16 ม.ค.ของทุกปีได้ถูกยกให้เป็น “วันครู” วันของบุคคลผู้ซึ่งเป็นเบ้าหลอมและฟันเฟืองส่วนสำคัญเพื่อขับเคลื่อนวิชาความรู้ไปสู่ลูกศิษย์ และเพื่อเป็นการเทิดทูน ยกย่อง ในความเสียสละของครู “สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)” จึงได้จัดโครงการ “ตามรอยเกียรติยศครู ผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู” โดยการมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ “ยอดครูผู้มีอุดมการณ์” ซึ่งในปี 2553 นี้ มีครูที่สร้างผลงาน มีความทุ่มเท อุทิศชีวิตเพื่อช่วยเหลือดูแลนักเรียนมาอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งเป็น 4 คน จาก 4 ภาค
ดังนั้น ลองมาดูกันว่าอะไรที่เป็นส่วนสำคัญที่เหล่าแม่พิมพ์แต่ละท่านยึดถือปฏิบัติ เพื่อผลประโยชน์แก่วงการการศึกษาไทย จนควรคู่กับรางวัลยอดครูผู้มีอุดมการณ์ในปีนี้
** สานความร่วมมือ “ครูรู้ เด็กก็ต้องรู้”
เริ่มกันที่ “ครูสายหยุด ห้าวเจริญ” ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโป่งหวาย จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า ในฐานะที่ตนมีโอกาสได้มาอยู่ในสายงานบริหาร จึงยึดถือหลักว่า “ต้องทำให้โรงเรียนเป็นโรงเรียน นักเรียนเป็นนักเรียน และสร้างครูให้เป็นครูที่ดีด้วย” ส่วนการทำงานนั้นก็เน้นการมีส่วนร่วม เมื่อผู้บริหารรู้ ครูรู้ เด็กก็ต้องรู้ ผู้บริหารคิดนำ ทำนำ ครู เด็กก็ต้องทำตามได้ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกส่วนในโรงเรียน เปรียบได้กับไผ่เพียงลำเดียวคงไร้ความหมาย แต่หากนำมารวมกันก็ทำให้เกิดเป็นแพได้ เช่นกันกับคนๆ เดียวก็ไม่สามารถพัฒนาการศึกษาได้ สำหรับการทำงานกับเด็กก็ต้องยึดหลักประชาธิปไตยเพื่อให้เขาได้มีสิทธิแสดงความคิดเห็น ครูต้องเปลี่ยนบทบาท ดุ ด่าว่ากล่าวตักเตือนได้ แต่ก็ต้องฟังเหตุผลเขาด้วย
“สมัยที่เข้ามาเป็นผู้บริหารใหม่ๆ ที่นี่มีปัญหาด้านยาเสพติด ตรงนี้เราไม่อาจไปแก้ไขได้ สิ่งที่ทำได้ต้องเริ่มจากในโรงเรียน ทำโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ควรค่าแก่การเคารพ ทำให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางชุมชน เหมือนวัดในอดีตที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา” ครูสายหยุด เผยแนวทาง
ครูสายหยุดยังบอกด้วยว่า เมื่อสังคมเปลี่ยน คนเปลี่ยนได้ แต่ศักดิ์ศรีและคุณค่าของครูต้องยังคงอยู่ ถึงแม้วิชาชีพครูจะถูกมองไม่ดีจากสังคมปัจจุบันบ้าง แต่ก็ยังมีครูอีกหลายคนที่พยายามดำรงรักษา ทำตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง พยายามสร้างคนให้เป็นคน การเป็นครูจึงเหมือนกับการปฏิบัติธรรม ดังนั้นขอให้เพื่อนครูทุกคนมีความสุขกับการทำงาน วันนี้เราจึงต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด อย่าท้อแท้ เมื่อทำได้ความสำเร็จก็ตกอยู่ที่ตัวเด็กนั่นเอง
