ที่มา:กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
“แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง(การศึกษา)ไปมาก แต่เด็กไทยพันธุ์ใหม่กลับมีคุณภาพด้อยลง ต่อไปในอนาคต ควรตั้งคุณภาพเป็นตัวหลักในความคิด ส่วนโครงสร้างควรเป็นวิธีจัดการรองในการจัดการทรัพยากร”
เรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาในประเทศไทย เป็นเรื่องราวที่พูดจากันมานานมากว่าจะพัฒนาไปในทิศทางใด
ที่ผ่านมา ประเทศไทยผ่านการปฏิรูปการศึกษาไปแล้วหนึ่งครั้ง หลังจากที่หลายฝ่ายช่วยกันผลักดันให้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จนถึงขณะนี้ก็มีความพยายามจะดำเนินการปฏิรูปการศึกษาในรอบที่สอง รวมทั้งความพยายามของรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการตั้งกองทุนสนับสนุนด้านการศึกษา ที่มีการดำเนินงานคล้ายคลึงกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โครงการปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาวะคนไทยทั้งมวล (ปศท.) มีรองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน โดยได้ดำเนินการมากว่า 6 เดือนแล้ว มีทั้งการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมรับฟังความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ในการได้จัดการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาวะคนไทย : ทำอย่างไรให้สำเร็จ” โดยมีผู้สนใจในแขนงต่างๆ เข้าร่วม โดยเพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะองค์กร สสส. บรรยายพิเศษเรื่อง “ระบบการศึกษาที่พาชาติออกจากวิกฤติ” ส่วนศาตราภิชาน ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เน้นย้ำว่า การศึกษาจะต้องทำให้เด็กเรียนรู้เพื่อจะได้คิด ไม่ใช่เพื่อท่องจำมาสอบ
“เด็กไทยถูกสอนให้จำ แต่สอบเสร็จแล้วลืม เด็กก็จะยึดมั่นกับสิ่งที่เรียนมา ทำให้ไม่เกิดการคิดใหม่ ทำให้ไม่มีใครกล้าคิดกล้าทำและไม่ค่อยยอมรับความคิดนอกกรอบ”
ศาสตราภิชาน ดร.พิสิฐยังตั้งข้อสังเกตถึงเรื่องสถาบันการศึกษาของไทยไว้ว่า ประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาเรื่องจำนวนสถาบันการศึกษา ในอังกฤษมีมหาวิทยาลัยน้อยกว่าประเทศไทยเสียอีก แต่ปัญหาอยู่ที่คุณภาพทางการศึกษา และความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่การสอบหรือจบออกมาด้วยคะแนนดีๆ แต่อยู่ที่จะมีคนดีๆออกมารับใช้สังคมมากน้อยแค่ไหน
จากนั้น เป็นการอภิปรายเรื่อง “ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาวะคนไทย : ทำอย่างไรให้สำเร็จ” โดยรศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ หัวหน้าคณะทำงาน ปศท. นคร ตังคะพิภพ อดีตผู้อำนวยการสถานศึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ รศ. ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ และดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
รศ.ดร.วรากรณ์ยกรายงานแมคเคนซี่ เมื่อปี 2550 มาประกอบการอภิปราย โดยรายงานฉบับนี้ระบุว่า ระบบการศึกษาไม่มีทางแซงหน้าคุณภาพของครูได้ ดังนั้น ต้องหาครูที่เก่ง จึงจะทำให้คุณภาพการศึกษาของเด็กดีขึ้น และต้องพัฒนาครูให้เป็นผู้สอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องสร้างระบบการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ไม่แยกห้องเรียนเด็กเรียนดี-ด้อยออกจากกัน
ขณะที่รศ.ดร.สมพงษ์ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาตลอด 10 ปีที่ผ่านมานี้ และเสนอมุมมองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า “แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างไปมาก แต่เด็กไทยพันธุ์ใหม่กลับมีคุณภาพด้อยลง ต่อไปในอนาคต ควรตั้งคุณภาพเป็นตัวหลักในความคิด ส่วนโครงสร้างควรเป็นวิธีจัดการรองในการจัดการทรัพยากร”
