สธ.เผย 3 ปี กม.คุมเหล้า พบแจ้งดำเนินคดีผู้ทำผิดกว่า 1,000 ราย ด้านรองอธิการ มธ.จี้จัดกลุ่มร้านเหล้ารอบสถานศึกษา นำร่องมหา’ลัย 15 แห่ง ห้ามเปิดผับ-บาร์ ในรัศมีต่ำกว่า 300 เมตร
วันนี้ (14 ก.พ.) รร.ริชมอนด์ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการประชุมสัมมนา “อนุบัญญัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551” ในวาระครบรอบ 3 ปี การประกาศใช้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่า จากการที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลก สูงถึง 2.5 ล้านคน และจำนวน 3.2 แสนคนเป็นเด็กและเยาวชน ถือเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง รวมประเทศไทยด้วย ส่งผลให้ประชากรในประเทศป่วย ตาย พิการ ก่อนวัยอันควร แม้ว่าจะมีกฎหมายประกาศใช้แล้วก็ตาม โดยจากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค (คร.) พบว่า จากผลการดำเนินงานเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายภาพรวมทั้งประเทศรวม 3 ปี ที่พบผู้ถูกดำเนินคดีทั้งสิ้น 3,628 ราย ในจำนวนนี้มีการกล่าวโทษและดำเนินคดี 1,001 ราย นอกนั้นเป็นการว่ากล่าวตักเตือน ซึ่งในกลุ่มที่มีการดำเนินคดีศาลได้พิพากษาเสร็จสิ้นแล้วจำแนกความผิด ดังนี้ ขายในวัน เวลา ที่กฎหมายห้ามขายถึงร้อยละ 56 รองลงมาขายในสถานที่ห้ามขายร้อยละ 19 ขายในลักษณะต้องห้ามร้อยละ 11 ขายให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 7 และการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกร้อยละ 7
“นอกจากนี้ อยู่ในระหว่างการพิจารณาการจัดทำภาพเตือนบนขวดเหล้า เช่นเดียวกับบนซองบุหรี่ ซึ่งหากประเทศไทยทำสำเร็จจะเป็นประเทศแรกๆ ในโลกที่มีการติดภาพเตือนบนขวดเหล้า ซึ่งเรื่องนี้ได้รับแรงต่อต้านจากผู้ประกอบการอย่างมาก โดยกล่าวว่าเป็นการกีดกันเสรีภาพด้านการค้า จึงถือเป็นการต่อสู้ในระดับโลกจริงๆ ทั้งนี้ ไม่ได้ตั้งเป้าให้คนไทยไม่ดื่มสุราเลย เพียงแต่ที่ผ่านมาสังคมไทยละเลยจนส่งผลกระทบยาวนาน จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมในหลายๆ ทาง” นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
ด้านนพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ตนได้เข้าร่วมประชุมยุทธศาสตร์โลกเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 8-11 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยยังคงที่โดยเปรียบเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในยุโรปแล้วไทยจะมีอัตราในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยจะอยู่ที่ 30% ขณะที่รัสเซียมีอัตราการดื่มสูงสุด เนื่องจากเป็นประเทศที่มีอากาศหนาว เป็นเหตุให้ประชากรมีปัญหาสุขภาพตามมา ถึงแม้ไทยจะมีอัตราดื่มที่น้อยกว่าประเทศอื่นก็ตาม แต่สิ่งที่น่าห่วงในสังคมไทย คือ คนไทยมีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ที่หนักมาก เพราะหากดูอัตราการดื่มเฉพาะเหล้ากลั่น หรือพวกเหล้าขาว อย่างเดียวแล้วประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกทันที ดังนั้น การดำเนินการตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อลดปัยหาอุบัติเหตุ และสุขภาพ
