“สุขุมพันธุ์” คาดคน กทม.ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 3 แสนคนแต่เข้ามารักษาแค่ร้อยละ 4 เร่งส่งเจ้าหน้าที่สาธาณรสุขคัดกรอง พร้อมประสานโรงพยาบาลใน กทม.เป็นตัวช่วย เล็งให้เมืองกรุงเป็นหนึ่งในเมืองสุขภาพดีพันเมืองขององค์การอนามัยโลก
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า หลังจากที่ตน พร้อมด้วย พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม.และคณะได้เดินทางไปร่วมประชุมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาของศูนย์พัฒนาสุขภาพองค์การอนามัยโลกที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งในการประชุมครั้งนี้ตนได้รับเกียรติให้เป็น 1 ในคณะกรรมการที่ปรึกษาในฐานะผู้แทนจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกับตัวแทนจากภูมิภาคอื่นๆ อีก 5 คนและผู้แทนจากเมืองโกเบอีก 3 คน รวมคณะกรรมการชุดนี้มีทั้งสิ้น 9 คน โดยศูนย์พัฒนาสุขภาพแห่งนี้กำลังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในเรื่องต่างๆ ซึ่งในที่ประชุมตนได้นำเสนอมาตรการการป้องกันเรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รวมถึงการค้นหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าซึ่งประมาณการว่าใน กทม.จะมีผู้ป่วยโรคนี้อยู่ประมาณ 3 แสนคน แต่มีเพียง 4.4% ที่เข้ารับการรักษาซึ่งถือว่าน้อยมากซึ่งโรคซึมเศร้านี้เป็นปัญหาที่สำคัญอันดับ 4 ของโลก ดังนั้น กทม.จะได้จัดทำโครงการแก้คนกทม.เป็นโรคซึมเศร้าซึ่งจะได้เห็นเป็นรูปธรรมในปีหน้า นอกจากนี้ ในปีหน้าทางองค์การอนามัยจะจัดกิจกรรม 1,000 เมือง 1,000 ชีวิตซึ่งศูนย์พัฒนาสุขภาพองค์การอนามัยโลกที่โกเบหวังว่า กทม.จะเป็นหนึ่งในเมืองสุขภาพดีพันเมือง ซึ่งพื้นที่เขตสาทรของเราก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ได้รับแจ้งว่าเป็นเขตที่ผู้คนอาศัยอยู่มีสุขภาพดี
พญ.มาลินี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการคัดกรองผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่ง กทม.ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงคัดกรองในแต่ละพื้นที่แล้ว นอกจากนี้จะได้หารือร่วมกับโรงพยาบาลในพื้นที่ กทม.รวม 104 แห่งในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อขอความสนับสนุนในการร่วมคัดกรองและตรวจรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า หลังจากที่ตน พร้อมด้วย พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม.และคณะได้เดินทางไปร่วมประชุมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาของศูนย์พัฒนาสุขภาพองค์การอนามัยโลกที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งในการประชุมครั้งนี้ตนได้รับเกียรติให้เป็น 1 ในคณะกรรมการที่ปรึกษาในฐานะผู้แทนจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกับตัวแทนจากภูมิภาคอื่นๆ อีก 5 คนและผู้แทนจากเมืองโกเบอีก 3 คน รวมคณะกรรมการชุดนี้มีทั้งสิ้น 9 คน โดยศูนย์พัฒนาสุขภาพแห่งนี้กำลังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในเรื่องต่างๆ ซึ่งในที่ประชุมตนได้นำเสนอมาตรการการป้องกันเรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รวมถึงการค้นหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าซึ่งประมาณการว่าใน กทม.จะมีผู้ป่วยโรคนี้อยู่ประมาณ 3 แสนคน แต่มีเพียง 4.4% ที่เข้ารับการรักษาซึ่งถือว่าน้อยมากซึ่งโรคซึมเศร้านี้เป็นปัญหาที่สำคัญอันดับ 4 ของโลก ดังนั้น กทม.จะได้จัดทำโครงการแก้คนกทม.เป็นโรคซึมเศร้าซึ่งจะได้เห็นเป็นรูปธรรมในปีหน้า นอกจากนี้ ในปีหน้าทางองค์การอนามัยจะจัดกิจกรรม 1,000 เมือง 1,000 ชีวิตซึ่งศูนย์พัฒนาสุขภาพองค์การอนามัยโลกที่โกเบหวังว่า กทม.จะเป็นหนึ่งในเมืองสุขภาพดีพันเมือง ซึ่งพื้นที่เขตสาทรของเราก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ได้รับแจ้งว่าเป็นเขตที่ผู้คนอาศัยอยู่มีสุขภาพดี
พญ.มาลินี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการคัดกรองผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่ง กทม.ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงคัดกรองในแต่ละพื้นที่แล้ว นอกจากนี้จะได้หารือร่วมกับโรงพยาบาลในพื้นที่ กทม.รวม 104 แห่งในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อขอความสนับสนุนในการร่วมคัดกรองและตรวจรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า