“สมเด็จพระเทพฯ” เสด็จทอดพระเนตรการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิ ร.9 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 19 พ.ย.นี้ ที่พิพิธภัณฑ์หอศิลปเจ้าฟ้า อดีตปลัด วธ.เผยเนื้อหามุ่งเตือนสติคนไทยรักให้รักกัน ทำความดี เกลียดความชั่ว และตระหนักถึงผลแห่งกรรม
วันนี้ (18 พ.ย.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า จากการที่ วธ.ได้ดำเนินโครงการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมี ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ อดีตปลัด วธ.เป็นประธานคณะทำงาน ร่วมด้วย ศิลปินผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการ เช่นศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร รศ.สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ นายศักย ขุนพลพิทักษ์ ฯลฯ เป็นคณะทำงาน นั้น ขณะนี้โครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ มีความชัดเจนในเรื่องขนาด กรอบแนวคิด การจัดวางภาพทั้ง 3 ภูมิ โดยได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทอดพระเนตรการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิดังกล่าวในวันที่ 19 พ.ย.นี้เวลา 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะทำงานอย่างหาที่สุดมิได้
ม.ร.ว.จักรรถ กล่าวว่า สมเด็จพระเทพฯ ทรงสนพระทัยโครงการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 เป็นอย่างยิ่ง โดยภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 ที่จัดทำในครั้งนี้ มีขนาด สูง 16 เมตร กว้าง 3.20 เมตร กรอบแนวคิดและแนวทางการจัดทำพัฒนามาจากไตรภูมิในอดีต ประยุกต์เข้ากับวิถีชีวิต เหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในส่วนของชมพูทวีป ซึ่งเป็นดินแดนที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาศัยอยู่ จะแสดงให้เห็นถึงป่าหิมพานต์ สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาจนถึงประเทศไทย นำเสนอพระบรมมหาราชวัง พระเมรุมาศ พระราชพิธีและประเพณี วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยปัจจุบันที่มีพื้นฐานมาจากเรื่องไตรภูมิ
“เรื่องไตรภูมินี้ มีความสำคัญต่อโครงสร้างของสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องปลูกฝังความเชื่อในทางสร้างสรรค์ คือสอนให้รู้จักความดีความชั่ว และผลของการทำความดีความชั่ว ให้เกลียดกลัวความชั่ว รักความดีและอุตสาหพยายามทำความดี โดยเหตุนี้ชาวไทยโดยทั่วไปจึงมีจิตใจเชื่อมั่นในคำสอนทางพระพุทธศาสนาสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน เชื่อกรรมและเชื่อผลของกรรม เชื่อบุญเชื่อบาป เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำบุญได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วต้องตกนรก เป็นต้น” ม.ร.ว.จักรรถ กล่าว
วันนี้ (18 พ.ย.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า จากการที่ วธ.ได้ดำเนินโครงการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมี ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ อดีตปลัด วธ.เป็นประธานคณะทำงาน ร่วมด้วย ศิลปินผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการ เช่นศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร รศ.สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ นายศักย ขุนพลพิทักษ์ ฯลฯ เป็นคณะทำงาน นั้น ขณะนี้โครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ มีความชัดเจนในเรื่องขนาด กรอบแนวคิด การจัดวางภาพทั้ง 3 ภูมิ โดยได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทอดพระเนตรการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิดังกล่าวในวันที่ 19 พ.ย.นี้เวลา 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะทำงานอย่างหาที่สุดมิได้
ม.ร.ว.จักรรถ กล่าวว่า สมเด็จพระเทพฯ ทรงสนพระทัยโครงการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 เป็นอย่างยิ่ง โดยภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 ที่จัดทำในครั้งนี้ มีขนาด สูง 16 เมตร กว้าง 3.20 เมตร กรอบแนวคิดและแนวทางการจัดทำพัฒนามาจากไตรภูมิในอดีต ประยุกต์เข้ากับวิถีชีวิต เหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในส่วนของชมพูทวีป ซึ่งเป็นดินแดนที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาศัยอยู่ จะแสดงให้เห็นถึงป่าหิมพานต์ สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาจนถึงประเทศไทย นำเสนอพระบรมมหาราชวัง พระเมรุมาศ พระราชพิธีและประเพณี วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยปัจจุบันที่มีพื้นฐานมาจากเรื่องไตรภูมิ
“เรื่องไตรภูมินี้ มีความสำคัญต่อโครงสร้างของสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องปลูกฝังความเชื่อในทางสร้างสรรค์ คือสอนให้รู้จักความดีความชั่ว และผลของการทำความดีความชั่ว ให้เกลียดกลัวความชั่ว รักความดีและอุตสาหพยายามทำความดี โดยเหตุนี้ชาวไทยโดยทั่วไปจึงมีจิตใจเชื่อมั่นในคำสอนทางพระพุทธศาสนาสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน เชื่อกรรมและเชื่อผลของกรรม เชื่อบุญเชื่อบาป เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำบุญได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วต้องตกนรก เป็นต้น” ม.ร.ว.จักรรถ กล่าว