อย.เอาจริง ก.พ.เดือนเดียวดำเนินคดีผู้ประกอบการผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอาหาร ยา เครื่องสำอาง รวม 129 ราย มูลค่าเฉียด 5 แสนบาท ระบุพบลูกพรุนหวาน ลูกพลับหวาน พบโซเดียมไซคลาเมต และซัคคาริน โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจาก อย. เห็ดหูหนูพบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ กระเพาะปลาพบตะกั่วเกินมาตรฐานกำหนด เข้มตรวจสอบอาหารนำเข้าสกัดกั้นก่อนถึงมือผู้บริโภค พร้อมเรียกคืนสินค้ารุ่นที่มีปัญหาออกจากท้องตลาดแล้ว
วันที่ 29 มีนาคม นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ตามพระราชบัญญัติต่างๆ ได้แก่ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 จำนวน 56 ราย พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 จำนวน 65 ราย พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 จำนวน 4 ราย และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 จำนวน 4 ราย รวมทั้งสิ้น 129 ราย คิดเป็นมูลค่า 484,600 บาท
นพ.พิพัฒน์ กล่าวต่อว่า จากการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติอาหาร เปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ มีจำนวนถึง 13 ครั้ง เช่น ลูกพรุนหวาน ลูกพลับหวาน พบโซเดียมซัยคลาเมตและซัคคาริน ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหารโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจาก อย. รวมทั้ง เห็ดหูหนู พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ถั่วลิสงดิบ ไม่ลอกเยื่อ พบอัลฟลาทอกซิน เห็ดหอมแห้ง พบปรอท และกระเพาะปลาพบตะกั่วเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด จึงได้ดำเนินคดีในข้อหานำเข้าอาหารที่มีวัตถุเจือปนอาหารเกินโดยไม่ขอความเห็นชอบจาก อย. และนำเข้าอาหารผิดมาตรฐาน พร้อมทั้งเรียกคืนสินค้ารุ่นที่มีปัญหาออกจากท้องตลาดตั้งแต่พบปัญหาแล้ว
“นอกจากนี้ยังพบผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กาแฟ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยผลิตภัณฑ์กาแฟโฆษณาอวดอ้าง ลดน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฆษณาอวดอ้างว่า สามารถบำรุงเซลล์ประสาท ช่วยให้สมองผ่อนคลาย ป้องกันโรค อัลไซเมอร์ ช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกิน ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เป็นต้น ซึ่งเป็นการโฆษณาที่เข้าข่ายหลอกลวง โอ้อวดเกินจริง เพราะผลิตภัณฑ์อาหารไม่ได้มีสรรพคุณในทางยาดังที่โฆษณา” เลขาธิการ อย.กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า อย.ได้มีการเก็บตัวอย่างอาหารนำเข้าตามด่านอาหารและยา เพื่อตรวจวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสกัดกั้นไม่ให้อาหารที่มีการปนเปื้อน ไม่ปลอดภัย หรือไม่ได้มาตรฐาน เล็ดลอดเข้ามาภายในประเทศ พร้อมเรียกคืนสินค้ารุ่นที่มีปัญหาออกจากท้องตลาดทันทีก่อนถึงมือผู้บริโภค เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ขอเตือนประชาชนอย่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้ขออนุญาตจาก อย. ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง และอย่าหลงเชื่อการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองเงินทองโดยไม่ได้ผลตามที่โฆษณาอวดอ้าง มิหนำซ้ำยังได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์นั้น หรือเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ อย.ได้มีการดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติต่างๆ ในความรับผิดชอบของ อย.เป็นประจำสม่ำเสมอ โดยผู้สนใจสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้กระทำผิดพร้อมรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th คลิก “ข่าว ผลการดำเนินคดี” เพื่อเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวัง และหากพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องขออนุญาตจาก อย. แต่ไม่ขออนุญาต หรือพบการโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร. 1556 เพื่อ อย.จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
วันที่ 29 มีนาคม นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ตามพระราชบัญญัติต่างๆ ได้แก่ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 จำนวน 56 ราย พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 จำนวน 65 ราย พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 จำนวน 4 ราย และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 จำนวน 4 ราย รวมทั้งสิ้น 129 ราย คิดเป็นมูลค่า 484,600 บาท
นพ.พิพัฒน์ กล่าวต่อว่า จากการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติอาหาร เปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ มีจำนวนถึง 13 ครั้ง เช่น ลูกพรุนหวาน ลูกพลับหวาน พบโซเดียมซัยคลาเมตและซัคคาริน ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหารโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจาก อย. รวมทั้ง เห็ดหูหนู พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ถั่วลิสงดิบ ไม่ลอกเยื่อ พบอัลฟลาทอกซิน เห็ดหอมแห้ง พบปรอท และกระเพาะปลาพบตะกั่วเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด จึงได้ดำเนินคดีในข้อหานำเข้าอาหารที่มีวัตถุเจือปนอาหารเกินโดยไม่ขอความเห็นชอบจาก อย. และนำเข้าอาหารผิดมาตรฐาน พร้อมทั้งเรียกคืนสินค้ารุ่นที่มีปัญหาออกจากท้องตลาดตั้งแต่พบปัญหาแล้ว
“นอกจากนี้ยังพบผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กาแฟ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยผลิตภัณฑ์กาแฟโฆษณาอวดอ้าง ลดน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฆษณาอวดอ้างว่า สามารถบำรุงเซลล์ประสาท ช่วยให้สมองผ่อนคลาย ป้องกันโรค อัลไซเมอร์ ช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกิน ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เป็นต้น ซึ่งเป็นการโฆษณาที่เข้าข่ายหลอกลวง โอ้อวดเกินจริง เพราะผลิตภัณฑ์อาหารไม่ได้มีสรรพคุณในทางยาดังที่โฆษณา” เลขาธิการ อย.กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า อย.ได้มีการเก็บตัวอย่างอาหารนำเข้าตามด่านอาหารและยา เพื่อตรวจวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสกัดกั้นไม่ให้อาหารที่มีการปนเปื้อน ไม่ปลอดภัย หรือไม่ได้มาตรฐาน เล็ดลอดเข้ามาภายในประเทศ พร้อมเรียกคืนสินค้ารุ่นที่มีปัญหาออกจากท้องตลาดทันทีก่อนถึงมือผู้บริโภค เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ขอเตือนประชาชนอย่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้ขออนุญาตจาก อย. ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง และอย่าหลงเชื่อการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองเงินทองโดยไม่ได้ผลตามที่โฆษณาอวดอ้าง มิหนำซ้ำยังได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์นั้น หรือเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ อย.ได้มีการดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติต่างๆ ในความรับผิดชอบของ อย.เป็นประจำสม่ำเสมอ โดยผู้สนใจสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้กระทำผิดพร้อมรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th คลิก “ข่าว ผลการดำเนินคดี” เพื่อเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวัง และหากพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องขออนุญาตจาก อย. แต่ไม่ขออนุญาต หรือพบการโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร. 1556 เพื่อ อย.จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป