สพฉ.ชวนคนกู้ชีพทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม ภายใน 20 มี.ค.นี้ ย้ำมีประโยชน์คุ้มครอง 2 แสนบาท ครอบคลุมอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ - จลาจล เป็นกรณีพิเศษ
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมกับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นความสำคัญคนกู้ชีพ ที่ปฎิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพที่เสี่ยงภัยอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงเห็นควรให้มีหลักประกันชีวิต ตามโครงการประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม เพื่อเป็นการสร้างความอุ่นใจ และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน
“โครงการประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม ถือว่าเป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์มาก เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เลือกไม่ได้ว่าจะเกิดกับใคร เวลาใด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือแม้แต่ผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ช่วยชีวิตผู้อื่น ยังประสบอุบัติเหตุโดยไม่ทันตั้งตัว จากเหตุการณ์รถฉุกเฉินของ รพ.เหนือคลอง ถูกรถกระบะขับซิ่งลอยข้ามเกาะกลางถนนชนเสียหายอย่างหนัก ขณะไปรับผู้บาดเจ็บ ส่งผลให้พยาบาลซึ่งไม่ได้ทำประกันชีวิต เสียชีวิต” นพ.ชาตรีกล่าว
เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า ผู้ปฎิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่ทำประกัน จะได้รับทุนประกันภัย 200,000 บาทต่อคน กรณีเสียชีวิต โดยคนกู้ชีพผู้ทำประกันจ่ายค่าเบี้ยประกันเพียง 100 ต่อคนต่อปี และทางบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สนับสนุนค่าเบี้ยประกันอีก 100 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งจะให้คุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก และเงื่อนไขการคุ้มครองครอบคลุมในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง หรือทุพพลภาพถาวร นอกจากนี้โครงการประกันภัยกลุ่มนี้มีการขยายความคุ้มครองพิเศษกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ การถูกฆ่าหรือถูกทำร้ายร่างกายและการจลาจลด้วย
ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2553 ขณะนี้มีผู้ทำประกันภัยแล้วทั้งสิ้น 51,520 ราย และจากการทำประกันภัยครั้งที่ผ่านมา ระหว่างเดือน ก.ย.2552-ต.ค.2553 มีผู้ปฏิบัติงานที่ทำประกันภัยเสียชีวิต 43 ราย กรณีอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ 18 ราย กรณีอุบัติเหตุจากการขับขี่รถยนต์ 12 ราย ถูกฆาตกรรม 5 ราย และอื่นๆ 8 ราย และทุพพลภาพถาวร 2 ราย สูญเสียอวัยวะ 1 ราย ซึ่งทุกรายได้รับเงินคุ้มครองจากการทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม
ดังนั้นจึงอยากย้ำว่า การทำประกันชีวิตเป็นสิ่งจำเป็น สพฉ.จึงขอเชิญชวนให้ผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินร่วมทำประกันชีวิต ซึ่งโครงการนี้สนับสนุนเฉพาะผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินเท่านั้น โดยผู้ที่สนใจสามารถกรอกข้อมูลเพื่อทำประกันชีวิตได้ที่ http://register.niems.go.th/insurance ภายในวันที่ 20 มีนาคมนี้
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมกับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นความสำคัญคนกู้ชีพ ที่ปฎิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพที่เสี่ยงภัยอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงเห็นควรให้มีหลักประกันชีวิต ตามโครงการประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม เพื่อเป็นการสร้างความอุ่นใจ และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน
“โครงการประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม ถือว่าเป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์มาก เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เลือกไม่ได้ว่าจะเกิดกับใคร เวลาใด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือแม้แต่ผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ช่วยชีวิตผู้อื่น ยังประสบอุบัติเหตุโดยไม่ทันตั้งตัว จากเหตุการณ์รถฉุกเฉินของ รพ.เหนือคลอง ถูกรถกระบะขับซิ่งลอยข้ามเกาะกลางถนนชนเสียหายอย่างหนัก ขณะไปรับผู้บาดเจ็บ ส่งผลให้พยาบาลซึ่งไม่ได้ทำประกันชีวิต เสียชีวิต” นพ.ชาตรีกล่าว
เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า ผู้ปฎิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่ทำประกัน จะได้รับทุนประกันภัย 200,000 บาทต่อคน กรณีเสียชีวิต โดยคนกู้ชีพผู้ทำประกันจ่ายค่าเบี้ยประกันเพียง 100 ต่อคนต่อปี และทางบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สนับสนุนค่าเบี้ยประกันอีก 100 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งจะให้คุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก และเงื่อนไขการคุ้มครองครอบคลุมในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง หรือทุพพลภาพถาวร นอกจากนี้โครงการประกันภัยกลุ่มนี้มีการขยายความคุ้มครองพิเศษกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ การถูกฆ่าหรือถูกทำร้ายร่างกายและการจลาจลด้วย
ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2553 ขณะนี้มีผู้ทำประกันภัยแล้วทั้งสิ้น 51,520 ราย และจากการทำประกันภัยครั้งที่ผ่านมา ระหว่างเดือน ก.ย.2552-ต.ค.2553 มีผู้ปฏิบัติงานที่ทำประกันภัยเสียชีวิต 43 ราย กรณีอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ 18 ราย กรณีอุบัติเหตุจากการขับขี่รถยนต์ 12 ราย ถูกฆาตกรรม 5 ราย และอื่นๆ 8 ราย และทุพพลภาพถาวร 2 ราย สูญเสียอวัยวะ 1 ราย ซึ่งทุกรายได้รับเงินคุ้มครองจากการทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม
ดังนั้นจึงอยากย้ำว่า การทำประกันชีวิตเป็นสิ่งจำเป็น สพฉ.จึงขอเชิญชวนให้ผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินร่วมทำประกันชีวิต ซึ่งโครงการนี้สนับสนุนเฉพาะผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินเท่านั้น โดยผู้ที่สนใจสามารถกรอกข้อมูลเพื่อทำประกันชีวิตได้ที่ http://register.niems.go.th/insurance ภายในวันที่ 20 มีนาคมนี้