** ดึงเด็กสู่การศึกษา คือความภูมิใจอันสูงสุด
ไม่ต่างจาก “ครูเรียม สิงห์ทร” จากโรงเรียนบ้านขอบด้ง จ.เชียงใหม่ ที่บอกว่า ตนเป็นครูที่นี่มา 26 ปี สภาพปัญหาของการศึกษาในพื้นที่นี้คือนักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวเขา ซึ่งในอดีตจะไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ โดยครั้งแรกที่ตนอาสามาสอนนั้นตั้งแต่ปี 2527 ก็พบว่าคนในพื้นที่ไม่สนับสนุนให้ลูกได้รับการศึกษา ไม่รู้จักหนังสือ ไม่รู้จักภาษาไทย สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือต้องสร้างความเข้าใจกับคนพื้นที่ ให้เห็นความสำคัญของการศึกษาให้ได้ โดยการสร้างความคุ้นเคยจากชุมชน ชี้แจงว่าการจะเป็นคนไทยต้องรู้ภาษาไทย รู้กฎหมายไทย รู้จักความเป็นไทย เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งใช้ความพยายามในการทำความเข้าใจอยู่เกือบครึ่งปี ก็สามารถดึงลูกหลานมาเรียนหนังสือได้ ซึ่งการทำให้เด็กได้รู้หนังสือ สามารถอ่านออก เขียนได้นั้น ถือเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิตการเป็นครู
ครูเรียม ยังยอมรับด้วยว่า ถึงแม้วิชาชีพครูในปัจจุบันจะไม่น่าเชื่อถือเหมือนในอดีต แต่อย่าลืมว่ายังมีครูในพื้นที่ห่างไกลอีกจำนวนมากที่มีความตั้งใจ ยึดมั่นในอุดมการณ์ ซึ่งจากสภาพสังคม วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ก็อาจทำให้ครูส่วนหนึ่งออกนอกลู่นอกทางบ้าง ครูเองก็เป็นเพียงคนธรรมดาๆ คนหนึ่ง ดังนั้นสังคมควรให้โอกาสคนในวิชาชีพครูด้วย
“การให้ความรู้แก่เด็กถือเป็นการทำบุญอย่างยิ่งใหญ่ ดังนั้นเพื่อนครูทุกคนจึงอย่าท้อถอย การทำความดีถึงแม้ไม่มีใครเห็น แต่ก็จะอยู่กับตัวเราไปตลอด ขอเพียงแค่เราอดทน เข้มเข็ง คำว่าครู หรือ คุรุคือความหนักแน่น อย่าท้อถอยที่สำคัญคือต้องให้กำลังใจกับตนเองก่อนที่คนอื่นจะมาให้กับเรา” ครูเรียม ส่งกำลังใจถึงเพื่อนครู
** พลิกโรงเรียนให้เป็นเสมือนบ้าน
ทางฝั่ง “ครูโกวิท บุญเฉลียว” ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคูเมือง(อ่อนอนุเคราะห์) จ.อุบลราชธานี บอกว่า เด็กนักเรียนที่นี่กว่า 30% เป็นเด็กบ้านแตก พ่อแม่หย่าร้าง ถูกทอดทิ้ง ทำให้นักเรียนขาดโอกาส ขาดความรัก ความอบอุ่นจากครอบครัว ดังนั้นโรงเรียนจึงเน้นในเรื่องการสร้างความรักความอบอุ่นให้แก่นักเรียนกลุ่มเหล่านี้ โดยการปรับสภาพโรงเรียนให้เหมือนบ้าน บุคลากรทุกคนเปรียบเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน แทนที่นักเรียนจะต้องเรียกว่าครู ก็ให้เปลี่ยนเป็นเรียกพ่อ แม่แทน นอกจากนี้ได้ปรับสภาพห้องเรียนให้เป็นเหมือนบ้านให้มากที่สุด
ครูโกวิทบอกอีกว่า นอกจากนี้โรงเรียนได้ดึงทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งปรับการเรียนการสอนให้มีความยืดหยุ่น ไม่นำวิชาการมาเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของเด็ก โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่อ่อนด้อยวิชาการ ใช้ผลของการทำกิจกรรมมาใช้ประเมินผลการเรียน ในสัดส่วนการทำกิจกรรม 70% วิชาการ 30% ทำให้เด็กที่เคยเกเร เรียนอ่อน มีทัศนคติเลวร้ายต่อการเรียน หนีเรียน และรู้สึกไม่มีคุณค่าในตัวเอง เริ่มหันมาเห็นคุณค่าของตัวเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