ด้านดนัย จันทร์เจ้าฉาย เจ้าของแนวคิด “White Ocean Strategy” หรือกลยุทธ์ธุรกิจสีขาว มองเรื่องการศึกษากับเรื่องจิตวิญญาณว่า ไม่ควรมองแต่กระบวนการ ควรมองเรื่องจิตวิญญาณด้วย เขายกตัวอย่างเรื่องการสร้างครูพันธุ์ใหม่ว่า ควรสร้างครูพันธุ์ใหม่ที่มีจิตวิญญาณของครูพันธุ์เก่า นั่นคือ ไม่ได้สอนเพียงวิชาการ แต่สอนการใช้ชีวิตให้เด็กด้วย โดยวิธีการนั้น อาจต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนใหม่
สำหรับ ดร.อมรวิชช์ ได้นำเทปรายการ “มดคันไฟ” ตอนโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ลำปางเกี่ยวกับ “ตลาดจีน” มานำเสนอ พร้อมกล่าวว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กและเยาวชนนั้น ต้องมองเป็นองค์รวม และต้องเปิดพื้นที่ชีวิตจริงให้เด็กเรียนรู้ ได้สัมผัสโลกกว้าง โดยยกตัวอย่างการสอนนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า
“ผมยึดโรงเรียนหนึ่งวัน ให้นิสิตไปสอนแทนครู อย่างโรงเรียนอนุบาล สอนกันเรื่องแมลงวัน ก็ปล่อยเด็กอนุบาลให้ไปเดินตามแมลงวันกันทั้งชั่วโมง เด็กได้เรียนรู้จากของจริง กลับมาบอก แมลงวันเป็นเครื่องบินเชื้อโรค บินมาตอมจานข้าวคุณครูด้วย นี่เป็นการเรียนรู้สัมผัสกับชีวิตจริงอย่างที่หมอประเวศกล่าวเอาไว้ ซึ่งเราต้องมีกลไกเสริม เรื่อง สสส.ด้านการศึกษาที่นายกฯพูดถึง ต้องเดินหน้า มีตัวอย่างเรื่องนี้ที่ฮ่องกง จะเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้การศึกษาประสบการณ์สำเร็จ แล้วจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย”
หลังจากการสัมมนาในครั้งนี้แล้ว คณะทำงาน ปศท.ก็ยังจะไม่หยุดการทำงานเพียงเท่านี้ หากแต่ยังจะจัดการระดมความเห็น การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนาวิชาการ อีกประมาณ 5-6 ครั้ง จากนั้น ก็จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับ เขียนรายงานสรุป เพื่อนำเสนอต่อ สสส.ภายในเดือนมิถุนายน 2553 ต่อไป
“แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง(การศึกษา)ไปมาก แต่เด็กไทยพันธุ์ใหม่กลับมีคุณภาพด้อยลง ต่อไปในอนาคต ควรตั้งคุณภาพเป็นตัวหลักในความคิด ส่วนโครงสร้างควรเป็นวิธีจัดการรองในการจัดการทรัพยากร”
เรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาในประเทศไทย เป็นเรื่องราวที่พูดจากันมานานมากว่าจะพัฒนาไปในทิศทางใด
ที่ผ่านมา ประเทศไทยผ่านการปฏิรูปการศึกษาไปแล้วหนึ่งครั้ง หลังจากที่หลายฝ่ายช่วยกันผลักดันให้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จนถึงขณะนี้ก็มีความพยายามจะดำเนินการปฏิรูปการศึกษาในรอบที่สอง รวมทั้งความพยายามของรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการตั้งกองทุนสนับสนุนด้านการศึกษา ที่มีการดำเนินงานคล้ายคลึงกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โครงการปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาวะคนไทยทั้งมวล (ปศท.) มีรองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน โดยได้ดำเนินการมากว่า 6 เดือนแล้ว มีทั้งการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมรับฟังความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ในการได้จัดการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาวะคนไทย : ทำอย่างไรให้สำเร็จ” โดยมีผู้สนใจในแขนงต่างๆ เข้าร่วม โดยเพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะองค์กร สสส. บรรยายพิเศษเรื่อง “ระบบการศึกษาที่พาชาติออกจากวิกฤติ” ส่วนศาตราภิชาน ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เน้นย้ำว่า การศึกษาจะต้องทำให้เด็กเรียนรู้เพื่อจะได้คิด ไม่ใช่เพื่อท่องจำมาสอบ
“เด็กไทยถูกสอนให้จำ แต่สอบเสร็จแล้วลืม เด็กก็จะยึดมั่นกับสิ่งที่เรียนมา ทำให้ไม่เกิดการคิดใหม่ ทำให้ไม่มีใครกล้าคิดกล้าทำและไม่ค่อยยอมรับความคิดนอกกรอบ”
