มติที่ประชุมคณะกรรมการปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวงและปริมณฑล เห็นพ้องสั่งปิดสนามหลวง 300 วัน คาดเริ่มห้ามใช้พื้นที่ 9 มกราคม 2553 ส่งทหารเข้ามาดูแลพัฒนาแทน "ธีระชน" ย้ำชัดห้ามใช้ชุมนุมทางการเมือง
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงภูมิทัศน์ สภาพแวดล้อมและปัญหาสังคมพื้นที่สนามหลวงและปริมณฑลว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปใน 3 ประเด็น คือ
การปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวงในเดือนมกราคม 2553 โดยจะปิดพื้นที่สนามหลวงเป็นเวลา 300 วันและส่งมอบพื้นที่ให้ทหารเป็นผู้ดำเนินการส่วนรายละเอียดการดำเนินการทางสำนักการโยธา (สนย.) กทม.จะเสนอแผนการทำงานอีกครั้ง คาดว่าจะสามารถปิดสนามหลวงได้หลังวันที่ 9 มกราคมเป็นต้นไป
ส่วนการแก้ปัญหาคนไร้บ้านที่ประชุมมอบหมายให้สำนักพัฒนาที่อยู่อาศัยของ กทม. มูลนิธิอิสระชน มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิคนไร้บ้าน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ไปประสานกับหน่วยงานที่มีพื้นที่ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรมธนารักษ์ จัดหาที่พักพิงชั่วคราวให้คนไร้บ้าน ซึ่งที่ผ่านมาเครือข่ายคนไร้บ้านได้รับคนไร้บ้านที่สนามหลวงเข้าที่พักชั่วคราวแล้วจำนวนกว่า 100 คนและยังสามารถรองรับได้อีก 40 คน จากจำนวนคนไร้บ้านที่อยู่ในสนามหลวงกว่า 300 คน
นายธีระชนกล่าวอีกว่า ส่วนการแก้ปัญหาผู้ค้าหาบเร่แผงลอยบริเวณรอบพระบรมมหาราชวัง และพื้นที่สนามหลวง ที่จากเดิมให้สำนักงานเขตดูแลเป็นสำนักเข้ามาดำเนินการแทนโดยมีนายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัดกทม.เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนปัญหาการร้องเรียนของผู้ค้าที่ท่าเตียนซึ่งมาร้องเรียนที่ศาลาว่าการ กทม.เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ประชุมสรุปการแก้ปัญหาให้สำนักงานเขตพระนครสำรวจพื้นที่ริมคลองหลอดฝั่งบาทวิถีว่า
สามารถรองรับผู้ค้าได้เพิ่มหรือไม่ และในอนาคตจะทำถนนคนเดิน ซึ่งจะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ส่วนประเด็นสุดท้ายการแก้ปัญหานกพิราบที่สนามหลวง จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจไม่ให้อาหารนก เพราะการรวมกลุ่มของนกพิราบจำนวนมากจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ทั้งนี้ ได้มอบให้สำนักงานเขตพระนคร สมาคมนกพิราบ ทำความสะอาดฆ่าไร และจัดทำกรงนก ก่อนจะประสานส่งต่อไปยังหน่วยทหารสวนผึ้ง จ.ราชบุรี นำไปดูแล
นายธีระชน กล่าวต่อว่า สำหรับการปิดพื้นที่นั้นเป็นไปได้ว่าจะมีการปิดปรับปรุงพร้อมกันทั้งหมดทั้งสนามหลวงฝั่งทิศเหนือด้านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และสนามหลวงทิศใต้ด้านฝั่งพระบรมมหาราชวัง แต่หากจะมีการรัฐพิธี ราชพิธี ประเพณีสำคัญต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการใช้สนามหลวง พ.ศ.2543 แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2550 กำหนดให้ใช้ท้องสนามหลวงเพื่องาน 1. รัฐพิธี 2. ราชพิธี 3. ประเพณีสำคัญต่างๆ 4. งานของรัฐบาลและ 5. งานของกรุงเทพมหานคร ก็สามารถดำเนินการได้ตามปรกติซึ่งเมื่อแล้วเสร็จต้องคืนพื้นที่ให้ทหารที่จะเข้ามาดูแลเพื่อดำเนินการปรับปรุงต่อไป แต่หากจะมีการขอใช้พื้นที่เพื่อการชุมนุมหรือเคลื่อนไหวทางการเมืองคงไม่เป็นการเหมาะสมเพราะพื้นที่ดังกล่าวกทม.ได้ส่งต่อให้ฝ่ายทหารเป็นผู้รับผิดชอบแล้ว อีกทั้งยังมีสถานที่อื่นๆ ที่สามารถจัดเป็นสถานที่เคลื่อนไหวทางการเมืองได้ก็น่าจะไปใช้พื้นที่นั้นๆ มากกว่า
ส่วนกลุ่มพ่อค้าหาบเร่แผงลอยที่อยู่โดยรอบสนามหลวงนั้น ก็จะต้องมีการผลักดันออกไปแต่กทม.ก็จะหาพื้นที่อื่นรองรับให้เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ค้าได้รับความเดือดร้อนไม่มีที่ทำกินโดยอาจจะให้ย้ายไปขายยังบริเวณริมคลองหลอดซึ่งต้องไปสำรวจดูว่ายังมีพื้นที่ว่างสามารถรองรับกลุ่มผู้ค้าได้หรือไม่ จำนวนเท่าใด
