สธ.ตั้งคณะกรรมการไทยเข้มแข็งชุดใหม่ ทบทวนรายละเอียดรายการในงบ พรก. 11,500 ล้านบาท ไฟเขียวเดินหน้าจัดซื้อ 4 รายการ วงเงิน 1,500 ล้านบาท อาทิ รถพยาบาลฉุกเฉินของโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาล 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนรายการก่อสร้างและครุภัณฑ์ที่เหลือ รวมทั้งกลุ่มที่เห็นชอบรายการและสถานที่ แต่ยังไม่ลงตัวเรื่องราคา ให้คณะทำงานเฉพาะกิจเร่งให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด คาดพิจารณาในส่วนของ พรก. จบในสัปดาห์หน้า
นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.ว่า ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 2/2553 แต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนความเหมาะสมและแก้ไขโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.ชุดใหม่ โดยยกเลิกคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขเดิมที่ 1588/2552 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยคณะกรรมการชุดใหม่มีทั้งหมด 29 คน มีปลัด สธ.ป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย รองปลัด สธ.ทั้ง 4 ด้าน รองอธิบดีทุกกรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ผู้ตรวจราชการ สธ.เขต 8 และ 17 ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 สธ.ประธานชมรมแพทย์ชนบท ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก ผู้แทนจากโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัย นิติกรกลุ่มกฎหมาย กระทรวงสาธารณสุข มีผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์เป็นเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาคเป็นผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่พิจารณาทบทวนความเหมาะสมรายละเอียดของโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 ของ สธ. แก้ไขปัญหาอุปสรรคของโครงการ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ในส่วนความก้าวหน้าโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.ที่ได้รับวงเงินในปีงบประมาณ 2553 ตามพระราชกำหนด 11,500 ล้านบาท ซึ่งแบ่งรายการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 รายการ ราคา และสถานที่คงเดิมตามที่พื้นที่เสนอขอในโครงการฯ กลุ่มที่ 2 รายการ สถานที่คงเดิม แต่ปรับราคาลงตามการถอดแบบประเมินราคาปริมาณวัสดุของกองแบบแผน หรือบีโอคิว (Bill of Quality) และกลุ่มที่ 3 มีการเปลี่ยนชื่อรายการ สถานที่ หรือราคาลดลงแต่ไม่ใช้บีโอคิว
ไฟเขียวเดินหน้า 4 รายการใช้งบ1.5พันล้าน
ผลการพิจารณาในกลุ่มที่ 1 เห็นชอบให้ดำเนินการในเบื้องต้นได้ 4 รายการ ได้แก่ โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 2 รายการ วงเงิน 1,534 ล้านบาทเศษ ประกอบด้วย รถพยาบาลพร้อมเครื่องช่วยหายใจและเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นในการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างการส่งต่อ 829 คันคันละ 1.8 ล้านบาท รวม 1,492.2 ล้านบาท และรถพยาบาลฉุกเฉินเป็นรถกระบะเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1 ตัน ต่อเติมหลังคาไฟเบอร์กล๊าสพร้อมอุปกรณ์การแพทย์ จำนวน 63 คัน ราคาคันละ 669,800 บาท รวม 42.195 ล้านบาท
และงบบริหารจัดการโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเครือข่ายบริการทุกระดับ 20 ล้านบาท และรถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตของโรงพยาบาลชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ในโครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลเพื่อการจัดบริการในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ รพ.สุคิริน รพ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส รพ.มายอ รพ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี รพ.บันนังสตา รพ.กาบัง จ.ยะลา รพ.สมเด็จพระบรมราชินีนาถ รพ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา รพ.ควนโดน รพ.ทุ่งหว้า จ.สตูล รวมทั้งหมด 10 คัน คันละ 1.8 ล้านบาท วงเงิน 18 ล้านบาท
