นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ แนะ ตั้งสำนักงานมรดกโลกทางวัฒนธรรม พร้อมให้ความรู้ปชช. เยาวชนเพื่อร่วมกันดูแลรักษามรดกโลกของไทย วอนเว้นวรรคแหล่งโบราณสถานที่เป็นศิลปะเขมร ด้านผอ.สำนักโบราณคดี เผย เสนอพิษณุโลกขึ้นเป็นมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
วันนี้(5ก.พ.) ที่ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร โดยสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ได้จัดโครงการสัมมนามรดกโลกทางวัฒนธรรม เรื่อง "ข้อมูลทางวิชาการด้านมรดกวัฒนธรรมไปสู่ความเป็นมรดกโลก" โดยมีนักวิชาการ ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมงานครั้งนี้ด้วย
ดร. พิสิฐ เจริญวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ไทยมีพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางกิโลเมตรที่อยู่ในอธิปไตยของประเทศไทย ดังนั้นจึงทำให้ไทยยังมีแหล่งโบราณคดีที่จะเสนอขึ้นเป็นมรดกโลกได้อีกหลายแห่ง ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแหล่งที่มีศิลปะเขมรเท่านั้น อย่างเช่น เส้นทางรถไฟสายมรณะกาญจนบุรี ถ้าขอขึ้นเมื่อไหร่โดยส่วนตัวคิดว่าสามารถขึ้นทะเบียนได้เมื่อนั้น หรืออาจจะมีการขอขึ้นร่วมกับประเทศพม่าก็ได้เช่นกัน
“อยากให้หยุดพักในการนำเสนอแหล่งที่เป็นศิลปะเขมร และไปหาแหล่งวัฒนธรรมของไทยอื่นๆ แทน หากย้อนกลับไปสมัยโบราณคนสมัยนั้นไม่ได้สนใจหรือรู้เรื่องเส้นเขตแดน ไม่มีหลักเขต และประชาชนบางคนก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่านายกฯ ผู้นำของประเทศเขามีชื่อว่าอะไร ต่างก็ทำมค้าขายไปมาหาสู่กัน ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น หรือดูตัวอย่างอย่างประเทศอื่นที่มีการขอขึ้นทะเบียนร่วมกัน อย่างประเทศอิตาลีกับสวิตเซอร์แลนด์ แคนาดากับสหรัฐอเมริกา แซมเบียกับซิมบับเวหรือโปแลนด์กับเยอรมนีก็มีการตกลงกันด้วยดี” นักวิชาการอิสระ กล่าว
ดร.พิสิฐ กล่าวต่อว่า อีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือ อยากจะให้มีการตั้งสำนักงานด้านมรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งถึงเวลาอันสมควรแล้วที่จะต้องมีองค์กรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลเรื่องมรดกโลกของไทย ให้ความรู้แก่ประชาชน เยาวชน เป็นแหล่งสร้างหรือรวมผู้รู้ด้านมรดกโลก เพราะปัจจุบันประเทศไทยไม่ค่อยมีผู้รู้ด้านมรดกโลกจริงๆ เท่าที่ควร จึงส่งผลให้ไทยเสียเปรียบในหลายๆ เรื่อง
ด้านนายธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กล่าวว่า จากที่ประเทศไทยมีมรดกโลกหลายแห่ง ซึ่งได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนั้น ในอนาคตจะมีการเสนอพิษณุโลกขึ้นเป็นมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เนื่องจากปัจจุบันพิษณุโลกมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดีขึ้น รวมทั้งยังมีการขุดพบพระราชวังโบราณของสมเด็จพระนเรศวรด้วย
ผอ.สำนักโบราณคดี กล่าวต่อว่า ยังมีแหล่งวัฒนธรรมที่กำลังจะก้าวไปเป็นมรดกโลกอีก 2 แห่งคือ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และเส้นทางวัฒนธรรมจากพิมายไปถึงตาเมือนธม นอกจากนี้ก็ยังมีอีก 11 รายการที่กำลังจะเสนอเป็นมรดกโลก เช่น ในกรุงเทพฯ จะขอขึ้นอารยธรรมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นมรดกโลก เริ่มตั้งแต่สะพานพุทธถึงสะพานพระราม 8 มีสถาปัตยกรรมของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม อารยธรรมล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือ เส้นทางวัฒนธรรมจากไชยาถึงเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น
