ปลัด ก.แรงงานคาด ต้นปี 54 เริ่มบังคับใช้ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เริ่มต้น 22 สาขา พร้อมเร่งกำหนดอีกกว่า 100 สาขา เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แรงงานพัฒนาตนเอง เผยหากนายจ้างฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปี 2554 กระทรวงแรงงาน จะเริ่มบังคับใช้ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับแรงงานที่มีฝีมือ และสร้างแรงจูงใจให้แรงงานได้พัฒนาตัวเองให้ได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น รวมถึงลดปัญหาการเรียกร้องขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยล่าสุดได้จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานเสร็จสิ้นแล้วจำนวน 22 สาขา ในกลุ่มอาชีพ 6 ด้าน ซึ่งแต่ละสาขาจะมีค่าจ้าง 3 ระดับ ไม่เท่ากัน เริ่มตั้งแต่ 250-550 บาท โดยอยู่ในระหว่างรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานจะเร่ง จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานในสาขาที่เหลือ ซึ่งคาดว่าภายในปี 2554 จะประกาศใช้ได้อีกกว่า 100 สาขา นอกจากนี้ยังได้สั่งให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เตรียมจัดมาตรฐานการทดสอบให้ครอบคลุมทุกจังหวัด โดยอาจร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและเอกชน เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือภาคเอกชน ร่วมจัดทดสอบมาตรฐาน ทั้งนี้ หากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว แต่นายจ้างรายใดยังฝ่าฝืนไม่จ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานที่ลูกจ้างได้รับ จะมีอัตราโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สำหรับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน จำนวน 22 สาขา ใน 6 กลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มช่างเครื่องกล 3 สาขา เช่น ช่างสีรถยนต์ ระดับ 1 ได้ค่าจ้าง 315 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 380 บาท และระดับ 3 ค่าจ้าง 444 บาท ช่างเคาะตัวถังรถยนต์ ระดับ 1 ค่าจ้าง 335 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 420 บาท ระดับ 3 ค่าจ้าง 505 บาท กลุ่มก่อสร้าง 4 สาขา เช่น ช่างก่ออิฐ ระดับ 1 ค่าจ้าง 260 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 380 บาท และระดับ 3 ค่าจ้าง 500 บาท ช่างฉาบปูน ระดับ 1 ได้ค่าจ้าง 300 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 410 บาท และระดับ 3 ค่าจ้าง 500 บาท เป็นต้น
นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปี 2554 กระทรวงแรงงาน จะเริ่มบังคับใช้ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับแรงงานที่มีฝีมือ และสร้างแรงจูงใจให้แรงงานได้พัฒนาตัวเองให้ได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น รวมถึงลดปัญหาการเรียกร้องขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยล่าสุดได้จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานเสร็จสิ้นแล้วจำนวน 22 สาขา ในกลุ่มอาชีพ 6 ด้าน ซึ่งแต่ละสาขาจะมีค่าจ้าง 3 ระดับ ไม่เท่ากัน เริ่มตั้งแต่ 250-550 บาท โดยอยู่ในระหว่างรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานจะเร่ง จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานในสาขาที่เหลือ ซึ่งคาดว่าภายในปี 2554 จะประกาศใช้ได้อีกกว่า 100 สาขา นอกจากนี้ยังได้สั่งให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เตรียมจัดมาตรฐานการทดสอบให้ครอบคลุมทุกจังหวัด โดยอาจร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและเอกชน เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือภาคเอกชน ร่วมจัดทดสอบมาตรฐาน ทั้งนี้ หากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว แต่นายจ้างรายใดยังฝ่าฝืนไม่จ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานที่ลูกจ้างได้รับ จะมีอัตราโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สำหรับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน จำนวน 22 สาขา ใน 6 กลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มช่างเครื่องกล 3 สาขา เช่น ช่างสีรถยนต์ ระดับ 1 ได้ค่าจ้าง 315 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 380 บาท และระดับ 3 ค่าจ้าง 444 บาท ช่างเคาะตัวถังรถยนต์ ระดับ 1 ค่าจ้าง 335 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 420 บาท ระดับ 3 ค่าจ้าง 505 บาท กลุ่มก่อสร้าง 4 สาขา เช่น ช่างก่ออิฐ ระดับ 1 ค่าจ้าง 260 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 380 บาท และระดับ 3 ค่าจ้าง 500 บาท ช่างฉาบปูน ระดับ 1 ได้ค่าจ้าง 300 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 410 บาท และระดับ 3 ค่าจ้าง 500 บาท เป็นต้น