เมื่อวานนี้ (17 ก.พ.) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาผ่าน ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนครู เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ. วาระ 3 ด้วยเสียงเอกฉันท์ 341 โดยมี ส.ส.จากพรรคฝ่ายค้าน ร่วมโหวตให้ด้วย
สำหรับร่างดังกล่าว มีสาระสำคัญ เป็นการปรับโครงสร้างเงินเดือนครูกว่า 4 แสนคนให้เทียบเท่าข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ครูและบุคคลากรทางการศึกษา มีขวัญและกำลังใจและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯยืนยันว่า จะเร่งออกกฎหมายนี้ให้มีผลบังคับใช้เดือน มี.ค. เพื่อให้เงินเดือนครูที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการขึ้น 8 % เมื่อถึงวันที่ 1 เม.ย. จะปรับเงินเดือนอีก 5 % พร้อมข้าราชการทั่วประเทศ และปรับเงินค่าวิทยฐานะขึ้นด้วย ซึ่งจะปรับอัตราเงินเดือนครูขั้นสูงจาก 64,340 บาทเป็น 66,480 บาท
ในขณะที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน และรัฐบาล ต่างอภิปรายแสดงความเป็นห่วง เกรงหากเข้าสู่การพิจารณาในส่วนของวุฒิสภา อาจจะถูกตัด หรือแก้ไขในส่วนของการปรับอัตราบัญชีเงินเดือน
ทั้งนี้ จากการเปรียบเทียบบัญชีอัตราเงินเดือนขั้นต่ำ ขั้นสูง ที่ใช้ในปัจจุบันกับ ร่างบัญชี เงินเดือนข้าราชการครูฯ ฉบับใหม่ มีดังนี้
ครูผู้ช่วย ยังคงใช้อัตราเงินเดือนเดิม คือ อัตราขั้นต่ำชั่วคราว 7,940 บาท ขั้นต่ำอัตรา 8,700 บาท ขั้นสูงอัตรา 16,840 บาท, ข้าราชการครูและบุคคลลาการทางการศึกษา (คศ.1) ขั้นต่ำชั่วคราว อัตราเดิม 7,940 บาท อัตราใหม่ 8,130 บาท ขั้นต่ำยังใช้อัตราเดิม คือ 11,930 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 27,500 บาท อัตราใหม่ 29,700 บาท เพิ่มขึ้น 8 % , คศ. 2 ชำนาญการ ขั้นต่ำชั่วคราว ยังคงใช้อัตราเดิม คือ 12,530 บาท ขั้นต่ำยังคงใช้อัตราเดิม คือ 15,410 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 33,540 บาท อัตราใหม่ 36,020 บาท เพิ่มขึ้น 7.39 %, คศ. 3 ชำนาญการพิเศษ ขั้นต่ำชั่วคราว ยังคงใช้อัตราเดิม คือ 12,530 บาท ขั้นต่ำ ยังคงใช้อัตราเดิม คือ 18,910 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 47,450 บาท อัตราใหม่ 50,550 บาท เพิ่มขึ้น 6.33 % , คศ. 4 เชี่ยวชาญ ขั้นต่ำยังคงใช้อัตราเดิม คือ 23,230 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 50,550 บาท อัตราใหม่ 59,770 บาท เพิ่มขึ้น 18.9 % และคศ. 5 เชี่ยวชาญพิเศษ ขั้นต่ำยังคงใช้อัตราเดิม คือ 28,550 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 64,340 บาท อัตราใหม่ 66,480 บาท เพิ่มขึ้น 3.32 %
สำหรับร่างดังกล่าว มีสาระสำคัญ เป็นการปรับโครงสร้างเงินเดือนครูกว่า 4 แสนคนให้เทียบเท่าข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ครูและบุคคลากรทางการศึกษา มีขวัญและกำลังใจและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯยืนยันว่า จะเร่งออกกฎหมายนี้ให้มีผลบังคับใช้เดือน มี.ค. เพื่อให้เงินเดือนครูที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการขึ้น 8 % เมื่อถึงวันที่ 1 เม.ย. จะปรับเงินเดือนอีก 5 % พร้อมข้าราชการทั่วประเทศ และปรับเงินค่าวิทยฐานะขึ้นด้วย ซึ่งจะปรับอัตราเงินเดือนครูขั้นสูงจาก 64,340 บาทเป็น 66,480 บาท
ในขณะที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน และรัฐบาล ต่างอภิปรายแสดงความเป็นห่วง เกรงหากเข้าสู่การพิจารณาในส่วนของวุฒิสภา อาจจะถูกตัด หรือแก้ไขในส่วนของการปรับอัตราบัญชีเงินเดือน
ทั้งนี้ จากการเปรียบเทียบบัญชีอัตราเงินเดือนขั้นต่ำ ขั้นสูง ที่ใช้ในปัจจุบันกับ ร่างบัญชี เงินเดือนข้าราชการครูฯ ฉบับใหม่ มีดังนี้
ครูผู้ช่วย ยังคงใช้อัตราเงินเดือนเดิม คือ อัตราขั้นต่ำชั่วคราว 7,940 บาท ขั้นต่ำอัตรา 8,700 บาท ขั้นสูงอัตรา 16,840 บาท, ข้าราชการครูและบุคคลลาการทางการศึกษา (คศ.1) ขั้นต่ำชั่วคราว อัตราเดิม 7,940 บาท อัตราใหม่ 8,130 บาท ขั้นต่ำยังใช้อัตราเดิม คือ 11,930 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 27,500 บาท อัตราใหม่ 29,700 บาท เพิ่มขึ้น 8 % , คศ. 2 ชำนาญการ ขั้นต่ำชั่วคราว ยังคงใช้อัตราเดิม คือ 12,530 บาท ขั้นต่ำยังคงใช้อัตราเดิม คือ 15,410 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 33,540 บาท อัตราใหม่ 36,020 บาท เพิ่มขึ้น 7.39 %, คศ. 3 ชำนาญการพิเศษ ขั้นต่ำชั่วคราว ยังคงใช้อัตราเดิม คือ 12,530 บาท ขั้นต่ำ ยังคงใช้อัตราเดิม คือ 18,910 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 47,450 บาท อัตราใหม่ 50,550 บาท เพิ่มขึ้น 6.33 % , คศ. 4 เชี่ยวชาญ ขั้นต่ำยังคงใช้อัตราเดิม คือ 23,230 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 50,550 บาท อัตราใหม่ 59,770 บาท เพิ่มขึ้น 18.9 % และคศ. 5 เชี่ยวชาญพิเศษ ขั้นต่ำยังคงใช้อัตราเดิม คือ 28,550 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 64,340 บาท อัตราใหม่ 66,480 บาท เพิ่มขึ้น 3.32 %