xs
xsm
sm
md
lg

“จุรินทร์” แทงกั๊กตั้ง “สถาบันคุรุศึกษาฯ” แต่บอกมีคำตอบในใจแล้ว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.ศึกษาธิการ
“จุรินทร์” กำชับครูเปลี่ยนสอนคิดวิเคราะห์ เรียนนอกห้องเรียนแบบสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น ขอให้เป็นหูเป็นตาตรวจสอบการใช้งบSP2 ส่วน “ตั้ง-ไม่ตั้งสถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ” ยังไม่ได้ตัดสินใจ แต่มีคำตอบในใจอยู่แล้ว พร้อมสั่ง สกศ.ถกเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้ง


รัฐสภา วันนี้ (26 ต.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า วันนี้ ตัวแทนเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย (ค.อ.ท.) นำโดย นายสนอง ทาหอม ประธานสหภาพครูแห่งชาติ มาพบบเพื่อมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยตั้งใจว่าประมาณ 3-4 เดือนขอให้มาพบปะแลกเปลี่ยนกันครั้งหนึ่ง เพราะการบริหารกระทรวงศึกษาธิการยุคนี้ ตนอยากให้ทำงานร่วมกัน ทั้งในส่วนของระดับนโยบาย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่

นายจุรินทร์ฝากไปว่า นับจากนี้ไปเราจะเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนครั้งใหญ่ เราจะสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์มากขึ้น ฝากเพื่อนครูที่จะต้องเตรียมการในเรื่องนี้ ถือเป็นงานใหญ่ รวมถึงจะให้เด็กเรียนนอกห้องเรียนอยากสร้างสรรค์มากขึ้น รวมทั้งโครงการ SP2 โรงเรียนจะเข้ามามีบทบาทโดยตรง จึงกำชับไปว่าช่วยดูให้เกิดความโปร่งใส และเป็นไปตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ยังได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องสถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ นายจุรินทร์บอกให้เพื่อนครูทราบความคืบหน้าว่า ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนกระบวนการ จะนำผลจากการประชาพิจารณ์มานำเข้าสู่ที่ประชมสภาการศึกษา (สกศ.) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อประกอบการตัดสินใจของ รมว.ศธ.ต่อไป

“ทุกฝ่ายมีสิทธิแสดงความเห็น เรื่องนี้ตนพูดชัดเจน และสภาการศึกษาคงรวบรวมความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และจะคุยกันที่สภาการศึกษาอีกครั้ง” นายจุรินทร์กล่าว และว่าการที่ให้ สกศ.ไประดมความเห็นเพิ่มเติมก็แสดงว่า ยังไม่ได้ตัดสินใจ หลักใหญ่อะไรดีที่สุดสำหรับวงการศึกษา ตนก็จะตัดสินใจไปทางนั้น และยังไม่ได้มีจุดยึดตายตัวว่าต้องตั้งหรือไม่ตั้ง

ถามว่า มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าการตั้งสถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติเป็นการซ้ำซ้อนและสิ้นเปลื้องงบประมาณ นายจุรินทร์กล่าวว่า หากซ้ำซ้อนจนกระทั่งสถาบันไม่ได้มีบทบาทหรือความจำเป็นที่จะทำ ก็ไม่จำเป็นต้องตั้ง ตนคิดว่ามีคำตอบในตัวเองอยู่แล้ว ระหว่างนี้ฟังความเห็นจากทุกฝ่ายอยู่ว่าที่สุดแล้ว มีอะไรซ้ำซ้อนหรือไม่อย่างไร มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ฝ่ายเห็นด้วยเห็นว่าอย่างไร ฝ่ายไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยเพราะอะไร เพื่อนำข้อมูลทั้ง 2 ฝ่ายมาประกอบกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น