“ชัยวุฒิ” เล็งใช้ระบบUCAS ของอังกฤษ อุดช่องโหว่รับตรงนักษาึกษาเข้ามหาวิทยาลัย ดึง สกอ.เป็นศูนย์กลางจัดส่งข้อมูลให้มหาวิทยาลัยคัดเลือกนักศึกษา
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนหารือกับ ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เกี่ยวกับระบบการรับตรงของมหาวิทยาลัย ตนมีแนวคิดว่าจะนำระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา UCAS ของอังกฤษ เพื่อแก้ปัญหาการรับตรงของสถาบันอุดมศึกษาไทย
“UCAS จะเป็นศูนย์กลางที่รวบรวมข้อมูลของนักเรียนที่ต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลของนักเรียนไปยังมหาวิทยาลัยที่เลือกไว้ เช่น ผลการเรียน พอถึงเวลามหาวิทยาลัยจะทำการคัดเลือก อาจจัดสอบเพิ่มเติมเล็กน้อย และเรียกสอบสัมภาษณ์ เป็นอันเสร็จสิ้นสอบคัดเลือก” นายชัยวุฒิ กล่าว
นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า น่าจะทำลักษณะคล้าย UCAS คือ เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน มีคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) GAT/PAT เป็นต้น แนวคิดนี้น่าจะลดปัญหาการเกิดช่องโหว่เรื่องการรับตรง และยังอำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียนทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงตุ๊กตาเท่านั้นไม่ใช้สูตรสำเร็จที่เหมาะสม เพราะยังต้องฟังเสียงจากทางมหาวิทยาลัยด้วย
นายชัยวุฒิ กล่าวว่า การสำรวจสถิติการรับตรงพบว่าในปีการศึกษา 2553 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศหันไปรับตรงเพิ่มขึ้นถึง 70% เฉพาะกลุ่มที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) สูงถึง 60% โดยเฉพาะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งปี 2553 หนีไปรับตรงสูงที่สุด โดยอ้างว่าเพื่อให้สามารถคัดเด็กได้ตรงตามต้องการ
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนหารือกับ ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เกี่ยวกับระบบการรับตรงของมหาวิทยาลัย ตนมีแนวคิดว่าจะนำระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา UCAS ของอังกฤษ เพื่อแก้ปัญหาการรับตรงของสถาบันอุดมศึกษาไทย
“UCAS จะเป็นศูนย์กลางที่รวบรวมข้อมูลของนักเรียนที่ต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลของนักเรียนไปยังมหาวิทยาลัยที่เลือกไว้ เช่น ผลการเรียน พอถึงเวลามหาวิทยาลัยจะทำการคัดเลือก อาจจัดสอบเพิ่มเติมเล็กน้อย และเรียกสอบสัมภาษณ์ เป็นอันเสร็จสิ้นสอบคัดเลือก” นายชัยวุฒิ กล่าว
นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า น่าจะทำลักษณะคล้าย UCAS คือ เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน มีคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) GAT/PAT เป็นต้น แนวคิดนี้น่าจะลดปัญหาการเกิดช่องโหว่เรื่องการรับตรง และยังอำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียนทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงตุ๊กตาเท่านั้นไม่ใช้สูตรสำเร็จที่เหมาะสม เพราะยังต้องฟังเสียงจากทางมหาวิทยาลัยด้วย
นายชัยวุฒิ กล่าวว่า การสำรวจสถิติการรับตรงพบว่าในปีการศึกษา 2553 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศหันไปรับตรงเพิ่มขึ้นถึง 70% เฉพาะกลุ่มที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) สูงถึง 60% โดยเฉพาะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งปี 2553 หนีไปรับตรงสูงที่สุด โดยอ้างว่าเพื่อให้สามารถคัดเด็กได้ตรงตามต้องการ