอมเทียน จ.ชลบุรี เมื่อปี 2533 และมีปฏิญญาจอมเทียนออกมาแต่จากรายงานการศึกษาเพื่อปวงชนฉบับล่าสุดก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายนัก ซึ่งจากการรายงานในปี 2554 ขององค์การยูเนสโก พบว่า ยังมีเด็กอีกกว่า 67 ล้านคนทั่วโลก ที่ยังไม่ได้รับการศึกษาและยังมีเด็กอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่สำเร็จการ ศึกษาในระดับประถม หรือต้องออกกลางคัน อีกทั้งจากสถิติปี 2551 ระบุด้วยว่า ยังมีผู้ใหญ่อีก 796 ล้านคน หรือร้อยละ 17 ของผู้ใหญ่ทั่วโลก ที่ขาดทักษะพื้นฐานด้านการอ่านออกเสียง และ 2 ใน 3 ของกลุ่มนี้เป็นผู้หญิง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในแถบเอเชียตะวันอเฉียงใต้ และเอเชียตะวันตก นอกจากนี้ ยังพบว่าการขาดแคลนการสนับสนุนทางการเงินยังเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายด้านการศึกษาเพื่อปวงชนโดยมีเพียง 6 ประเทศเท่านั้นที่สนับสนุนด้านการเงินในอัตราร้อยละ 62 แก่การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ จากข้อมูลการศึกษาขององค์การยูเนสโกที่เผยแพร่ในวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องวิกฤติการปัญหาความวุ่นวายและความขัดแย้ง พบว่า มีเด็กในวัยเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประมาณ 28 ล้านคนในประเทศที่ยากจนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา และโรงเรียนจำนวนมากในประเทศที่มีการสู้รบกันจะเป็นเป้าหมายของการโจมตี
วันนี้ (3 มี.ค.) นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยในการแถลงข่าวการจัดประชุมระดับสูงว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชนครั้ง ที่ 10 ระหว่างวันที่ 22-24 มี.ค.นี้ ที่พัทยา จ.ชลบุรี ว่า ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับสูงว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน โดยจะมีผู้นำด้านการศึกษาจากชาติสมาชิกองค์การยูเนสโก เข้าร่วมประชุม 45 ประเทศ ประมาณ 200 คน โดยงานนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯเป็นองค์ประธานเปิดงานในวันที่ 22 มี.ค.โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เฝ้ารับเสด็จฯ และเป็นผู้กราบบังคมทูลถวายรายงานด้วย
นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการประชุมครั้งนี้ได้กำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุการศึกษาเพื่อปวงชน ภายในปี พ.ศ.2558 ตามกรอบปฏิญญาดาการ์ ใน 6 เรื่อง ได้แก่ 1.ขยายและปรับปรุงการศึกษาและการดูแลเด็กเล็กก่อนวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กที่เปราะบางและด้อยโอกาส 2.จัดให้เด็กทุกคนไม่ว่าเด็กชาย หรือ เด็กหญิง เด็กที่อยู่ในสภาวะลำบาก เด็กที่เป็นชนกลุ่มน้อยสามารถเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับที่มีคุณภาพ 3.จัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการเรียนรู้ของเยาวชนและผู้ใหญ่ 4.พัฒนาอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ให้ได้เพิ่มขึ้น 50% 5.ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเพศในการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และ 6.พัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกด้านรองรับความเป็นเลิศทั้งหมด
"ในการเป็นเจ้าภาพประชุมครั้งนี้จะเป็นสิ่งยืนยันให้เห็นความตั้งใจ และความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจังจนทำให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น การจัดโครงการเรียนดี เรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล เป็นต้น ทั้งนี้ สำหรับในประเทศไทยนั้นมีเด็กที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาเพียง 3% เช่น เด็กที่ออกกลางคัน เด็กด้อยโอกาส เป็นต้น” รมว.ศธ.กล่าว
ด้าน นายควาง โจ คิม ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า โครงการการศึกษาเพื่อปวงชนเริ่มจัดประชุมครั้งแรกขึ้นที่ จอมเทียน จ.ชลบุรี เมื่อปี 2533 และมีปฏิญญาจอมเทียนออกมาแต่จากรายงานการศึกษาเพื่อปวงชนฉบับล่าสุดก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายนัก ซึ่งจากการรายงานในปี 2554 ขององค์การยูเนสโก พบว่า ยังมีเด็กอีกกว่า 67 ล้านคนทั่วโลก ที่ยังไม่ได้รับการศึกษาและยังมีเด็กอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่สำเร็จการ ศึกษาในระดับประถม หรือต้องออกกลางคัน อีกทั้งจากสถิติปี 2551 ระบุด้วยว่า ยังมีผู้ใหญ่อีก 796 ล้านคน หรือร้อยละ 17 ของผู้ใหญ่ทั่วโลก ที่ขาดทักษะพื้นฐานด้านการอ่านออกเสียง และ 2 ใน 3 ของกลุ่มนี้เป็นผู้หญิง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในแถบเอเชียตะวันอเฉียงใต้ และเอเชียตะวันตก นอกจากนี้ ยังพบว่าการขาดแคลนการสนับสนุนทางการเงินยังเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายด้านการศึกษาเพื่อปวงชนโดยมีเพียง 6 ประเทศเท่านั้นที่สนับสนุนด้านการเงินในอัตราร้อยละ 62 แก่การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ จากข้อมูลการศึกษาขององค์การยูเนสโกที่เผยแพร่ในวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องวิกฤติการปัญหาความวุ่นวายและความขัดแย้ง พบว่า มีเด็กในวัยเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประมาณ 28 ล้านคนในประเทศที่ยากจนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา และโรงเรียนจำนวนมากในประเทศที่มีการสู้รบกันจะเป็นเป้าหมายของการโจมตี