“เด็กๆ ที่ขาดความอบอุ่นทางครอบครัว ส่งผลให้พฤติกรรมของเด็กเหล่านี้เปลี่ยนไป เดิมทีเด็กๆ จะหนีเรียนบ่อย เกเร ลักขโมย แต่เมื่อเราปรับใช้ระบบการดูแลเด็กให้เหมือนลูกมาใช้ จะเห็นว่าตัวชี้วัดหนึ่งคือเด็กหนีเรียนน้อยลง เด็กมีความสุขมากขึ้นในการมาโรงเรียน พฤติกรรมที่ไม่ดีก็หมดไป นอกจากนี้เด็กจะหันมาให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในส่วนของกิจกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย” ครูโกวิท ให้ภาพ
ครูโกวิท ฝากด้วยว่า ครูต้องพยายามทำให้ลูกศิษย์เดินไปพร้อมๆ กัน จึงอยากให้เพื่อนครูยอมรับ และนำเด็กเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการคิด การวางแผน แก้ไขปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ครูต้องใช้ความรักในการดูแล แก้ไขปัญหาต่างๆ แทนการใช้ความรุนแรง นอกจากนี้อยากฝากไปถึงรัฐบาล ในส่วนกำกับดูแลนโยบายให้ปรับปรุงเรื่องขวัญกำลังใจครู เรื่องวิทยฐานะในเชิงประจักษ์ ไม่อยากให้เน้นเอกสาร อยากให้เน้นพัฒนาที่ตัวเด็กจริงๆ
ใช้การศึกษาสยบความรุนแรงชายแดนใต้
ปิดท้ายกันที่ “ครูวิรัตน์ จันทร์งาม” ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดอัมพวนาราม จ.ปัตตานี เล่าว่า เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในพื้นที่ของโรงเรียนเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ส่งผลให้มีผู้ปกครองนักเรียนหลายรายที่ต้องบาดเจ็บ ล้มตาย จากเหตุการณ์ความไม่สงบ ดังนั้นหน้าที่ของโรงเรียนก็ต้องดูแลนักเรียนที่ได้รับผลกระทบ ต้องช่วยเหลือ เยียวยาจิตใจ ตนก็ต้องลงไปพูดคุยสร้างกำลังใจให้แก่เด็กๆ ด้วย
ครูวิรัตน์บอกอีกว่า แนวทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ได้ดีทางหนึ่งคือต้องใช้แนวทางด้านการศึกษา เพราะการศึกษาจะมีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน ต้องมองถึงอนาคตของเยาวชน ดังนั้นต้องอาศัยความช่วยเหลือดูแลจากทุกภาคส่วนเข้ามาให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพื่อให้เยาวชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
“ชีวิตการเรียนของผมในอดีตก็ไม่ได้เพียบพร้อม ต้องดิ้นรนต่อสู้มาจนกว่าจะประสบความสำเร็จ ดังนั้นประสบการณ์ด้านการทำงาน ประสบการณ์ชีวิตที่เคยเจอมาก็อยากจะนำมาถ่ายทอดสู่เด็กๆ เพราะเด็กที่นี่ต้องการความช่วยเหลือ การดูแลเอาใจใส่ อย่างไรก็ตามครูที่ทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัยก็ต้องอาศัยความรัก ความผูกพันที่มีต่อเด็กอย่างสูง ต้องมีจิตวิญญาณความรักในวิชาชีพ มีอุดมการณ์ความเป็นครู ซึ่งต่างก็หวังเพียงแค่อยากเห็นลูกศิษย์ของตัวเองประสบความสำเร็จทั้งสิ้น” ครูวิรัตน์ ทิ้งท้าย
สำหรับรางวัล “ยอดครูผู้มีอุดมการณ์” นั้นเป็นรางวัลที่กำเนิดขึ้นเมื่อปี 2550 เพื่อเชิดชูเกียรติ์ให้กับ “ครูจูหลิง ปงกันมูล” ครูผู้สละชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ให้กับเหตุการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยรางวัลดังกล่าวจะคัดเลือกครูที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาตามพื้นที่ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม มีความยากลำบาก มีภัยคุกคามทางสังคม มีปัญหาความมั่นคง โดยยอดครูผู้มีอุดมการณ์ ทั้ง 4 คน ในปีนี้ จะได้เข้ารับรางวัลเสมาทองคำ โล่ห์รางวัลและเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 3 แสนบาท จาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในวันครู (16 ม.ค.) นี้ ซึ่งจัดขึ้นที่หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
