รพ.ศิริราชเปลี่ยนตับจากผู้ใหญ่สู่ผู้ใหญ่ สำเร็จเป็นแห่งแรกในประเทศไทย พัฒนาวิธีการผ่าตัดโดยใช้เทคนิคการแบ่งตับจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่เปลี่ยนให้กับผู้ป่วย คือจากลูกสู่พ่อ ข้อดีผู้ป่วยไม่ต้องเข้าคิวรออวัยวะตับนาน เผยสถิติการรอตับของผู้ป่วยเปลี่ยนตับเฉลี่ยคนละ 186 วัน
ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และทีมแพทย์ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะนำโดย นพ.ยงยุทธ ศิริวัฒนอักษร หัวหน้าทีมผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เปิดเผยถึงการผ่าตัดเปลี่ยนตับผู้ใหญ่สู่ผู้ใหญ่สำเร็จเป็นแห่งแรกในประเทศ โดยนำผู้ป่วยมาร่วมแถลงข่าวด้วยคือ นายศิริศักดิ์ ชีวาจร
ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กล่าวว่า ผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็งซึ่งผู้บริจาคตับให้คือ ธนาธิป ชีวาจร บุตรชาย การผ่าตัดนับว่ามีความเสี่ยงสูง เพราะต้องผ่าตัดนำกลีบขวาของตับผู้ให้ ซึ่งมีปริมาณถึงร้อยละ 60 ของเนื้อตับทั้งหมด และต้องเลาะเส้นเลือดแดง-ดำ ท่อน้ำดีของตับกลีบออก โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับตับกลีบซ้ายที่ยังเหลืออยู่ แล้วนำไปต่อเชื่อมเข้ากับตับของผู้รับ มีการต่อเชื่อมเส้นเลือดดำ-แดง ขั้นตอนเย็บเชื่อมเส้นเลือดใช้เวลานานถึง 7 ชั่วโมง ใช้ทีมแพทย์ผ่าตัดพร้อมกันถึง 2 ทีม หลังจากผ่าตัดอาการของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ คนไข้ทั้งผู้ให้และผู้รับเสียเลือดน้อยมากไม่ต้องให้เลือดแต่อย่างใด รวมถึงไม่ต้องพักรอดูอาการในห้องไอซียู
ด้าน นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า การผ่าตัดนี้จะทำได้เฉพาะผู้มีสัมพันธ์ทางสายเลือดเท่านั้น โดยผู้บริจาคต้องมีอายุมากกว่า 20 ปีปราศจากโรคติดเชื้อต่าง ๆ มีข้อดีคือผู้ป่วยไม่ต้องเข้าคิวรออวัยวะตับนาน และตับที่ได้เป็นตับที่ทำงานสมบูรณ์ สามารถวางแผนผ่าตัดในเวลาที่เหมาะสมได้ ทั้งนี้ สถิติการรอตับของผู้ป่วยเปลี่ยนตับเฉลี่ยคนละ 186 วัน ในรอบ 8 ปี ศิริราชผ่าตัดเปลี่ยนตับแล้ว 98 ราย ซึ่งมากที่สุดในประเทศ เป็นผู้ป่วยจากไวรัสตับอักเสบดี ซี ภาวะตับวาย และมะเร็งตับ
ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และทีมแพทย์ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะนำโดย นพ.ยงยุทธ ศิริวัฒนอักษร หัวหน้าทีมผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เปิดเผยถึงการผ่าตัดเปลี่ยนตับผู้ใหญ่สู่ผู้ใหญ่สำเร็จเป็นแห่งแรกในประเทศ โดยนำผู้ป่วยมาร่วมแถลงข่าวด้วยคือ นายศิริศักดิ์ ชีวาจร
ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กล่าวว่า ผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็งซึ่งผู้บริจาคตับให้คือ ธนาธิป ชีวาจร บุตรชาย การผ่าตัดนับว่ามีความเสี่ยงสูง เพราะต้องผ่าตัดนำกลีบขวาของตับผู้ให้ ซึ่งมีปริมาณถึงร้อยละ 60 ของเนื้อตับทั้งหมด และต้องเลาะเส้นเลือดแดง-ดำ ท่อน้ำดีของตับกลีบออก โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับตับกลีบซ้ายที่ยังเหลืออยู่ แล้วนำไปต่อเชื่อมเข้ากับตับของผู้รับ มีการต่อเชื่อมเส้นเลือดดำ-แดง ขั้นตอนเย็บเชื่อมเส้นเลือดใช้เวลานานถึง 7 ชั่วโมง ใช้ทีมแพทย์ผ่าตัดพร้อมกันถึง 2 ทีม หลังจากผ่าตัดอาการของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ คนไข้ทั้งผู้ให้และผู้รับเสียเลือดน้อยมากไม่ต้องให้เลือดแต่อย่างใด รวมถึงไม่ต้องพักรอดูอาการในห้องไอซียู
ด้าน นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า การผ่าตัดนี้จะทำได้เฉพาะผู้มีสัมพันธ์ทางสายเลือดเท่านั้น โดยผู้บริจาคต้องมีอายุมากกว่า 20 ปีปราศจากโรคติดเชื้อต่าง ๆ มีข้อดีคือผู้ป่วยไม่ต้องเข้าคิวรออวัยวะตับนาน และตับที่ได้เป็นตับที่ทำงานสมบูรณ์ สามารถวางแผนผ่าตัดในเวลาที่เหมาะสมได้ ทั้งนี้ สถิติการรอตับของผู้ป่วยเปลี่ยนตับเฉลี่ยคนละ 186 วัน ในรอบ 8 ปี ศิริราชผ่าตัดเปลี่ยนตับแล้ว 98 ราย ซึ่งมากที่สุดในประเทศ เป็นผู้ป่วยจากไวรัสตับอักเสบดี ซี ภาวะตับวาย และมะเร็งตับ