สธ.สั่งการ สสจ.โรงพยาบาล และ อสม.ทั่วประเทศ เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ที่อาจหวนกลับมาระบาดในไทยในฤดูหนาว หลังพบสัตว์ปีกในฟาร์ม 9 แห่งติดเชื้อที่เวียดนาม แนะประชาชนหากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.หรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที ห้ามนำมามาชำแหละอย่างเด็ดขาด เพราะมีความเสี่ยงสูงจะติดเชื้อ
จากกรณีที่กรมสุขภาพสัตว์ประเทศเวียดนาม พบสัตว์ปีกในฟาร์ม 9 แห่งที่ จ.เดียนเบียน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ติดเชื้อไข้หวัดนก ระหว่างวันที่ 21-23 ตุลาคม 2552 เจ้าหน้าที่ได้กำจัดสัตว์ปีกไปกว่า 2,200 ตัว เพื่อควบคุมการระบาด หลังจากที่ไม่มีรายงานการระบาดของไวรัสดังกล่าวมานาน 6 เดือน
ในส่วนของประเทศไทย วันนี้ (3 พ.ย.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า แม้ว่าไทยจะไม่พบคนป่วยยืนยันติดเชื้อโรคไข้หวัดนกรายใหม่ติดต่อกันมานานกว่า 3 ปีก็ตาม แต่ยังมีรายงานสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติในบางจังหวัดของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง และขณะนี้สภาพอากาศของไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว เอื้อให้เชื้อไวรัสมีชีวิต และเจริญเติบโตได้ดีในธรรมชาติ มีความเสี่ยงเกิดโรคไข้หวัดนกระบาดได้ ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทั่วประเทศ และอาสาสมัครสาธารณสุขทุกจังหวัด เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกเข้มข้นตามมาตรการที่เคยปฏิบัติเดิม ทั้งในสัตว์และในคนอย่างต่อเนื่อง
หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ หรือพบผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัด และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกป่วยตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่บ้านที่เคยมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก หรือเคยตรวจพบสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนก ขอให้รับตัวเข้าดูแลรักษาในโรงพยาบาลทันที ซึ่งขณะนี้มียารักษา มีห้องแยกดูแลผู้ป่วยไว้พร้อมทั้งหมดแล้ว และให้ส่งหน่วยควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วลงควบคุมโรคร่วมกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อย่างรวดเร็วที่สุด ไม่ให้เชื้อแพร่กระจายในวงกว้าง
ในส่วนของประชาชนทั่วไป ขอย้ำว่า อย่าเล่นคลุกคลีกับสัตว์ปีก และล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ ภายหลังสัมผัสสิ่งของสาธารณะ หรือใช้วิธีการล้างแห้งโดยใช้เจลล้างมือฆ่าเชื้อโรคแทนก็ได้ วิธีนี้สามารถป้องกันโรคไข้หวัดหรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ได้ด้วย หากมีสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ ขอให้คิดถึงว่าสัตว์ปีกอาจติดเชื้อไข้หวัดนก และแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. หรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน เพื่อกำจัดและส่งตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ที่สำคัญอย่าสัมผัสสัตว์ปีกป่วยหรือซากสัตว์ปีกด้วยมือเปล่า และไม่นำซากสัตว์มาชำแหละอย่างเด็ดขาด ส่วนสัตว์ปีกในฝูงที่เหลืออยู่แม้จะยังไม่แสดงอาการป่วย ก็อย่านำมาเชือดกิน เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อจากสัตว์ดังกล่าวขณะเชือดหรือชำแหละได้ นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าว
สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดนกของไทยตั้งแต่พ.ศ.2546 - ตุลาคม 2552 ไทยมีผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนก 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย รายสุดท้ายพบใน พ.ศ.2549 สถานการณ์ทั่วโลก ตั้งแต่ พ.ศ.2546-2552 มีรายงานป่วยยืนยัน 442 ราย เสียชีวิต 262 ราย ใน 15 ประเทศ ในปี 2552 มีรายงานป่วย 47 ราย เสียชีวิต 12 ราย ใน 3 ประเทศ ได้แก่ อียิปต์ป่วย 36 ราย เสียชีวิต 4 ราย จีนป่วย 7 ราย เสียชีวิต 4 ราย และเวียดนามป่วย 4 รายเสียชีวิตทั้งหมด
