“ถวัลย์ ดัชนี” เปิดบ้านสร้างค่ายศิลปินรุ่นเยาว์ สศร.ทุ่มงบ 4 ล้านเจียระไนเพชร คัดนักศึกษา 10 คนไปดูงานศิลป์ที่เมืองมะกัน ชี้สร้างบุคลากรด้านศิลปะได้ต่อเนื่อง
นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) เปิดเผยว่า ในปี 2553 สศร.มีนโยบายในการส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาตนเองเป็นศิลปินรุ่นใหม่ โดยในปีนี้จะเริ่มขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา จัดโครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย (สาขาทัศนศิลป์) ครั้งที่ 5 เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการเรียนวิชาศิลปะ ที่สามารถสะท้อนความเป็นตัวเองออกมาได้ โดยจะประสานกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ คัดเลือกนักศึกษาที่มีผลงานด้านศิลปะจำนวน 60 คน เพื่อเข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านศิลปะจากศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ และศิลปินชั้นนำของเมืองไทย ได้แก่ ศ.เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ นายถวัลย์ ดัชนี นายกมล ทัศนาญชลี นายนนทิวรรธน์ จันทนผะลิน นายเดชา วราชุน นายอิทธิพล ตั้งโฉลก นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ นายวิโชค มุกดามณี เป็นต้น ณ "บ้านดำ" ของ นายถวัลย์ ดัชนี ที่ จ.เชียงราย ระหว่างวันที่ 15-22 มีนาคมนี้
นายกมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ปี 2540 กล่าวว่า โครงการดังกล่าวได้รับงบประมาณจาก สศร.งบประมาณ 4 ล้านบาท เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสที่จะได้ร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานขึ้นร่วมกับศิลปินแห่งชาติ ที่สำคัญจะคัดเลือกเด็กที่มีผลงานดีเด่น จาก 60 คน ให้เหลือ 10 คน เพื่อเดินทางไปศึกษาดูงานตามหอศิลป์ต่างๆ ร่วมกับศิลปินแห่งชาติ ณ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในเดือนพฤษภาคมนี้ด้วย ซึ่งเราคาดหวังว่าหลังจากเด็กๆ ได้เรียนรู้จากโครงการดังกล่าวแล้วจะกลับมาเป็นผู้นำในการถ่ายทอดศิลปะสู่ชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ที่สำคัญขณะนี้มีมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับรองให้เด็กในโครงการเข้าร่วมเป็นอาจารย์ และวิทยากร ในการเรียนการสอนวิชาศิลปะด้วย
“การดำเนินโครงการ 4 ปีที่ผ่านมาได้สร้างบุคลากรด้านศิลปะแล้วไม่น้อยกว่า 40 คนในภูมิภาคต่างๆ เชื่อว่าการแข่งขันในปีนี้จะเข้มข้นมากขึ้น เพราะนักศึกษาจะได้แสดงฝีมือ และสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ผ่านผลงานอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การที่ สศร.ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมกิจกรรมด้านศิลปะให้แก่เยาวชนถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เพราะที่ผ่านมา หน่วยงานที่เคยให้ความสำคัญกับกิจกรรมเหล่านี้ ก็หยุดชะงัก ไม่สนับสนุนกิจกรรมเพื่อเยาวชนเลย ส่วนหนึ่งอาจมาจากการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของหน่วยงานนั้นๆ ดังนั้นอยากให้ภาครัฐเห็นความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนในด้านศิลปะให้มากยิ่งขึ้นด้วย” นายกมลกล่าว
นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) เปิดเผยว่า ในปี 2553 สศร.มีนโยบายในการส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาตนเองเป็นศิลปินรุ่นใหม่ โดยในปีนี้จะเริ่มขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา จัดโครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย (สาขาทัศนศิลป์) ครั้งที่ 5 เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการเรียนวิชาศิลปะ ที่สามารถสะท้อนความเป็นตัวเองออกมาได้ โดยจะประสานกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ คัดเลือกนักศึกษาที่มีผลงานด้านศิลปะจำนวน 60 คน เพื่อเข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านศิลปะจากศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ และศิลปินชั้นนำของเมืองไทย ได้แก่ ศ.เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ นายถวัลย์ ดัชนี นายกมล ทัศนาญชลี นายนนทิวรรธน์ จันทนผะลิน นายเดชา วราชุน นายอิทธิพล ตั้งโฉลก นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ นายวิโชค มุกดามณี เป็นต้น ณ "บ้านดำ" ของ นายถวัลย์ ดัชนี ที่ จ.เชียงราย ระหว่างวันที่ 15-22 มีนาคมนี้
นายกมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ปี 2540 กล่าวว่า โครงการดังกล่าวได้รับงบประมาณจาก สศร.งบประมาณ 4 ล้านบาท เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสที่จะได้ร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานขึ้นร่วมกับศิลปินแห่งชาติ ที่สำคัญจะคัดเลือกเด็กที่มีผลงานดีเด่น จาก 60 คน ให้เหลือ 10 คน เพื่อเดินทางไปศึกษาดูงานตามหอศิลป์ต่างๆ ร่วมกับศิลปินแห่งชาติ ณ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในเดือนพฤษภาคมนี้ด้วย ซึ่งเราคาดหวังว่าหลังจากเด็กๆ ได้เรียนรู้จากโครงการดังกล่าวแล้วจะกลับมาเป็นผู้นำในการถ่ายทอดศิลปะสู่ชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ที่สำคัญขณะนี้มีมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับรองให้เด็กในโครงการเข้าร่วมเป็นอาจารย์ และวิทยากร ในการเรียนการสอนวิชาศิลปะด้วย
“การดำเนินโครงการ 4 ปีที่ผ่านมาได้สร้างบุคลากรด้านศิลปะแล้วไม่น้อยกว่า 40 คนในภูมิภาคต่างๆ เชื่อว่าการแข่งขันในปีนี้จะเข้มข้นมากขึ้น เพราะนักศึกษาจะได้แสดงฝีมือ และสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ผ่านผลงานอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การที่ สศร.ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมกิจกรรมด้านศิลปะให้แก่เยาวชนถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เพราะที่ผ่านมา หน่วยงานที่เคยให้ความสำคัญกับกิจกรรมเหล่านี้ ก็หยุดชะงัก ไม่สนับสนุนกิจกรรมเพื่อเยาวชนเลย ส่วนหนึ่งอาจมาจากการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของหน่วยงานนั้นๆ ดังนั้นอยากให้ภาครัฐเห็นความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนในด้านศิลปะให้มากยิ่งขึ้นด้วย” นายกมลกล่าว