ขณะที่นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาร้านขายเหล้ารอบสถานศึกษา ซึ่งมีตนเป็นประธานคณะทำงานในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และขณะนี้ได้มีการเริ่มแก้ปัญหาโดยนำร่องในสถาบันอุดมศึกษา 15 แห่ง เพื่อดำเนินการจัดโซนนิ่งรอบสถาบันอุดมศึกษาในรัศมี 300 เมตร จะต้องเป็นร้านขายเหล้าที่ถูกกฎหมาย โดยจะต้องไม่จำหน่ายเหล้าให้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามมีกิจกรรมส่งเสริมการขาย ห้ามเปิดเกินเวลา และให้ปฏิบัติตามพ.ร.บ.สถานบริการ เพราะร้านเหล่านี้สามารถเต้นในร้าน และมีดนตรีแสดง ซึ่งเข้าข่ายสถานบริการ
นายปริญญา กล่าวด้วยว่า การนำพ.ร.บ.สถานบริการมาบังคับใช้นั้น จะมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะหากร้านใดทำผิดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนด้วย จากเดิมที่ร้านเหล้ารอบสถานศึกษาไม่ได้ใช้กฎหมายสถานบริการ เพียงแต่ขออนุญาตจากกรมสรรสามิตในการขายเหล้าเท่านั้น หากทำผิดก็จะโดนปรับไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งผมได้ทำเรื่องเสนอไปยังคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ซึ่งมี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เป็นเวลา 1 ปี 2 เดือนแล้ว แต่กลับยังไม่มีการดำเนินการใดๆเลย เราจึงไม่รอ และเริ่มนำร่องเพื่อแก้ปัญหาร้านเหล้ารอบสถานศึกษา
อนึ่ง สำหรับสถาบันอุดมศึกษา 15 แห่งที่นำร่องจัดโซนนิ่งร้านเหล้าประกอบด้วย ม.ธรรมศาสตร์, ม.นเรศวร, ม.บูรพา, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ม.มหาสารคาม, ม.วลัยลักษณ์, ม.ขอนแก่น, ม.แม่โจ้, ม.รังสิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) สุราษฎร์ธานี, มรภ.บ้านสมเด็จ เจ้าพระยา, มรภ.จันทรเกษม, มรภ.อุบลราชธานี, ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และวิทยาลัยราชพฤกษ์
วันนี้ (14 ก.พ.) รร.ริชมอนด์ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการประชุมสัมมนา “อนุบัญญัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551” ในวาระครบรอบ 3 ปี การประกาศใช้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่า จากการที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลก สูงถึง 2.5 ล้านคน และจำนวน 3.2 แสนคนเป็นเด็กและเยาวชน ถือเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง รวมประเทศไทยด้วย ส่งผลให้ประชากรในประเทศป่วย ตาย พิการ ก่อนวัยอันควร แม้ว่าจะมีกฎหมายประกาศใช้แล้วก็ตาม โดยจากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค (คร.) พบว่า จากผลการดำเนินงานเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายภาพรวมทั้งประเทศรวม 3 ปี ที่พบผู้ถูกดำเนินคดีทั้งสิ้น 3,628 ราย ในจำนวนนี้มีการกล่าวโทษและดำเนินคดี 1,001 ราย นอกนั้นเป็นการว่ากล่าวตักเตือน ซึ่งในกลุ่มที่มีการดำเนินคดีศาลได้พิพากษาเสร็จสิ้นแล้วจำแนกความผิด ดังนี้ ขายในวัน เวลา ที่กฎหมายห้ามขายถึงร้อยละ 56 รองลงมาขายในสถานที่ห้ามขายร้อยละ 19 ขายในลักษณะต้องห้ามร้อยละ 11 ขายให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 7 และการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกร้อยละ 7