ดังนั้น ลองมาดูกันว่าอะไรที่เป็นส่วนสำคัญที่เหล่าแม่พิมพ์แต่ละท่านยึดถือปฏิบัติ เพื่อผลประโยชน์แก่วงการการศึกษาไทย จนควรคู่กับรางวัลยอดครูผู้มีอุดมการณ์ในปีนี้
** สานความร่วมมือ “ครูรู้ เด็กก็ต้องรู้”
เริ่มกันที่ “ครูสายหยุด ห้าวเจริญ” ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโป่งหวาย จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า ในฐานะที่ตนมีโอกาสได้มาอยู่ในสายงานบริหาร จึงยึดถือหลักว่า “ต้องทำให้โรงเรียนเป็นโรงเรียน นักเรียนเป็นนักเรียน และสร้างครูให้เป็นครูที่ดีด้วย” ส่วนการทำงานนั้นก็เน้นการมีส่วนร่วม เมื่อผู้บริหารรู้ ครูรู้ เด็กก็ต้องรู้ ผู้บริหารคิดนำ ทำนำ ครู เด็กก็ต้องทำตามได้ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกส่วนในโรงเรียน เปรียบได้กับไผ่เพียงลำเดียวคงไร้ความหมาย แต่หากนำมารวมกันก็ทำให้เกิดเป็นแพได้ เช่นกันกับคนๆ เดียวก็ไม่สามารถพัฒนาการศึกษาได้ สำหรับการทำงานกับเด็กก็ต้องยึดหลักประชาธิปไตยเพื่อให้เขาได้มีสิทธิแสดงความคิดเห็น ครูต้องเปลี่ยนบทบาท ดุ ด่าว่ากล่าวตักเตือนได้ แต่ก็ต้องฟังเหตุผลเขาด้วย
“สมัยที่เข้ามาเป็นผู้บริหารใหม่ๆ ที่นี่มีปัญหาด้านยาเสพติด ตรงนี้เราไม่อาจไปแก้ไขได้ สิ่งที่ทำได้ต้องเริ่มจากในโรงเรียน ทำโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ควรค่าแก่การเคารพ ทำให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางชุมชน เหมือนวัดในอดีตที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา” ครูสายหยุด เผยแนวทาง
ครูสายหยุดยังบอกด้วยว่า เมื่อสังคมเปลี่ยน คนเปลี่ยนได้ แต่ศักดิ์ศรีและคุณค่าของครูต้องยังคงอยู่ ถึงแม้วิชาชีพครูจะถูกมองไม่ดีจากสังคมปัจจุบันบ้าง แต่ก็ยังมีครูอีกหลายคนที่พยายามดำรงรักษา ทำตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง พยายามสร้างคนให้เป็นคน การเป็นครูจึงเหมือนกับการปฏิบัติธรรม ดังนั้นขอให้เพื่อนครูทุกคนมีความสุขกับการทำงาน วันนี้เราจึงต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด อย่าท้อแท้ เมื่อทำได้ความสำเร็จก็ตกอยู่ที่ตัวเด็กนั่นเอง
** ดึงเด็กสู่การศึกษา คือความภูมิใจอันสูงสุด
ไม่ต่างจาก “ครูเรียม สิงห์ทร” จากโรงเรียนบ้านขอบด้ง จ.เชียงใหม่ ที่บอกว่า ตนเป็นครูที่นี่มา 26 ปี สภาพปัญหาของการศึกษาในพื้นที่นี้คือนักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวเขา ซึ่งในอดีตจะไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ โดยครั้งแรกที่ตนอาสามาสอนนั้นตั้งแต่ปี 2527 ก็พบว่าคนในพื้นที่ไม่สนับสนุนให้ลูกได้รับการศึกษา ไม่รู้จักหนังสือ ไม่รู้จักภาษาไทย สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือต้องสร้างความเข้าใจกับคนพื้นที่ ให้เห็นความสำคัญของการศึกษาให้ได้ โดยการสร้างความคุ้นเคยจากชุมชน ชี้แจงว่าการจะเป็นคนไทยต้องรู้ภาษาไทย รู้กฎหมายไทย รู้จักความเป็นไทย เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งใช้ความพยายามในการทำความเข้าใจอยู่เกือบครึ่งปี ก็สามารถดึงลูกหลานมาเรียนหนังสือได้ ซึ่งการทำให้เด็กได้รู้หนังสือ สามารถอ่านออก เขียนได้นั้น ถือเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิตการเป็นครู
ครูเรียม ยังยอมรับด้วยว่า ถึงแม้วิชาชีพครูในปัจจุบันจะไม่น่าเชื่อถือเหมือนในอดีต แต่อย่าลืมว่ายังมีครูในพื้นที่ห่างไกลอีกจำนวนมากที่มีความตั้งใจ ยึดมั่นในอุดมการณ์ ซึ่งจากสภาพสังคม วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ก็อาจทำให้ครูส่วนหนึ่งออกนอกลู่นอกทางบ้าง ครูเองก็เป็นเพียงคนธรรมดาๆ คนหนึ่ง ดังนั้นสังคมควรให้โอกาสคนในวิชาชีพครูด้วย
“การให้ความรู้แก่เด็กถือเป็นการทำบุญอย่างยิ่งใหญ่ ดังนั้นเพื่อนครูทุกคนจึงอย่าท้อถอย การทำความดีถึงแม้ไม่มีใครเห็น แต่ก็จะอยู่กับตัวเราไปตลอด ขอเพียงแค่เราอดทน เข้มเข็ง คำว่าครู หรือ คุรุคือความหนักแน่น อย่าท้อถอยที่สำคัญคือต้องให้กำลังใจกับตนเองก่อนที่คนอื่นจะมาให้กับเรา” ครูเรียม ส่งกำลังใจถึงเพื่อนครู
** พลิกโรงเรียนให้เป็นเสมือนบ้าน
ทางฝั่ง “ครูโกวิท บุญเฉลียว” ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคูเมือง(อ่อนอนุเคราะห์) จ.อุบลราชธานี บอกว่า เด็กนักเรียนที่นี่กว่า 30% เป็นเด็กบ้านแตก พ่อแม่หย่าร้าง ถูกทอดทิ้ง ทำให้นักเรียนขาดโอกาส ขาดความรัก ความอบอุ่นจากครอบครัว ดังนั้นโรงเรียนจึงเน้นในเรื่องการสร้างความรักความอบอุ่นให้แก่นักเรียนกลุ่มเหล่านี้ โดยการปรับสภาพโรงเรียนให้เหมือนบ้าน บุคลากรทุกคนเปรียบเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน แทนที่นักเรียนจะต้องเรียกว่าครู ก็ให้เปลี่ยนเป็นเรียกพ่อ แม่แทน นอกจากนี้ได้ปรับสภาพห้องเรียนให้เป็นเหมือนบ้านให้มากที่สุด
ครูโกวิทบอกอีกว่า นอกจากนี้โรงเรียนได้ดึงทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งปรับการเรียนการสอนให้มีความยืดหยุ่น ไม่นำวิชาการมาเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของเด็ก โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่อ่อนด้อยวิชาการ ใช้ผลของการทำกิจกรรมมาใช้ประเมินผลการเรียน ในสัดส่วนการทำกิจกรรม 70% วิชาการ 30% ทำให้เด็กที่เคยเกเร เรียนอ่อน มีทัศนคติเลวร้ายต่อการเรียน หนีเรียน และรู้สึกไม่มีคุณค่าในตัวเอง เริ่มหันมาเห็นคุณค่าของตัวเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
“เด็กๆ ที่ขาดความอบอุ่นทางครอบครัว ส่งผลให้พฤติกรรมของเด็กเหล่านี้เปลี่ยนไป เดิมทีเด็กๆ จะหนีเรียนบ่อย เกเร ลักขโมย แต่เมื่อเราปรับใช้ระบบการดูแลเด็กให้เหมือนลูกมาใช้ จะเห็นว่าตัวชี้วัดหนึ่งคือเด็กหนีเรียนน้อยลง เด็กมีความสุขมากขึ้นในการมาโรงเรียน พฤติกรรมที่ไม่ดีก็หมดไป นอกจากนี้เด็กจะหันมาให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในส่วนของกิจกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย” ครูโกวิท ให้ภาพ
