สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จเปิดประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 53 นักวิชาการนานาชาติตบเท้าเข้าร่วมนับ 500 คน “เจ้าของรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลปีล่าสุด” ชี้ทั่วโลกตื่นตัวสนใจพัฒนาระบบเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ช่วยคนทั่วโลกมีสุขภาพดี ส่งผลเศรษฐกิจประเทศโตตาม แนะลงทุนตามความเหมาะสม
วันที่ 28 มกราคม ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2553 ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “เวทีโลกด้านระบบข้อมูลสุขภาพ” (Global Forum Health Information System) ซึ่งมีนักวิชาการด้านสาธารณสุขนานาชาติเข้าร่วมประชุมกว่า 500 คน งานนี้จัดโดย องค์การอนามัยโลก มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ Health Metrics Network
ศาสตราจารย์แอน มิลส์ นักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข หัวหน้าภาควิชาสาธารณสุขและนโยบาย วิทยาลัยสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร ในฐานะผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2552 สาขาการแพทย์ กล่าวภายหลังว่า ปัจจุบันการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว เช่น อังกฤษ เยอรมนี ญี่ปุ่น ใช้งบประมาณลงทุนด้านนี้จำนวนมาก เพื่อพัฒนาประชากรในประเทศให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยสำคัญของโลก คือ JEFF SACHS นักวิชาการด้านเศรษศาสตร์ ศึกษาพบว่า ที่คนมีสุขภาวะดีส่งผลให้ประเทศ มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศที่มีประชากรเจ็บป่วยจำนวนมาก
“แต่ละประเทศควรประเมินความเหมาะสม ความจำเป็นของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อนที่จะมีการลงทุน เพราะสุดท้ายแล้วอาจเป็นการลงทุนแบบไร้ประโยชน์ เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ ที่รัฐบาลทุ่มเงินพัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพของประชาชนมากถึง 1,000 ล้านปอนด์ แต่สุดท้ายระบบก็ล้มละลายเพราะปล่อยให้เอกชนบริการข้อมูลแทนภาครัฐ ทำให้การบริการจัดการไม่ยั่งยืนมั่นคงเท่ากับภาครัฐเป็นผู้บริหารระบบเอง” ศ.แอน มิลส์ กล่าว
ศ.แอน กล่าวต่อไปอีกว่า การพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ โดยมุ่งพัฒนาระบบเทคโนโลยีการสื่อสารของหน่วยบริการปฐมภูมิ อาทิ คลินิก สถานีอนามัยโรงพยาบาลชุมชน เป็นต้น เพราะเป็นหน่วยรักษาสุขภาพด่านหน้าของประชาชนในประเทศ ทั้งนี้ จากประสบการณ์พบว่าช่องทางที่จะพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศต่างๆ ให้ประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การจัดระบบรายงานข้อมูลสุขภาพแบบรายวันของหน่วยบริการสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เข้ามารักษา สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดสุขภาวะของประชากรในประเทศที่ดีมาก ทำให้นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา หรืออุปสรรค์ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ
“เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทั่วโลกควรนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลสุขภาพเชิงรุกคือ โทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งที่ทุกคนมีใช้ และพกพาติดตัวเสมอ ทั้งภาครัฐ เอกชน ควรจะสื่อสารข้อมูลกับประชาชนผ่านการส่ง SMS เช่น อังกฤษ ใช้วิธีส่ง SMS แจ้งเตือนเวลาทานยา แจ้งเตือนวันนัดพบแพทย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้มือถือ เป็นช่องทางการแจ้งข้อมูลการเกิดโรคระบาดชนิดใหม่ หรือโรคระบาดตามฤดูกาลได้ด้วย ถือเป็นเครื่องมือเฝ้าระวังโรคที่ดีอีกทางหนึ่ง” ศ.แอน มิลส์ กล่าว
รศ.ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา เลขานุการคณะกรรมการจัดงานประชุมวิชาการรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล กล่าวว่า ภายในงานประชุมวิชาการรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล มีนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข นักวิชาการด้านการแพทย์ นักวิชาการด้านกฎหมายสาธารณสุขระดับโลกมาร่วมงานจำนวนมาก เช่น รองประธานธนาคารโลก ประธานองค์กรพันธมิตรสุขภาพโลก ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก รองผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา ผู้อำนวยการโครงการสุขภาพระดับโลกกองทุนกูเกิลเอท มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ เป็นต้น
“หัวข้อในการประชุมครั้งนี้ ถือว่าเป็นประเด็นระดับนานาชาติครั้งแรกของโลก มีหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ ความสำเร็จของการพัฒนาสารสนเทศด้านสุขภาพในด้านต่างๆ เช่น ด้านการสื่อสาร ด้านการเงิน การคลัง ด้านการติดตามประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพ ด้านการให้บริการของสถานพยาบาลภาคเอกชน มีกรณีศึกษา อาทิ การรับมือโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หายนะของการจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้านสุขภาพของเอเชีย” รศ.ดร.ชื่นฤทัย กล่าว และว่า ทั้งนี้ ส่วนประเทศไทยมีการเสนอผลสำเร็จของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และภายในงานยังมีการเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ พัฒนาระบบให้บริการสุขภาพ ที่น่าสนใจ เช่น โรงเรียนแพทย์ ฮาร์วาร์ด เสนอ HEALTHMAP แผนที่สุขภาพของประชากร
