มส.เห็นชอบ มจร. จัดวิสาขบูชาโลก 54 ดันศาสนาพัฒนาสังคม-เศรษฐกิจ-สร้างสังคมปรองดองทั่วโลก 12-14 พ.ค.นี้ที่ มจร.วังน้อย อยุธยา และที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กทม. พร้อมจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากลมอบไว้ตามโรงแรมทั่วโลก
วันนี้ (17 ม.ค.) พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) เจ้าคณะภาค 2 กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการประชุมคณะกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา (Meeting of Interantional Council of United Nations Day of Vesak) ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าขณะนี้มหาเถรสมาคม (มส.) มีมติให้ มจร.จัดกิจกรรมนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของสหประชาชาติ ในวันที่ 12-14 พ.ค. 2554 ณ มจร.วังน้อย และที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร หัวข้อ "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ Buddhist Virtues in Socio-Economic Development"
อธิการบดี มจร.กล่าวต่อว่า ทางคณะกรรมการจัดงานยังได้มีมติให้จัดพิมพ์บทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยรวบรวมจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและต่างชาติที่เสนอเข้ามา ประกอบด้วย (Main Theme) "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรฐกิจ" Buddhist Virtues in Socio-Economic Development โดยมีข้อย่อย (Sub-Themes) เรื่องภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ (Buddhist Leadersip and Socio-Economic Development), พุทธธรรมกับการสร้างสังคมปรองดอง (Building a Harmonious Society), พุทธธรรมกับการรักษา และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม (Environmental Presrvation and Restoration) และ พุทธิปัญญาเพื่อสังคมแห่งการตื่นรู้ (Wisdom for Awakening Society) บทความที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการจะได้รับการตีพิมพ์เผยแผ่ในระดับนานาชาติ และมีรางวัลโล่ห์คุณภาพ, เกียรติบัตร มอบให้ด้วย ผู้สนใจสามารถส่งบทความระดับนานาชาติครั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2554 สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-3524-8098 หรือเว็บไซต์ www.li.mcu.ac.th
“ก่อนจะประชุมคณะกรรมการวิสาขบูชาโลก ได้มีการประชุมทำงานเป็นกองบรรณาธิการและกำหนดวิธีการรวบรวมเนื้อหาพระไตรปิฎกฉบับสากล เพื่อติดตามความคืบหน้าการจัดทำต้นฉบับ ซึ่งก่อนหน้านี้ที่ประชุมชาวพุทธฯ ได้ตกลงจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นำไปมอบไว้ตามโรงแรมทั่วโลก ประกอบด้วยฉบับภาษาไทย ภาษาสันสกฤต โดยรวมพระไตรปิฎกจากนิกายมหายาน นิกายเถรวาท และนิกายวชิรญาณมาเป็นเล่มเดียวให้มีความเป็นสากล เบื้องต้นกำหนดให้นำพระไตรปิฎกภาษาบาลีของแต่ละนิกายมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ และนำเข้าหารือที่ประชุม เพื่อหาข้อสรุปถึงการนำเนื้อหาของทั้ง 3 นิกาย มารวบรวมเรียบเรียงในฉบับสากล เมื่อที่ประชุมเห็นชอบให้การยอมรับในเนื้อหาพระไตรปิฎกฉบับสากลแล้ว ให้ผู้นำชาวพุทธแต่ละประเทศ นำไปแปลเป็นภาษาของตนเองได้” พระธรรมโกศาจารย์กล่าว
ด้าน พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร. กล่าวว่า ความคืบหน้าการจัดทำเนื้อหาต้นฉบับพระไตรปิฏกนั้นขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วกว่า 80% ประกอบด้วย ต้นฉบับพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย, อักษรโรมัน, ต้นฉบับภาษาไทย โดยได้มอบหมายพระมหาเจิม สุวโจ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และกองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี เป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมกันนี้ได้ระดมนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งภายในและภายนอกร่วมกันจัดทำเป็นจำนวนมาก
วันนี้ (17 ม.ค.) พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) เจ้าคณะภาค 2 กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการประชุมคณะกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา (Meeting of Interantional Council of United Nations Day of Vesak) ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าขณะนี้มหาเถรสมาคม (มส.) มีมติให้ มจร.จัดกิจกรรมนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของสหประชาชาติ ในวันที่ 12-14 พ.ค. 2554 ณ มจร.วังน้อย และที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร หัวข้อ "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ Buddhist Virtues in Socio-Economic Development"
อธิการบดี มจร.กล่าวต่อว่า ทางคณะกรรมการจัดงานยังได้มีมติให้จัดพิมพ์บทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยรวบรวมจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและต่างชาติที่เสนอเข้ามา ประกอบด้วย (Main Theme) "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรฐกิจ" Buddhist Virtues in Socio-Economic Development โดยมีข้อย่อย (Sub-Themes) เรื่องภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ (Buddhist Leadersip and Socio-Economic Development), พุทธธรรมกับการสร้างสังคมปรองดอง (Building a Harmonious Society), พุทธธรรมกับการรักษา และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม (Environmental Presrvation and Restoration) และ พุทธิปัญญาเพื่อสังคมแห่งการตื่นรู้ (Wisdom for Awakening Society) บทความที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการจะได้รับการตีพิมพ์เผยแผ่ในระดับนานาชาติ และมีรางวัลโล่ห์คุณภาพ, เกียรติบัตร มอบให้ด้วย ผู้สนใจสามารถส่งบทความระดับนานาชาติครั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2554 สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-3524-8098 หรือเว็บไซต์ www.li.mcu.ac.th
“ก่อนจะประชุมคณะกรรมการวิสาขบูชาโลก ได้มีการประชุมทำงานเป็นกองบรรณาธิการและกำหนดวิธีการรวบรวมเนื้อหาพระไตรปิฎกฉบับสากล เพื่อติดตามความคืบหน้าการจัดทำต้นฉบับ ซึ่งก่อนหน้านี้ที่ประชุมชาวพุทธฯ ได้ตกลงจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นำไปมอบไว้ตามโรงแรมทั่วโลก ประกอบด้วยฉบับภาษาไทย ภาษาสันสกฤต โดยรวมพระไตรปิฎกจากนิกายมหายาน นิกายเถรวาท และนิกายวชิรญาณมาเป็นเล่มเดียวให้มีความเป็นสากล เบื้องต้นกำหนดให้นำพระไตรปิฎกภาษาบาลีของแต่ละนิกายมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ และนำเข้าหารือที่ประชุม เพื่อหาข้อสรุปถึงการนำเนื้อหาของทั้ง 3 นิกาย มารวบรวมเรียบเรียงในฉบับสากล เมื่อที่ประชุมเห็นชอบให้การยอมรับในเนื้อหาพระไตรปิฎกฉบับสากลแล้ว ให้ผู้นำชาวพุทธแต่ละประเทศ นำไปแปลเป็นภาษาของตนเองได้” พระธรรมโกศาจารย์กล่าว
ด้าน พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร. กล่าวว่า ความคืบหน้าการจัดทำเนื้อหาต้นฉบับพระไตรปิฏกนั้นขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วกว่า 80% ประกอบด้วย ต้นฉบับพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย, อักษรโรมัน, ต้นฉบับภาษาไทย โดยได้มอบหมายพระมหาเจิม สุวโจ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และกองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี เป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมกันนี้ได้ระดมนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งภายในและภายนอกร่วมกันจัดทำเป็นจำนวนมาก