ศาสตราภิชาน ดร.พิสิฐยังตั้งข้อสังเกตถึงเรื่องสถาบันการศึกษาของไทยไว้ว่า ประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาเรื่องจำนวนสถาบันการศึกษา ในอังกฤษมีมหาวิทยาลัยน้อยกว่าประเทศไทยเสียอีก แต่ปัญหาอยู่ที่คุณภาพทางการศึกษา และความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่การสอบหรือจบออกมาด้วยคะแนนดีๆ แต่อยู่ที่จะมีคนดีๆออกมารับใช้สังคมมากน้อยแค่ไหน
จากนั้น เป็นการอภิปรายเรื่อง “ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาวะคนไทย : ทำอย่างไรให้สำเร็จ” โดยรศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ หัวหน้าคณะทำงาน ปศท. นคร ตังคะพิภพ อดีตผู้อำนวยการสถานศึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ รศ. ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ และดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
รศ.ดร.วรากรณ์ยกรายงานแมคเคนซี่ เมื่อปี 2550 มาประกอบการอภิปราย โดยรายงานฉบับนี้ระบุว่า ระบบการศึกษาไม่มีทางแซงหน้าคุณภาพของครูได้ ดังนั้น ต้องหาครูที่เก่ง จึงจะทำให้คุณภาพการศึกษาของเด็กดีขึ้น และต้องพัฒนาครูให้เป็นผู้สอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องสร้างระบบการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ไม่แยกห้องเรียนเด็กเรียนดี-ด้อยออกจากกัน
ขณะที่รศ.ดร.สมพงษ์ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาตลอด 10 ปีที่ผ่านมานี้ และเสนอมุมมองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า “แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างไปมาก แต่เด็กไทยพันธุ์ใหม่กลับมีคุณภาพด้อยลง ต่อไปในอนาคต ควรตั้งคุณภาพเป็นตัวหลักในความคิด ส่วนโครงสร้างควรเป็นวิธีจัดการรองในการจัดการทรัพยากร”
ด้านดนัย จันทร์เจ้าฉาย เจ้าของแนวคิด “White Ocean Strategy” หรือกลยุทธ์ธุรกิจสีขาว มองเรื่องการศึกษากับเรื่องจิตวิญญาณว่า ไม่ควรมองแต่กระบวนการ ควรมองเรื่องจิตวิญญาณด้วย เขายกตัวอย่างเรื่องการสร้างครูพันธุ์ใหม่ว่า ควรสร้างครูพันธุ์ใหม่ที่มีจิตวิญญาณของครูพันธุ์เก่า นั่นคือ ไม่ได้สอนเพียงวิชาการ แต่สอนการใช้ชีวิตให้เด็กด้วย โดยวิธีการนั้น อาจต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนใหม่
สำหรับ ดร.อมรวิชช์ ได้นำเทปรายการ “มดคันไฟ” ตอนโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ลำปางเกี่ยวกับ “ตลาดจีน” มานำเสนอ พร้อมกล่าวว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กและเยาวชนนั้น ต้องมองเป็นองค์รวม และต้องเปิดพื้นที่ชีวิตจริงให้เด็กเรียนรู้ ได้สัมผัสโลกกว้าง โดยยกตัวอย่างการสอนนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า
“ผมยึดโรงเรียนหนึ่งวัน ให้นิสิตไปสอนแทนครู อย่างโรงเรียนอนุบาล สอนกันเรื่องแมลงวัน ก็ปล่อยเด็กอนุบาลให้ไปเดินตามแมลงวันกันทั้งชั่วโมง เด็กได้เรียนรู้จากของจริง กลับมาบอก แมลงวันเป็นเครื่องบินเชื้อโรค บินมาตอมจานข้าวคุณครูด้วย นี่เป็นการเรียนรู้สัมผัสกับชีวิตจริงอย่างที่หมอประเวศกล่าวเอาไว้ ซึ่งเราต้องมีกลไกเสริม เรื่อง สสส.ด้านการศึกษาที่นายกฯพูดถึง ต้องเดินหน้า มีตัวอย่างเรื่องนี้ที่ฮ่องกง จะเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้การศึกษาประสบการณ์สำเร็จ แล้วจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย”
หลังจากการสัมมนาในครั้งนี้แล้ว คณะทำงาน ปศท.ก็ยังจะไม่หยุดการทำงานเพียงเท่านี้ หากแต่ยังจะจัดการระดมความเห็น การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนาวิชาการ อีกประมาณ 5-6 ครั้ง จากนั้น ก็จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับ เขียนรายงานสรุป เพื่อนำเสนอต่อ สสส.ภายในเดือนมิถุนายน 2553 ต่อไป