สธ.เผยผลสำรวจสุขภาพคนไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีประมาณร้อยละ 10 หรือ 7.3 ล้านคน คาดในอีก 15 ปีจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และพบปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั้งโรคเรื้อรัง ฟัน อวัยวะและสมองเสื่อม ขณะที่อัตราการเกิดลดลง
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร หัวหน้าโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมแถลงผลสำรวจสุขภาพผู้สูงอายุไทยทั่วประเทศ ปี 2551-52 ใน 21 จังหวัดจำนวน 30,000 คน
พบว่า ประชาชนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น อัตราการเกิดลดลง ขณะนี้ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 10 หรือ 7.3 ล้านคน คาดว่าใน 15 ปีข้างหน้าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 และพบปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคเรื้อรัง มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 3 ไม่รู้ตัวว่าป่วย ร้อยละ 55 ได้รับการดูแล และพบว่าผู้หญิงควบคุมโรคได้ดีกว่าผู้ชาย ส่วนโรคเบาหวานมีร้อยละ 16 สำหรับปัญหาเสื่อมอวัยวะ เช่น โรคตาต้อกระจก ส่วนใหญ่ร้อยละ 21 ผู้หญิงเป็นมากกว่าชาย ในเขตเมืองมากกว่าชนบท ปัญหาเรื่องฟันที่ทำให้สุขภาพผู้สูงอายุถดถอย ผ่ายผอม พบว่าผู้สูงอายุมีฟันเหลือในปากน้อยกว่า 20 ถึงร้อยละ 53 จังหวัดที่ใส่ฟันปลอมมากสุดคือ กรุงเทพฯ น้อยที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกจากนี้ ปัญหาโรคข้อเสื่อมพบในผู้สูงอายุเฉลี่ยร้อยละ 19 คาดขณะนี้มีผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคนี้ 1.4 ล้านคน ผู้ชายร้อยละ 24 หญิง ร้อยละ 14 ส่วนโรคสมองเสื่อม พบว่า ผู้สูงอายุที่มีการศึกษาน้อยเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้มีการศึกษาสูง ขณะนี้มีผู้สูงอายุเป็นโรคนี้ 880,000 คน หรือร้อยละ 12 พบในผู้หญิงมากกว่าชาย อยู่ในชนบทมากกว่าเมือง ในจำนวนนี้เกือบ 70,000 คน มักอยู่คนเดียว สำหรับปัญหาการหกล้มพบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 18 เคยหกล้มในรอบ 6 เดือนเฉลี่ยประมาณ 2 ครั้ง ส่วนใหญ่ผู้ชายจะหกล้มนอกบ้าน ผู้หญิงมักจะหกล้มในบ้าน ส่วนปัญหาสุขภาพจิต ภาวะซึมเศร้า พบเพียงร้อยละ 5
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร หัวหน้าโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมแถลงผลสำรวจสุขภาพผู้สูงอายุไทยทั่วประเทศ ปี 2551-52 ใน 21 จังหวัดจำนวน 30,000 คน
พบว่า ประชาชนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น อัตราการเกิดลดลง ขณะนี้ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 10 หรือ 7.3 ล้านคน คาดว่าใน 15 ปีข้างหน้าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 และพบปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคเรื้อรัง มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 3 ไม่รู้ตัวว่าป่วย ร้อยละ 55 ได้รับการดูแล และพบว่าผู้หญิงควบคุมโรคได้ดีกว่าผู้ชาย ส่วนโรคเบาหวานมีร้อยละ 16 สำหรับปัญหาเสื่อมอวัยวะ เช่น โรคตาต้อกระจก ส่วนใหญ่ร้อยละ 21 ผู้หญิงเป็นมากกว่าชาย ในเขตเมืองมากกว่าชนบท ปัญหาเรื่องฟันที่ทำให้สุขภาพผู้สูงอายุถดถอย ผ่ายผอม พบว่าผู้สูงอายุมีฟันเหลือในปากน้อยกว่า 20 ถึงร้อยละ 53 จังหวัดที่ใส่ฟันปลอมมากสุดคือ กรุงเทพฯ น้อยที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกจากนี้ ปัญหาโรคข้อเสื่อมพบในผู้สูงอายุเฉลี่ยร้อยละ 19 คาดขณะนี้มีผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคนี้ 1.4 ล้านคน ผู้ชายร้อยละ 24 หญิง ร้อยละ 14 ส่วนโรคสมองเสื่อม พบว่า ผู้สูงอายุที่มีการศึกษาน้อยเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้มีการศึกษาสูง ขณะนี้มีผู้สูงอายุเป็นโรคนี้ 880,000 คน หรือร้อยละ 12 พบในผู้หญิงมากกว่าชาย อยู่ในชนบทมากกว่าเมือง ในจำนวนนี้เกือบ 70,000 คน มักอยู่คนเดียว สำหรับปัญหาการหกล้มพบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 18 เคยหกล้มในรอบ 6 เดือนเฉลี่ยประมาณ 2 ครั้ง ส่วนใหญ่ผู้ชายจะหกล้มนอกบ้าน ผู้หญิงมักจะหกล้มในบ้าน ส่วนปัญหาสุขภาพจิต ภาวะซึมเศร้า พบเพียงร้อยละ 5