“นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนฯ ศธ.” เผยบุคลากรทางการศึกษาอื่น 4 กลุ่มทั้ง จนท.ตรวจสอบภายใน, การเงิน-บัญชี, พัสดุ, ทรัพยากรบุคคล ใน สพท.ทั่วประเทศ กว่า 1.8 หมื่นคน โวยไม่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ทวง “ชินวรณ์” อย่าเหลื่อมล้ำ 2 มาตรฐาน ด้านเจ้าตัวมอบ สพฐ.-ก.ค.ศ.แก้ปัญหาด่วน
วันนี้ (23 ก.พ.) ที่หอประชุมคุรุสภา สมาคมข้าราชการพลเรือนและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2554 และประชุมทางวิชาการ “ความก้าวหน้าทางวิชาชีพของบุคลากรอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)” โดยนายวิศร์ อัครสันตติกุล นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนฯ กล่าวว่า ทางสมาคมฯ ได้รับการร้องเรียนจากบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ทั่วประเทศ ว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีมติให้นำหลักเกณฑ์ของข้าราชการพลเรือนมาใช้กับบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) แต่ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งด้วยนั้น ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้การอนุมัติเงินประจำตำแหน่งยังไม่ได้อนุมัติให้บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ในทุกตำแหน่ง มีเพียงนิติกร นักวิชาการศึกษา และเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เฉพาะระดับเชี่ยวชาญเท่านั้น และเป็นระดับตำแหน่งที่ยังไม่ได้กำหนดให้มีใน สพท.
“ขณะนี้มีบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี นักวิชาการพัสดุ และ นักทรัพยากรบุคคล จำนวนประมาณ 18,000 คนใน สพท.ทั่วประเทศยังไม่ได้รับการอนุมัติเงินประจำตำแหน่งและความก้าวหน้าในวิชาชีพ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ จึงขอเรียก ร้องให้ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ ช่วยให้เกิดความเป็นธรรม ไม่ใช่เลือกปฏิบัติเป็น 2 มาตรฐาน ทั้งๆ ที่อยู่ในกระทรวงเดียวกัน ทำให้ข้าราชการขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน” นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนฯ กล่าว
ด้านนายชินวรณ์ กล่าวว่า ตนเข้าใจดีว่า ภารกิจหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษาแตกต่างจากข้าราชการกระทรวงอื่น เพราะจัดเป็นกองทัพหลังที่ส่งให้กองทัพหน้าพัฒนาการศึกษาได้สำเร็จ เรื่องนี้ตนได้มอบหมายให้ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และ นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ.ไปแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าว และเร่งนำเสนอ ก.ค.ศ.แล้ว จึงอยากขอความร่วมมือให้ช่วยกันปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 เพื่อสร้างพลเมืองยุคใหม่ที่ตอบโจทย์ให้กับสังคม หากเราทำสำเร็จค่าตอบแทนและผลประโยชน์ก็จะตามมาอย่างแน่นอน
วันนี้ (23 ก.พ.) ที่หอประชุมคุรุสภา สมาคมข้าราชการพลเรือนและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2554 และประชุมทางวิชาการ “ความก้าวหน้าทางวิชาชีพของบุคลากรอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)” โดยนายวิศร์ อัครสันตติกุล นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนฯ กล่าวว่า ทางสมาคมฯ ได้รับการร้องเรียนจากบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ทั่วประเทศ ว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีมติให้นำหลักเกณฑ์ของข้าราชการพลเรือนมาใช้กับบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) แต่ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งด้วยนั้น ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้การอนุมัติเงินประจำตำแหน่งยังไม่ได้อนุมัติให้บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ในทุกตำแหน่ง มีเพียงนิติกร นักวิชาการศึกษา และเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เฉพาะระดับเชี่ยวชาญเท่านั้น และเป็นระดับตำแหน่งที่ยังไม่ได้กำหนดให้มีใน สพท.
“ขณะนี้มีบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี นักวิชาการพัสดุ และ นักทรัพยากรบุคคล จำนวนประมาณ 18,000 คนใน สพท.ทั่วประเทศยังไม่ได้รับการอนุมัติเงินประจำตำแหน่งและความก้าวหน้าในวิชาชีพ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ จึงขอเรียก ร้องให้ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ ช่วยให้เกิดความเป็นธรรม ไม่ใช่เลือกปฏิบัติเป็น 2 มาตรฐาน ทั้งๆ ที่อยู่ในกระทรวงเดียวกัน ทำให้ข้าราชการขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน” นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนฯ กล่าว
ด้านนายชินวรณ์ กล่าวว่า ตนเข้าใจดีว่า ภารกิจหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษาแตกต่างจากข้าราชการกระทรวงอื่น เพราะจัดเป็นกองทัพหลังที่ส่งให้กองทัพหน้าพัฒนาการศึกษาได้สำเร็จ เรื่องนี้ตนได้มอบหมายให้ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และ นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ.ไปแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าว และเร่งนำเสนอ ก.ค.ศ.แล้ว จึงอยากขอความร่วมมือให้ช่วยกันปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 เพื่อสร้างพลเมืองยุคใหม่ที่ตอบโจทย์ให้กับสังคม หากเราทำสำเร็จค่าตอบแทนและผลประโยชน์ก็จะตามมาอย่างแน่นอน