เผย 8 เดือน กทม.จัดเก็บป้ายโฆษณาผิดกฎหมายได้กว่า 2 แสนป้าย เขตวังทองหลางคว้าแชมป์มีเยอะสุด พร้อมมอบรางวัลให้เทศกิจกว่า 2 แสนบาท กทม.ตามโครงการ 1 ป้าย 1 บาท เตือน 1 มี.ค.นี้ใช้มาตรการทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด
วันนี้ (15 ก.พ.) ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานมอบเงินรางวัลตามโครงการจัดเก็บป้ายผิดกฎหมายในที่สาธารณะ “1 ป้าย 1 บาท” พร้อมมอบนโยบายด้านการจัดระเบียบเมืองและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของกทม.ให้แก่เจ้าหน้าที่เทศกิจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวว่า ในปี 2553 กทม.ได้กวดขันจริงจังด้านการจัดระเบียบเมือง และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง เพื่อทำให้กรุงเทพฯ น่าอยู่ สู่เมืองยิ้มโดยดำเนินมาตรการจัดเก็บป้ายผิดกฎหมายในที่สาธารณะ
เนื่องจากมีการติดตั้งป้ายผิดกฎหมายในที่สาธารณะที่ก่อให้เกิดความสกปรก รกรุงรัง เป็นอุปสรรคกีดขวางการจราจร และการสัญจรของประชาชน ตลอดจนก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยมอบหมายให้ทุกสำนักงานเขตกวดขัน และบังคับการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งตั้งรางวัลให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน “1 ป้าย 1 บาท” โดยมีภาคเอกชนให้การสนับสนุนค่าตอบแทน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานในกิจกรรมการรณรงค์รักษาความสะอาดเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2552 - 14 ก.พ.2553 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 244,437 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป กทม.จะใช้มาตรการอย่างเด็ดขาดทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.ภาษีป้ายพ.ศ.2510 ในอัตราโทษสูงสุดโดยให้ทุกสำนักงานเขตเร่งดำเนินการหาตัวผู้กระทำผิดมาปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด หากยังฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินคดีและเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บรื้อถอนและทำความสะอาดทั้งหมด
ด้าน นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ในส่วนมาตรการตรวจสอบได้ตั้งหน่วยพิเศษขึ้นตรงกับฝ่ายบริหารทำหน้าที่จัดเก็บป้ายโฆษณาผิดกฎหมายโดยเฉพาะ และแต่งตั้งให้สำนักเทศกิจทำหน้าที่เป็นหน่วยกลางคอยติดตามการปฏิบัติงานโดยให้ทุกเขตจัดทำแผนการปฏิบัติงานและการรณรงค์สรุปแต่ละเดือนส่งให้สำนักเทศกิจรวบรวมเสนอฝ่ายบริหารเพื่อพิจารณากำหนดจุดออกไปตรวจสอบหรือร่วมกิจกรรมกับสำนักงานเขตโดยจะไม่แจ้งให้พื้นที่เป้าหมายทราบล่วงหน้าพร้อมกับจะประเมินผลการพิจารณาการปฏิบัติงานของเขตทุก 3 เดือนด้วย
สำหรับเขตที่สามารถจับเก็บป้ายผิดกฎหมายในที่สาธารณะได้มากที่สุด 5 ลำดับแรกคือ เขตวังทองหลางจำนวน 59,011 ป้าย เขตบึงกุ่ม จำนวน 17,853 ป้าย เขตบางกะปิ จำนวน 13,384 ป้าย เขตวัฒนา จำนวน 13,110 ป้าย และเขตสะพานสูงจำนวน 12,089 ป้าย ส่วนเขตที่จัดเก็บป้ายผิดกฎหมายได้น้อยที่สุด คือ เขตสัมพันธวงศ์จำนวน 177 ป้าย
วันนี้ (15 ก.พ.) ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานมอบเงินรางวัลตามโครงการจัดเก็บป้ายผิดกฎหมายในที่สาธารณะ “1 ป้าย 1 บาท” พร้อมมอบนโยบายด้านการจัดระเบียบเมืองและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของกทม.ให้แก่เจ้าหน้าที่เทศกิจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวว่า ในปี 2553 กทม.ได้กวดขันจริงจังด้านการจัดระเบียบเมือง และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง เพื่อทำให้กรุงเทพฯ น่าอยู่ สู่เมืองยิ้มโดยดำเนินมาตรการจัดเก็บป้ายผิดกฎหมายในที่สาธารณะ
เนื่องจากมีการติดตั้งป้ายผิดกฎหมายในที่สาธารณะที่ก่อให้เกิดความสกปรก รกรุงรัง เป็นอุปสรรคกีดขวางการจราจร และการสัญจรของประชาชน ตลอดจนก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยมอบหมายให้ทุกสำนักงานเขตกวดขัน และบังคับการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งตั้งรางวัลให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน “1 ป้าย 1 บาท” โดยมีภาคเอกชนให้การสนับสนุนค่าตอบแทน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานในกิจกรรมการรณรงค์รักษาความสะอาดเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2552 - 14 ก.พ.2553 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 244,437 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป กทม.จะใช้มาตรการอย่างเด็ดขาดทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.ภาษีป้ายพ.ศ.2510 ในอัตราโทษสูงสุดโดยให้ทุกสำนักงานเขตเร่งดำเนินการหาตัวผู้กระทำผิดมาปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด หากยังฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินคดีและเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บรื้อถอนและทำความสะอาดทั้งหมด
ด้าน นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ในส่วนมาตรการตรวจสอบได้ตั้งหน่วยพิเศษขึ้นตรงกับฝ่ายบริหารทำหน้าที่จัดเก็บป้ายโฆษณาผิดกฎหมายโดยเฉพาะ และแต่งตั้งให้สำนักเทศกิจทำหน้าที่เป็นหน่วยกลางคอยติดตามการปฏิบัติงานโดยให้ทุกเขตจัดทำแผนการปฏิบัติงานและการรณรงค์สรุปแต่ละเดือนส่งให้สำนักเทศกิจรวบรวมเสนอฝ่ายบริหารเพื่อพิจารณากำหนดจุดออกไปตรวจสอบหรือร่วมกิจกรรมกับสำนักงานเขตโดยจะไม่แจ้งให้พื้นที่เป้าหมายทราบล่วงหน้าพร้อมกับจะประเมินผลการพิจารณาการปฏิบัติงานของเขตทุก 3 เดือนด้วย
สำหรับเขตที่สามารถจับเก็บป้ายผิดกฎหมายในที่สาธารณะได้มากที่สุด 5 ลำดับแรกคือ เขตวังทองหลางจำนวน 59,011 ป้าย เขตบึงกุ่ม จำนวน 17,853 ป้าย เขตบางกะปิ จำนวน 13,384 ป้าย เขตวัฒนา จำนวน 13,110 ป้าย และเขตสะพานสูงจำนวน 12,089 ป้าย ส่วนเขตที่จัดเก็บป้ายผิดกฎหมายได้น้อยที่สุด คือ เขตสัมพันธวงศ์จำนวน 177 ป้าย