“นอกจากนี้ อยู่ในระหว่างการพิจารณาการจัดทำภาพเตือนบนขวดเหล้า เช่นเดียวกับบนซองบุหรี่ ซึ่งหากประเทศไทยทำสำเร็จจะเป็นประเทศแรกๆ ในโลกที่มีการติดภาพเตือนบนขวดเหล้า ซึ่งเรื่องนี้ได้รับแรงต่อต้านจากผู้ประกอบการอย่างมาก โดยกล่าวว่าเป็นการกีดกันเสรีภาพด้านการค้า จึงถือเป็นการต่อสู้ในระดับโลกจริงๆ ทั้งนี้ ไม่ได้ตั้งเป้าให้คนไทยไม่ดื่มสุราเลย เพียงแต่ที่ผ่านมาสังคมไทยละเลยจนส่งผลกระทบยาวนาน จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมในหลายๆ ทาง” นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
ด้านนพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ตนได้เข้าร่วมประชุมยุทธศาสตร์โลกเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 8-11 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยยังคงที่โดยเปรียบเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในยุโรปแล้วไทยจะมีอัตราในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยจะอยู่ที่ 30% ขณะที่รัสเซียมีอัตราการดื่มสูงสุด เนื่องจากเป็นประเทศที่มีอากาศหนาว เป็นเหตุให้ประชากรมีปัญหาสุขภาพตามมา ถึงแม้ไทยจะมีอัตราดื่มที่น้อยกว่าประเทศอื่นก็ตาม แต่สิ่งที่น่าห่วงในสังคมไทย คือ คนไทยมีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ที่หนักมาก เพราะหากดูอัตราการดื่มเฉพาะเหล้ากลั่น หรือพวกเหล้าขาว อย่างเดียวแล้วประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกทันที ดังนั้น การดำเนินการตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อลดปัยหาอุบัติเหตุ และสุขภาพ
ขณะที่นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาร้านขายเหล้ารอบสถานศึกษา ซึ่งมีตนเป็นประธานคณะทำงานในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และขณะนี้ได้มีการเริ่มแก้ปัญหาโดยนำร่องในสถาบันอุดมศึกษา 15 แห่ง เพื่อดำเนินการจัดโซนนิ่งรอบสถาบันอุดมศึกษาในรัศมี 300 เมตร จะต้องเป็นร้านขายเหล้าที่ถูกกฎหมาย โดยจะต้องไม่จำหน่ายเหล้าให้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามมีกิจกรรมส่งเสริมการขาย ห้ามเปิดเกินเวลา และให้ปฏิบัติตามพ.ร.บ.สถานบริการ เพราะร้านเหล่านี้สามารถเต้นในร้าน และมีดนตรีแสดง ซึ่งเข้าข่ายสถานบริการ
นายปริญญา กล่าวด้วยว่า การนำพ.ร.บ.สถานบริการมาบังคับใช้นั้น จะมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะหากร้านใดทำผิดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนด้วย จากเดิมที่ร้านเหล้ารอบสถานศึกษาไม่ได้ใช้กฎหมายสถานบริการ เพียงแต่ขออนุญาตจากกรมสรรสามิตในการขายเหล้าเท่านั้น หากทำผิดก็จะโดนปรับไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งผมได้ทำเรื่องเสนอไปยังคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ซึ่งมี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เป็นเวลา 1 ปี 2 เดือนแล้ว แต่กลับยังไม่มีการดำเนินการใดๆเลย เราจึงไม่รอ และเริ่มนำร่องเพื่อแก้ปัญหาร้านเหล้ารอบสถานศึกษา
อนึ่ง สำหรับสถาบันอุดมศึกษา 15 แห่งที่นำร่องจัดโซนนิ่งร้านเหล้าประกอบด้วย ม.ธรรมศาสตร์, ม.นเรศวร, ม.บูรพา, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ม.มหาสารคาม, ม.วลัยลักษณ์, ม.ขอนแก่น, ม.แม่โจ้, ม.รังสิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) สุราษฎร์ธานี, มรภ.บ้านสมเด็จ เจ้าพระยา, มรภ.จันทรเกษม, มรภ.อุบลราชธานี, ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และวิทยาลัยราชพฤกษ์