จากกรณีที่กรมสุขภาพสัตว์ประเทศเวียดนาม พบสัตว์ปีกในฟาร์ม 9 แห่งที่ จ.เดียนเบียน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ติดเชื้อไข้หวัดนก ระหว่างวันที่ 21-23 ตุลาคม 2552 เจ้าหน้าที่ได้กำจัดสัตว์ปีกไปกว่า 2,200 ตัว เพื่อควบคุมการระบาด หลังจากที่ไม่มีรายงานการระบาดของไวรัสดังกล่าวมานาน 6 เดือน
ในส่วนของประเทศไทย วันนี้ (3 พ.ย.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า แม้ว่าไทยจะไม่พบคนป่วยยืนยันติดเชื้อโรคไข้หวัดนกรายใหม่ติดต่อกันมานานกว่า 3 ปีก็ตาม แต่ยังมีรายงานสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติในบางจังหวัดของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง และขณะนี้สภาพอากาศของไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว เอื้อให้เชื้อไวรัสมีชีวิต และเจริญเติบโตได้ดีในธรรมชาติ มีความเสี่ยงเกิดโรคไข้หวัดนกระบาดได้ ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทั่วประเทศ และอาสาสมัครสาธารณสุขทุกจังหวัด เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกเข้มข้นตามมาตรการที่เคยปฏิบัติเดิม ทั้งในสัตว์และในคนอย่างต่อเนื่อง
หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ หรือพบผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัด และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกป่วยตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่บ้านที่เคยมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก หรือเคยตรวจพบสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนก ขอให้รับตัวเข้าดูแลรักษาในโรงพยาบาลทันที ซึ่งขณะนี้มียารักษา มีห้องแยกดูแลผู้ป่วยไว้พร้อมทั้งหมดแล้ว และให้ส่งหน่วยควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วลงควบคุมโรคร่วมกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อย่างรวดเร็วที่สุด ไม่ให้เชื้อแพร่กระจายในวงกว้าง
ในส่วนของประชาชนทั่วไป ขอย้ำว่า อย่าเล่นคลุกคลีกับสัตว์ปีก และล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ ภายหลังสัมผัสสิ่งของสาธารณะ หรือใช้วิธีการล้างแห้งโดยใช้เจลล้างมือฆ่าเชื้อโรคแทนก็ได้ วิธีนี้สามารถป้องกันโรคไข้หวัดหรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ได้ด้วย หากมีสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ ขอให้คิดถึงว่าสัตว์ปีกอาจติดเชื้อไข้หวัดนก และแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. หรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน เพื่อกำจัดและส่งตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ที่สำคัญอย่าสัมผัสสัตว์ปีกป่วยหรือซากสัตว์ปีกด้วยมือเปล่า และไม่นำซากสัตว์มาชำแหละอย่างเด็ดขาด ส่วนสัตว์ปีกในฝูงที่เหลืออยู่แม้จะยังไม่แสดงอาการป่วย ก็อย่านำมาเชือดกิน เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อจากสัตว์ดังกล่าวขณะเชือดหรือชำแหละได้ นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าว
สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดนกของไทยตั้งแต่พ.ศ.2546 - ตุลาคม 2552 ไทยมีผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนก 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย รายสุดท้ายพบใน พ.ศ.2549 สถานการณ์ทั่วโลก ตั้งแต่ พ.ศ.2546-2552 มีรายงานป่วยยืนยัน 442 ราย เสียชีวิต 262 ราย ใน 15 ประเทศ ในปี 2552 มีรายงานป่วย 47 ราย เสียชีวิต 12 ราย ใน 3 ประเทศ ได้แก่ อียิปต์ป่วย 36 ราย เสียชีวิต 4 ราย จีนป่วย 7 ราย เสียชีวิต 4 ราย และเวียดนามป่วย 4 รายเสียชีวิตทั้งหมด