สศร.เร่งส่งเสริมนักเขียนคลื่นลูกใหม่ พร้อมดึงชาติ กอบจิตติ-ลาว คำหอมเปิดอะคาเดมี่ปั้นนักเขียนหน้าใหม่ ขณะที่14 นักเขียนชื่อดังร่วมหนุนสร้างเวทีให้เด็กชอบสร้างสรรค์ผลงานและรักการอ่านเข้าสู่แวดวงวรรณศิลป์
วันนี้(21ก.พ.) นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีนักเขียนรุ่นใหม่จำนวนมากที่ได้ผ่านการตีพิมพ์ผลงานในนิตยสารและหนังสือต่างๆ นักเขียนเหล่านี้มีศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานและมีใจรักการเขียน ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐจะต้องเร่งส่งเสริมให้เกิดนักเขียนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น สศร. จึงร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดโครงการบ่มเพาะนักเขียนหน้าใหม่ เพื่อให้นักเขียนที่มีชื่อเสียงทำหน้าที่บรรณาธิการแก่นักเขียนรุ่นใหม่กล่อมเกลาฝีมือและค้นพบแนวทางของตนเอง ที่สำคัญเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเขียนรุ่นเก่าและนักเขียนรุ่นใหม่ให้เกิดความช่วยเหลือเกื้อกุล สร้างแรงบันดาลใจนักเขียนรุ่นใหม่สามารถฉายแววสู่การเป็นนักเขียนมืออาชีพในอนาคตและเป็นความหวังของวงการวรรณศิลป์ไทย
นางปริศนา กล่าวต่อว่า กิจกรรมดังกล่าวมีลักษณะสร้างความสัมพันธ์และติดตามการทำงาน 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 กิจกรรมว่าด้วยการอ่านการเขียน 26-27 ก.พ. 2554 จ.นครราชสีมา เปิดโอกาสให้นักเขียนพี่เลี้ยงและนักเขียนหน้าใหม่ทำความรู้จักกัน สร้างกิจกรรมเกิดแรงบันดาลใจ และเยี่ยมบ้านนักเขียน ชาติ กอบจิตติ ศิลปินแห่งชาติและศิลปินศิลปาธร ปี 2547 และคำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม) ศิลปินแห่งชาติ 2535 โดยมีนักเขียนพี่เลี้ยงเข้าร่วมกิจกรรม 14 คน ได้แก่ อัศศิริ ธรรมโชติ, ประภัสสร เสวิกุล ,ชมัยภร แสงกระจ่าง ,จำลอง ฝั่งชลจิตร, กนกวลี พจนปกรณ์ ,ศักดิ์สิริ มีสมสืบ ,อรสม สุทธิสาคร ,ประชาคม ลุนาชัย, โชคชัย บัณฑิต, เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ,อนุสรณ์ ติปยานนท์ ,วีระศักดิ์ จันทร์ส่องแสง, อุทิศ เหมะมูล และวัชระ สัจจะสารสิน ส่วนกิจกรรมครั้งที่ 2 วันที่ 23-24 เม.ย. 2554 ณ สวนศิลป์บ้านดิน จ.ราชบุรี ครั้งที่ 3 วันที่ 23-24 ก.ค. ณ ชลพฤกษ์นิเวศน์ จ.นครนายก ครั้งที่ 4 วันที่ 27 ส.ค.2554 สรุปงานและส่งต้นฉบับ
“เมื่อสิ้นสุดโครงการผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องผลิตผลงานได้นี้ นวนิยาย 1 เรื่อง สารคดี 1 เรื่อง กวีนิพนธ์ 40 บท รวมเรื่องสั้น 9-10 เรื่อง โดยตลอดการเข้าอบรม สศร.จะเปิดเว็บไซต์สำหรับโครงการเพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารของผู้เข้าร่วมโครงการกับนักเขียนพี่เลี้ยงซึ่งจะเข้ามาวิจารณ์งาน โดยผู้อ่านสามารถอ่านและวิจารณ์ผลงานของนักเขียนหน้าใหม่ได้” นางปริศนา กล่าว
วันนี้(21ก.พ.) นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีนักเขียนรุ่นใหม่จำนวนมากที่ได้ผ่านการตีพิมพ์ผลงานในนิตยสารและหนังสือต่างๆ นักเขียนเหล่านี้มีศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานและมีใจรักการเขียน ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐจะต้องเร่งส่งเสริมให้เกิดนักเขียนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น สศร. จึงร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดโครงการบ่มเพาะนักเขียนหน้าใหม่ เพื่อให้นักเขียนที่มีชื่อเสียงทำหน้าที่บรรณาธิการแก่นักเขียนรุ่นใหม่กล่อมเกลาฝีมือและค้นพบแนวทางของตนเอง ที่สำคัญเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเขียนรุ่นเก่าและนักเขียนรุ่นใหม่ให้เกิดความช่วยเหลือเกื้อกุล สร้างแรงบันดาลใจนักเขียนรุ่นใหม่สามารถฉายแววสู่การเป็นนักเขียนมืออาชีพในอนาคตและเป็นความหวังของวงการวรรณศิลป์ไทย
นางปริศนา กล่าวต่อว่า กิจกรรมดังกล่าวมีลักษณะสร้างความสัมพันธ์และติดตามการทำงาน 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 กิจกรรมว่าด้วยการอ่านการเขียน 26-27 ก.พ. 2554 จ.นครราชสีมา เปิดโอกาสให้นักเขียนพี่เลี้ยงและนักเขียนหน้าใหม่ทำความรู้จักกัน สร้างกิจกรรมเกิดแรงบันดาลใจ และเยี่ยมบ้านนักเขียน ชาติ กอบจิตติ ศิลปินแห่งชาติและศิลปินศิลปาธร ปี 2547 และคำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม) ศิลปินแห่งชาติ 2535 โดยมีนักเขียนพี่เลี้ยงเข้าร่วมกิจกรรม 14 คน ได้แก่ อัศศิริ ธรรมโชติ, ประภัสสร เสวิกุล ,ชมัยภร แสงกระจ่าง ,จำลอง ฝั่งชลจิตร, กนกวลี พจนปกรณ์ ,ศักดิ์สิริ มีสมสืบ ,อรสม สุทธิสาคร ,ประชาคม ลุนาชัย, โชคชัย บัณฑิต, เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ,อนุสรณ์ ติปยานนท์ ,วีระศักดิ์ จันทร์ส่องแสง, อุทิศ เหมะมูล และวัชระ สัจจะสารสิน ส่วนกิจกรรมครั้งที่ 2 วันที่ 23-24 เม.ย. 2554 ณ สวนศิลป์บ้านดิน จ.ราชบุรี ครั้งที่ 3 วันที่ 23-24 ก.ค. ณ ชลพฤกษ์นิเวศน์ จ.นครนายก ครั้งที่ 4 วันที่ 27 ส.ค.2554 สรุปงานและส่งต้นฉบับ
“เมื่อสิ้นสุดโครงการผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องผลิตผลงานได้นี้ นวนิยาย 1 เรื่อง สารคดี 1 เรื่อง กวีนิพนธ์ 40 บท รวมเรื่องสั้น 9-10 เรื่อง โดยตลอดการเข้าอบรม สศร.จะเปิดเว็บไซต์สำหรับโครงการเพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารของผู้เข้าร่วมโครงการกับนักเขียนพี่เลี้ยงซึ่งจะเข้ามาวิจารณ์งาน โดยผู้อ่านสามารถอ่านและวิจารณ์ผลงานของนักเขียนหน้าใหม่ได้” นางปริศนา กล่าว