ส่วนสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์อื่นๆ ที่ประชุมเห็นชอบในความเหมาะสม แต่ได้มอบให้นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ นพ.ประทีป เมฆประสาน นพ.วีระพงษ์ เพ่งวาณิชย์ เจ้าหน้าที่สำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค และเจ้าหน้าที่กองแบบแผน ร่วมพิจารณาราคาให้เหมาะสม และนำเสนอผลการพิจารณาให้คณะกรรมการชุดนี้พิจารณาอีกครั้ง ประกอบด้วย รายการสิ่งก่อสร้างของโรงพยาบาลชุมชน เช่น อาคารผู้ป่วย โรงครัว โรงซักฟอก ระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 21 รายการ วงเงิน 712.015 ล้านบาท และสิ่งก่อสร้างโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ เช่น อาคารผู้ป่วย อาคารโภชนาการ อาคารทันตกรรม 11 รายการ วงเงิน 194.912 ล้านบาท สิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของกรมการแพทย์ จำนวน 10 รายการ วงเงิน 61.36 ล้านบาท
โครงการก่อสร้างอาคารที่พักนักศึกษาในโครงการผลิตพัฒนาศักยภาพแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขรวม 4 รายการ วงเงิน 383 ล้านบาท ที่ประชุมมีมติเป็นชอบในหลักการ และสิ่งก่อสร้างในโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเครือข่ายทุกระดับ 24 รายการ เช่น บ้านพักเจ้าหน้าที่ ระบบบำบัดน้ำเสีย วงเงิน 256.465 ล้านบาทและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 1,000 กิโลวัตต์ของรพ.ปัตตานี รพ.นราธิวาส รวม 20 ล้านบาท คาดว่าจะสรุปผลได้ภายในวันนี้ และในวันพรุ่งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะทำหนังสือปลดล็อค แจ้งให้ผู้ว่าราชการทุกจังหวัดทราบ เพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในพื้นที่ต่อไป นายแพทย์ไพจิตร์กล่าว
สำหรับรายการอีก 2 กลุ่มที่เหลือ คือกลุ่มที่ 2 รายการ สถานที่คงเดิม แต่ปรับราคาลงตามบีโอคิว ของกองแบบแผน มีการปรับรายการที่ไม่จำเป็นออกเล็กน้อย วงเงินเดิม 4,077.743 ล้านบาท และปรับลดวงเงินเหลือ 3,544.457 ล้านบาท ลดลงประมาณ 500 ล้านบาท เมื่อได้ข้อยุติก็จะเดินหน้าต่อไปในสัปดาห์หน้า และกลุ่มที่ 3 มีการเปลี่ยนชื่อรายการ สถานที่ หรือราคาลดลงแต่ไม่ใช้บีโอคิว ต้องมีการพิจารณา รวบรวมเสนอ ครม.ต่อไป เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลง
นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.ว่า ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 2/2553 แต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนความเหมาะสมและแก้ไขโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.ชุดใหม่ โดยยกเลิกคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขเดิมที่ 1588/2552 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยคณะกรรมการชุดใหม่มีทั้งหมด 29 คน มีปลัด สธ.ป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย รองปลัด สธ.ทั้ง 4 ด้าน รองอธิบดีทุกกรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ผู้ตรวจราชการ สธ.เขต 8 และ 17 ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 สธ.ประธานชมรมแพทย์ชนบท ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก ผู้แทนจากโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัย นิติกรกลุ่มกฎหมาย กระทรวงสาธารณสุข มีผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์เป็นเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาคเป็นผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่พิจารณาทบทวนความเหมาะสมรายละเอียดของโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 ของ สธ. แก้ไขปัญหาอุปสรรคของโครงการ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ในส่วนความก้าวหน้าโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.