สธ.เตือนประชาชนทุกพื้นที่อย่าประมาท “โรคไข้หวัดนก” เหตุสถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ มีสัญญาณความเสี่ยงปรากฏหลายอย่าง ขอช่วยภาครัฐเฝ้าระวังเป็นพิเศษ 3 เดือน กำชับ อสม.เคาะประตูสอบถามการป่วยในสัตว์ปีกและคนทุกวัน ส่วนอาการผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใน อ.ชุมแสง และอ.สากเหล็ก รวม 31 ราย ทุกคนไม่มีใครป่วย
วันนี้ (3 ก.พ.)นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะมิสเตอร์ไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกในไทยในปีนี้ยังไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากมีสัญญานความเสี่ยงปรากฎหลายอย่าง เช่น การพบสัตว์ปีกและพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนกในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าทุกปีทั่วทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลให้นกธรรมชาติอพยพมาไทยมากขึ้น
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ได้กำชับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสังกัดทุกจังหวัด เฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วง 3 เดือนนี้ และให้ประสานการทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเฝ้าระวังป้องกันร่วมกันอย่างเต็มที่ทั้งในสัตว์และในคน
โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ขอความร่วมมือจาก อสม.ทั่วประเทศกว่า 8 แสนคน เดินเคาะประตูบ้านสอบถามอาการป่วยของสัตว์ปีก และคนทุกหลังคาเรือนทุกวัน หากพบผู้ป่วยติดเชื้อจะให้การรักษาทันที เพื่อไม่ให้เสียชีวิต แต่การที่จะบรรลุผลสำเร็จต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชนทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ที่มีสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนกหรือไม่ก็ตาม หากพบสัตว์ปีกป่วยตายให้แจ้ง อสม. ผู้นำชุมชนทันที ห้ามสัมผัสซากสัตว์ปีกด้วยมือเปล่าอย่างเด็ดขาด รวมทั้งห้ามนำสัตว์ปีกที่กำลังป่วย มีอาการเซื่องซึม มาเชือดกินเพราะความเสียดายอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะในเทศกาลตรุษจีนนี้ เพราะไข้หวัดนกไม่ใช่เรื่องไกลตัวของคนไทย รวมทั้งทั่วโลกอีกต่อไป
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้จากการสอบถามชาวบ้านส่วนใหญ่มีความรู้โรคไข้หวัดนกและการป้องกันการติดเชื้ออย่างดี แต่ยังมีคนส่วนน้อยที่ยังไม่เชื่อและยังไม่ใสใจเท่าที่ควร โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีสัตว์ปีกตาย เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว จึงได้กำชับให้ทุกจังหวัดเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ให้ถึงชาวบ้าน โดยใช้ช่องทางสื่อท้องถิ่น เช่น วิทยุชุมชนแล้ว โดยหากประชาชนทุกคนมีความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนกอย่างดีแล้วจะสร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในคนได้
สำหรับความคืบหน้าของการเฝ้าระวังผู้สัมผัสสัตว์ปีกในจุดที่พบการติดเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกจำนวน 31 คนที่ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ และที่ อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร ยังไม่มีใครเจ็บป่วยแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่จะติดตามจนครบ 14 วัน ส่วนสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคนทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ.2546-2551 องค์การอนามัยโลกมีรายงานยืนยันใน 14 ประเทศ ป่วยทั้งหมด 357 ราย เสียชีวิต 225 ราย เฉพาะในปี 2551 มีรายงานยืนยันป่วย 8 ราย เสียชีวิต 7 ราย ใน 2 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ป่วยและเสียชีวิต 7 ราย เวียดนามป่วยและเสียชีวิต 1 ราย ส่วนไทยปลอดการติดเชื้อไข้หวัดในคนมา 17 เดือนเศษ มาตรการที่เข้มแข็งของไทยเป็นที่ยอมรับทั่วโลก
วันนี้ (3 ก.พ.)นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะมิสเตอร์ไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกในไทยในปีนี้ยังไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากมีสัญญานความเสี่ยงปรากฎหลายอย่าง เช่น การพบสัตว์ปีกและพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนกในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าทุกปีทั่วทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลให้นกธรรมชาติอพยพมาไทยมากขึ้น
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ได้กำชับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสังกัดทุกจังหวัด เฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วง 3 เดือนนี้ และให้ประสานการทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเฝ้าระวังป้องกันร่วมกันอย่างเต็มที่ทั้งในสัตว์และในคน
โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ขอความร่วมมือจาก อสม.ทั่วประเทศกว่า 8 แสนคน เดินเคาะประตูบ้านสอบถามอาการป่วยของสัตว์ปีก และคนทุกหลังคาเรือนทุกวัน หากพบผู้ป่วยติดเชื้อจะให้การรักษาทันที เพื่อไม่ให้เสียชีวิต แต่การที่จะบรรลุผลสำเร็จต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชนทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ที่มีสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนกหรือไม่ก็ตาม หากพบสัตว์ปีกป่วยตายให้แจ้ง อสม. ผู้นำชุมชนทันที ห้ามสัมผัสซากสัตว์ปีกด้วยมือเปล่าอย่างเด็ดขาด รวมทั้งห้ามนำสัตว์ปีกที่กำลังป่วย มีอาการเซื่องซึม มาเชือดกินเพราะความเสียดายอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะในเทศกาลตรุษจีนนี้ เพราะไข้หวัดนกไม่ใช่เรื่องไกลตัวของคนไทย รวมทั้งทั่วโลกอีกต่อไป
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้จากการสอบถามชาวบ้านส่วนใหญ่มีความรู้โรคไข้หวัดนกและการป้องกันการติดเชื้ออย่างดี แต่ยังมีคนส่วนน้อยที่ยังไม่เชื่อและยังไม่ใสใจเท่าที่ควร โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีสัตว์ปีกตาย เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว จึงได้กำชับให้ทุกจังหวัดเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ให้ถึงชาวบ้าน โดยใช้ช่องทางสื่อท้องถิ่น เช่น วิทยุชุมชนแล้ว โดยหากประชาชนทุกคนมีความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนกอย่างดีแล้วจะสร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในคนได้
สำหรับความคืบหน้าของการเฝ้าระวังผู้สัมผัสสัตว์ปีกในจุดที่พบการติดเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกจำนวน 31 คนที่ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ และที่ อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร ยังไม่มีใครเจ็บป่วยแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่จะติดตามจนครบ 14 วัน ส่วนสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคนทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ.2546-2551 องค์การอนามัยโลกมีรายงานยืนยันใน 14 ประเทศ ป่วยทั้งหมด 357 ราย เสียชีวิต 225 ราย เฉพาะในปี 2551 มีรายงานยืนยันป่วย 8 ราย เสียชีวิต 7 ราย ใน 2 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ป่วยและเสียชีวิต 7 ราย เวียดนามป่วยและเสียชีวิต 1 ราย ส่วนไทยปลอดการติดเชื้อไข้หวัดในคนมา 17 เดือนเศษ มาตรการที่เข้มแข็งของไทยเป็นที่ยอมรับทั่วโลก