วันที่ 28 มกราคม ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2553 ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “เวทีโลกด้านระบบข้อมูลสุขภาพ” (Global Forum Health Information System) ซึ่งมีนักวิชาการด้านสาธารณสุขนานาชาติเข้าร่วมประชุมกว่า 500 คน งานนี้จัดโดย องค์การอนามัยโลก มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ Health Metrics Network
ศาสตราจารย์แอน มิลส์ นักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข หัวหน้าภาควิชาสาธารณสุขและนโยบาย วิทยาลัยสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร ในฐานะผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2552 สาขาการแพทย์ กล่าวภายหลังว่า ปัจจุบันการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว เช่น อังกฤษ เยอรมนี ญี่ปุ่น ใช้งบประมาณลงทุนด้านนี้จำนวนมาก เพื่อพัฒนาประชากรในประเทศให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยสำคัญของโลก คือ JEFF SACHS นักวิชาการด้านเศรษศาสตร์ ศึกษาพบว่า ที่คนมีสุขภาวะดีส่งผลให้ประเทศ มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศที่มีประชากรเจ็บป่วยจำนวนมาก
“แต่ละประเทศควรประเมินความเหมาะสม ความจำเป็นของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อนที่จะมีการลงทุน เพราะสุดท้ายแล้วอาจเป็นการลงทุนแบบไร้ประโยชน์ เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ ที่รัฐบาลทุ่มเงินพัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพของประชาชนมากถึง 1,000 ล้านปอนด์ แต่สุดท้ายระบบก็ล้มละลายเพราะปล่อยให้เอกชนบริการข้อมูลแทนภาครัฐ ทำให้การบริการจัดการไม่ยั่งยืนมั่นคงเท่ากับภาครัฐเป็นผู้บริหารระบบเอง” ศ.แอน มิลส์ กล่าว
ศ.แอน กล่าวต่อไปอีกว่า การพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ โดยมุ่งพัฒนาระบบเทคโนโลยีการสื่อสารของหน่วยบริการปฐมภูมิ อาทิ คลินิก สถานีอนามัยโรงพยาบาลชุมชน เป็นต้น เพราะเป็นหน่วยรักษาสุขภาพด่านหน้าของประชาชนในประเทศ ทั้งนี้ จากประสบการณ์พบว่าช่องทางที่จะพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศต่างๆ ให้ประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การจัดระบบรายงานข้อมูลสุขภาพแบบรายวันของหน่วยบริการสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เข้ามารักษา สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดสุขภาวะของประชากรในประเทศที่ดีมาก ทำให้นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา หรืออุปสรรค์ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ
“เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทั่วโลกควรนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลสุขภาพเชิงรุกคือ โทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งที่ทุกคนมีใช้ และพกพาติดตัวเสมอ ทั้งภาครัฐ เอกชน ควรจะสื่อสารข้อมูลกับประชาชนผ่านการส่ง SMS เช่น อังกฤษ ใช้วิธีส่ง SMS แจ้งเตือนเวลาทานยา แจ้งเตือนวันนัดพบแพทย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้มือถือ เป็นช่องทางการแจ้งข้อมูลการเกิดโรคระบาดชนิดใหม่ หรือโรคระบาดตามฤดูกาลได้ด้วย ถือเป็นเครื่องมือเฝ้าระวังโรคที่ดีอีกทางหนึ่ง” ศ.แอน มิลส์ กล่าว
รศ.ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา เลขานุการคณะกรรมการจัดงานประชุมวิชาการรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล กล่าวว่า ภายในงานประชุมวิชาการรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล มีนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข นักวิชาการด้านการแพทย์ นักวิชาการด้านกฎหมายสาธารณสุขระดับโลกมาร่วมงานจำนวนมาก เช่น รองประธานธนาคารโลก ประธานองค์กรพันธมิตรสุขภาพโลก ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก รองผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา ผู้อำนวยการโครงการสุขภาพระดับโลกกองทุนกูเกิลเอท มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ เป็นต้น
“หัวข้อในการประชุมครั้งนี้ ถือว่าเป็นประเด็นระดับนานาชาติครั้งแรกของโลก มีหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ ความสำเร็จของการพัฒนาสารสนเทศด้านสุขภาพในด้านต่างๆ เช่น ด้านการสื่อสาร ด้านการเงิน การคลัง ด้านการติดตามประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพ ด้านการให้บริการของสถานพยาบาลภาคเอกชน มีกรณีศึกษา อาทิ การรับมือโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หายนะของการจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้านสุขภาพของเอเชีย” รศ.ดร.ชื่นฤทัย กล่าว และว่า ทั้งนี้ ส่วนประเทศไทยมีการเสนอผลสำเร็จของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และภายในงานยังมีการเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ พัฒนาระบบให้บริการสุขภาพ ที่น่าสนใจ เช่น โรงเรียนแพทย์ ฮาร์วาร์ด เสนอ HEALTHMAP แผนที่สุขภาพของประชากร