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงภูมิทัศน์ สภาพแวดล้อมและปัญหาสังคมพื้นที่สนามหลวงและปริมณฑลว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปใน 3 ประเด็น คือ
การปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวงในเดือนมกราคม 2553 โดยจะปิดพื้นที่สนามหลวงเป็นเวลา 300 วันและส่งมอบพื้นที่ให้ทหารเป็นผู้ดำเนินการส่วนรายละเอียดการดำเนินการทางสำนักการโยธา (สนย.) กทม.จะเสนอแผนการทำงานอีกครั้ง คาดว่าจะสามารถปิดสนามหลวงได้หลังวันที่ 9 มกราคมเป็นต้นไป
ส่วนการแก้ปัญหาคนไร้บ้านที่ประชุมมอบหมายให้สำนักพัฒนาที่อยู่อาศัยของ กทม. มูลนิธิอิสระชน มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิคนไร้บ้าน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ไปประสานกับหน่วยงานที่มีพื้นที่ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรมธนารักษ์ จัดหาที่พักพิงชั่วคราวให้คนไร้บ้าน ซึ่งที่ผ่านมาเครือข่ายคนไร้บ้านได้รับคนไร้บ้านที่สนามหลวงเข้าที่พักชั่วคราวแล้วจำนวนกว่า 100 คนและยังสามารถรองรับได้อีก 40 คน จากจำนวนคนไร้บ้านที่อยู่ในสนามหลวงกว่า 300 คน
นายธีระชนกล่าวอีกว่า ส่วนการแก้ปัญหาผู้ค้าหาบเร่แผงลอยบริเวณรอบพระบรมมหาราชวัง และพื้นที่สนามหลวง ที่จากเดิมให้สำนักงานเขตดูแลเป็นสำนักเข้ามาดำเนินการแทนโดยมีนายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัดกทม.เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนปัญหาการร้องเรียนของผู้ค้าที่ท่าเตียนซึ่งมาร้องเรียนที่ศาลาว่าการ กทม.เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ประชุมสรุปการแก้ปัญหาให้สำนักงานเขตพระนครสำรวจพื้นที่ริมคลองหลอดฝั่งบาทวิถีว่า
สามารถรองรับผู้ค้าได้เพิ่มหรือไม่ และในอนาคตจะทำถนนคนเดิน ซึ่งจะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ส่วนประเด็นสุดท้ายการแก้ปัญหานกพิราบที่สนามหลวง จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจไม่ให้อาหารนก เพราะการรวมกลุ่มของนกพิราบจำนวนมากจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ทั้งนี้ ได้มอบให้สำนักงานเขตพระนคร สมาคมนกพิราบ ทำความสะอาดฆ่าไร และจัดทำกรงนก ก่อนจะประสานส่งต่อไปยังหน่วยทหารสวนผึ้ง จ.ราชบุรี นำไปดูแล
นายธีระชน กล่าวต่อว่า สำหรับการปิดพื้นที่นั้นเป็นไปได้ว่าจะมีการปิดปรับปรุงพร้อมกันทั้งหมดทั้งสนามหลวงฝั่งทิศเหนือด้านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และสนามหลวงทิศใต้ด้านฝั่งพระบรมมหาราชวัง แต่หากจะมีการรัฐพิธี ราชพิธี ประเพณีสำคัญต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการใช้สนามหลวง พ.ศ.2543 แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2550 กำหนดให้ใช้ท้องสนามหลวงเพื่องาน 1. รัฐพิธี 2. ราชพิธี 3. ประเพณีสำคัญต่างๆ 4. งานของรัฐบาลและ 5. งานของกรุงเทพมหานคร ก็สามารถดำเนินการได้ตามปรกติซึ่งเมื่อแล้วเสร็จต้องคืนพื้นที่ให้ทหารที่จะเข้ามาดูแลเพื่อดำเนินการปรับปรุงต่อไป แต่หากจะมีการขอใช้พื้นที่เพื่อการชุมนุมหรือเคลื่อนไหวทางการเมืองคงไม่เป็นการเหมาะสมเพราะพื้นที่ดังกล่าวกทม.ได้ส่งต่อให้ฝ่ายทหารเป็นผู้รับผิดชอบแล้ว อีกทั้งยังมีสถานที่อื่นๆ ที่สามารถจัดเป็นสถานที่เคลื่อนไหวทางการเมืองได้ก็น่าจะไปใช้พื้นที่นั้นๆ มากกว่า
ส่วนกลุ่มพ่อค้าหาบเร่แผงลอยที่อยู่โดยรอบสนามหลวงนั้น ก็จะต้องมีการผลักดันออกไปแต่กทม.ก็จะหาพื้นที่อื่นรองรับให้เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ค้าได้รับความเดือดร้อนไม่มีที่ทำกินโดยอาจจะให้ย้ายไปขายยังบริเวณริมคลองหลอดซึ่งต้องไปสำรวจดูว่ายังมีพื้นที่ว่างสามารถรองรับกลุ่มผู้ค้าได้หรือไม่ จำนวนเท่าใด