“ตอนนี้กำลังจะตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลด้านบริหารมรดกโลกขึ้นมา เพื่อกำหนดทิศทางในการทำงานในอนาคต เช่น การนำเสนอพิษณุโลกเป็นมรดกโลกร่วมกับสุโขทัย สรรหาแหล่งวัฒนธรรมใหม่ๆ ในประเทศ รวมทั้งเพื่อช่วยกันดูแล รักษามรดกโลกที่มีอยู่ในปัจจุบัน” นายธราพงศ์ กล่าว
วันนี้(5ก.พ.) ที่ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร โดยสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ได้จัดโครงการสัมมนามรดกโลกทางวัฒนธรรม เรื่อง "ข้อมูลทางวิชาการด้านมรดกวัฒนธรรมไปสู่ความเป็นมรดกโลก" โดยมีนักวิชาการ ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมงานครั้งนี้ด้วย
ดร. พิสิฐ เจริญวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ไทยมีพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางกิโลเมตรที่อยู่ในอธิปไตยของประเทศไทย ดังนั้นจึงทำให้ไทยยังมีแหล่งโบราณคดีที่จะเสนอขึ้นเป็นมรดกโลกได้อีกหลายแห่ง ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแหล่งที่มีศิลปะเขมรเท่านั้น อย่างเช่น เส้นทางรถไฟสายมรณะกาญจนบุรี ถ้าขอขึ้นเมื่อไหร่โดยส่วนตัวคิดว่าสามารถขึ้นทะเบียนได้เมื่อนั้น หรืออาจจะมีการขอขึ้นร่วมกับประเทศพม่าก็ได้เช่นกัน
“อยากให้หยุดพักในการนำเสนอแหล่งที่เป็นศิลปะเขมร และไปหาแหล่งวัฒนธรรมของไทยอื่นๆ แทน หากย้อนกลับไปสมัยโบราณคนสมัยนั้นไม่ได้สนใจหรือรู้เรื่องเส้นเขตแดน ไม่มีหลักเขต และประชาชนบางคนก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่านายกฯ ผู้นำของประเทศเขามีชื่อว่าอะไร ต่างก็ทำมค้าขายไปมาหาสู่กัน ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น หรือดูตัวอย่างอย่างประเทศอื่นที่มีการขอขึ้นทะเบียนร่วมกัน อย่างประเทศอิตาลีกับสวิตเซอร์แลนด์ แคนาดากับสหรัฐอเมริกา แซมเบียกับซิมบับเวหรือโปแลนด์กับเยอรมนีก็มีการตกลงกันด้วยดี” นักวิชาการอิสระ กล่าว
ดร.พิสิฐ กล่าวต่อว่า อีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือ อยากจะให้มีการตั้งสำนักงานด้านมรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งถึงเวลาอันสมควรแล้วที่จะต้องมีองค์กรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลเรื่องมรดกโลกของไทย ให้ความรู้แก่ประชาชน เยาวชน เป็นแหล่งสร้างหรือรวมผู้รู้ด้านมรดกโลก เพราะปัจจุบันประเทศไทยไม่ค่อยมีผู้รู้ด้านมรดกโลกจริงๆ เท่าที่ควร จึงส่งผลให้ไทยเสียเปรียบในหลายๆ เรื่อง
ด้านนายธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กล่าวว่า จากที่ประเทศไทยมีมรดกโลกหลายแห่ง ซึ่งได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนั้น ในอนาคตจะมีการเสนอพิษณุโลกขึ้นเป็นมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เนื่องจากปัจจุบันพิษณุโลกมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดีขึ้น รวมทั้งยังมีการขุดพบพระราชวังโบราณของสมเด็จพระนเรศวรด้วย
ผอ.สำนักโบราณคดี กล่าวต่อว่า ยังมีแหล่งวัฒนธรรมที่กำลังจะก้าวไปเป็นมรดกโลกอีก 2 แห่งคือ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และเส้นทางวัฒนธรรมจากพิมายไปถึงตาเมือนธม นอกจากนี้ก็ยังมีอีก 11 รายการที่กำลังจะเสนอเป็นมรดกโลก เช่น ในกรุงเทพฯ จะขอขึ้นอารยธรรมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นมรดกโลก เริ่มตั้งแต่สะพานพุทธถึงสะพานพระราม 8 มีสถาปัตยกรรมของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม อารยธรรมล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือ เส้นทางวัฒนธรรมจากไชยาถึงเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น
“ตอนนี้กำลังจะตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลด้านบริหารมรดกโลกขึ้นมา เพื่อกำหนดทิศทางในการทำงานในอนาคต เช่น การนำเสนอพิษณุโลกเป็นมรดกโลกร่วมกับสุโขทัย สรรหาแหล่งวัฒนธรรมใหม่ๆ ในประเทศ รวมทั้งเพื่อช่วยกันดูแล รักษามรดกโลกที่มีอยู่ในปัจจุบัน” นายธราพงศ์ กล่าว