ครูโกวิท ฝากด้วยว่า ครูต้องพยายามทำให้ลูกศิษย์เดินไปพร้อมๆ กัน จึงอยากให้เพื่อนครูยอมรับ และนำเด็กเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการคิด การวางแผน แก้ไขปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ครูต้องใช้ความรักในการดูแล แก้ไขปัญหาต่างๆ แทนการใช้ความรุนแรง นอกจากนี้อยากฝากไปถึงรัฐบาล ในส่วนกำกับดูแลนโยบายให้ปรับปรุงเรื่องขวัญกำลังใจครู เรื่องวิทยฐานะในเชิงประจักษ์ ไม่อยากให้เน้นเอกสาร อยากให้เน้นพัฒนาที่ตัวเด็กจริงๆ
ใช้การศึกษาสยบความรุนแรงชายแดนใต้
ปิดท้ายกันที่ “ครูวิรัตน์ จันทร์งาม” ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดอัมพวนาราม จ.ปัตตานี เล่าว่า เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในพื้นที่ของโรงเรียนเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ส่งผลให้มีผู้ปกครองนักเรียนหลายรายที่ต้องบาดเจ็บ ล้มตาย จากเหตุการณ์ความไม่สงบ ดังนั้นหน้าที่ของโรงเรียนก็ต้องดูแลนักเรียนที่ได้รับผลกระทบ ต้องช่วยเหลือ เยียวยาจิตใจ ตนก็ต้องลงไปพูดคุยสร้างกำลังใจให้แก่เด็กๆ ด้วย
ครูวิรัตน์บอกอีกว่า แนวทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ได้ดีทางหนึ่งคือต้องใช้แนวทางด้านการศึกษา เพราะการศึกษาจะมีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน ต้องมองถึงอนาคตของเยาวชน ดังนั้นต้องอาศัยความช่วยเหลือดูแลจากทุกภาคส่วนเข้ามาให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพื่อให้เยาวชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
“ชีวิตการเรียนของผมในอดีตก็ไม่ได้เพียบพร้อม ต้องดิ้นรนต่อสู้มาจนกว่าจะประสบความสำเร็จ ดังนั้นประสบการณ์ด้านการทำงาน ประสบการณ์ชีวิตที่เคยเจอมาก็อยากจะนำมาถ่ายทอดสู่เด็กๆ เพราะเด็กที่นี่ต้องการความช่วยเหลือ การดูแลเอาใจใส่ อย่างไรก็ตามครูที่ทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัยก็ต้องอาศัยความรัก ความผูกพันที่มีต่อเด็กอย่างสูง ต้องมีจิตวิญญาณความรักในวิชาชีพ มีอุดมการณ์ความเป็นครู ซึ่งต่างก็หวังเพียงแค่อยากเห็นลูกศิษย์ของตัวเองประสบความสำเร็จทั้งสิ้น” ครูวิรัตน์ ทิ้งท้าย
สำหรับรางวัล “ยอดครูผู้มีอุดมการณ์” นั้นเป็นรางวัลที่กำเนิดขึ้นเมื่อปี 2550 เพื่อเชิดชูเกียรติ์ให้กับ “ครูจูหลิง ปงกันมูล” ครูผู้สละชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ให้กับเหตุการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยรางวัลดังกล่าวจะคัดเลือกครูที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาตามพื้นที่ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม มีความยากลำบาก มีภัยคุกคามทางสังคม มีปัญหาความมั่นคง โดยยอดครูผู้มีอุดมการณ์ ทั้ง 4 คน ในปีนี้ จะได้เข้ารับรางวัลเสมาทองคำ โล่ห์รางวัลและเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 3 แสนบาท จาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในวันครู (16 ม.ค.) นี้ ซึ่งจัดขึ้นที่หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)