ที่ได้รับวงเงินในปีงบประมาณ 2553 ตามพระราชกำหนด 11,500 ล้านบาท ซึ่งแบ่งรายการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 รายการ ราคา และสถานที่คงเดิมตามที่พื้นที่เสนอขอในโครงการฯ กลุ่มที่ 2 รายการ สถานที่คงเดิม แต่ปรับราคาลงตามการถอดแบบประเมินราคาปริมาณวัสดุของกองแบบแผน หรือบีโอคิว (Bill of Quality) และกลุ่มที่ 3 มีการเปลี่ยนชื่อรายการ สถานที่ หรือราคาลดลงแต่ไม่ใช้บีโอคิว
และงบบริหารจัดการโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเครือข่ายบริการทุกระดับ 20 ล้านบาท และรถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตของโรงพยาบาลชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ในโครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลเพื่อการจัดบริการในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ รพ.สุคิริน รพ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส รพ.มายอ รพ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี รพ.บันนังสตา รพ.กาบัง จ.ยะลา รพ.สมเด็จพระบรมราชินีนาถ รพ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา รพ.ควนโดน รพ.ทุ่งหว้า จ.สตูล รวมทั้งหมด 10 คัน คันละ 1.8 ล้านบาท วงเงิน 18 ล้านบาท
ส่วนสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์อื่นๆ ที่ประชุมเห็นชอบในความเหมาะสม แต่ได้มอบให้นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ นพ.ประทีป เมฆประสาน นพ.วีระพงษ์ เพ่งวาณิชย์ เจ้าหน้าที่สำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค และเจ้าหน้าที่กองแบบแผน ร่วมพิจารณาราคาให้เหมาะสม และนำเสนอผลการพิจารณาให้คณะกรรมการชุดนี้พิจารณาอีกครั้ง ประกอบด้วย รายการสิ่งก่อสร้างของโรงพยาบาลชุมชน เช่น อาคารผู้ป่วย โรงครัว โรงซักฟอก ระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 21 รายการ วงเงิน 712.015 ล้านบาท และสิ่งก่อสร้างโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ เช่น อาคารผู้ป่วย อาคารโภชนาการ อาคารทันตกรรม 11 รายการ วงเงิน 194.912 ล้านบาท สิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของกรมการแพทย์ จำนวน 10 รายการ วงเงิน 61.36 ล้านบาท
โครงการก่อสร้างอาคารที่พักนักศึกษาในโครงการผลิตพัฒนาศักยภาพแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขรวม 4 รายการ วงเงิน 383 ล้านบาท ที่ประชุมมีมติเป็นชอบในหลักการ และสิ่งก่อสร้างในโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเครือข่ายทุกระดับ 24 รายการ เช่น บ้านพักเจ้าหน้าที่ ระบบบำบัดน้ำเสีย วงเงิน 256.465 ล้านบาทและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 1,000 กิโลวัตต์ของรพ.ปัตตานี รพ.นราธิวาส รวม 20 ล้านบาท คาดว่าจะสรุปผลได้ภายในวันนี้ และในวันพรุ่งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะทำหนังสือปลดล็อค แจ้งให้ผู้ว่าราชการทุกจังหวัดทราบ เพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในพื้นที่ต่อไป นายแพทย์ไพจิตร์กล่าว
สำหรับรายการอีก 2 กลุ่มที่เหลือ คือกลุ่มที่ 2 รายการ สถานที่คงเดิม แต่ปรับราคาลงตามบีโอคิว ของกองแบบแผน มีการปรับรายการที่ไม่จำเป็นออกเล็กน้อย วงเงินเดิม 4,077.743 ล้านบาท และปรับลดวงเงินเหลือ 3,544.457 ล้านบาท ลดลงประมาณ 500 ล้านบาท เมื่อได้ข้อยุติก็จะเดินหน้าต่อไปในสัปดาห์หน้า และกลุ่มที่ 3 มีการเปลี่ยนชื่อรายการ สถานที่ หรือราคาลดลงแต่ไม่ใช้บีโอคิว ต้องมีการพิจารณา รวบรวมเสนอ ครม.ต่อไป เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลง