กทม.เผยจุดเสี่ยงอันตรายใน กทม.มี 883 จุด ล้อมคอกเตรียมตั้งตู้เขียวให้เทศกิจออกลาดตระเวน พร้อมใช้กฎหมายรักษาความสะอาดบังคับเจ้าของจัดระเบียบที่ดิน-ตึกร้างให้เรียบร้อย หากเพิกเฉย กทม.จะใช้อำนาจจัดการเองแล้วเรียกเก็บค่าใช้จ่าย
วันที่ 4 ตุลาคม นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาพื้นที่จุดเสี่ยง จุดล่อแหลมต่อการก่ออาชญากรรมใน กทม.ว่า วันที่ 6 ตุลาคมนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.จะประชุมผู้บริหาร กทม.เพื่อหามาตรการและวางแนวทางสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้คน กทม. โดยที่ดินรกร้างว่างเปล่าเตรียมจะนำ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดมาแก้ปัญหาเจ้าของที่ดินปล่อยทิ้งร้างไว้ ซึ่งหลักการจะขอความร่วมมือเจ้าของที่ดินให้จัดการล้อมรั้วให้มิดชิดถ้าเป็นรั้วทึบ หรือรั้วลวดหนามให้มองเห็นได้ ถ้าเจ้าของที่ดินยังเพิกเฉย กทม.จะมีโทษปรับ 2,000 บาท แล้วใช้งบประมาณของ กทม.เข้าไปดำเนินการเอง จึงค่อยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งในที่ประชุมวันอังคารจะออกเป็นระเบียบให้อำนาจ กทม.ในส่วนนี้ สำหรับตึก อาคาร ที่ปล่อยไว้รกร้าง มีกฎหมายควบคุมอาคารของสำนักการโยธา ดำเนินการได้อยู่แล้ว
นายธีระชนกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้เตรียมติดตั้งตู้เขียวในจุดเสี่ยงภัยทั้งหมด 883 จุด จากการที่สำนักงานเขตสำรวจโดยดูจากสถิติการก่ออาชญากรรม และส่วนมากเป็นที่รกร้าง อาคารร้าง ตรอกซอกซอยที่เปลี่ยว ตู้เขียวนี้จะได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เทศกิจออกลาดตระเวน แต่จากการหารือกันแล้วคิดว่าจะเพิ่มการติดตั้งตู้เขียวเป็น 2,000 จุด อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้คงบรรเทาปัญหาได้ระดับหนึ่งในการตรวจการณ์ แต่ประชาชนต้องมีส่วนช่วยสอดส่องสิ่งผิดปกติ ต้องเข้าไปช่วย และเกิดสังคมเอื้ออาทรให้มากขึ้น
“ผมจะสั่งการให้แต่ละเขตไปสัมมนาระดมความเห็นและดึงคนในชุมชนเข้ามาร่วมเป็นอาสา ทั้งวินมอเตอร์ไซค์ หรือการร้องทุกข์ของประชาชนไปที่หมายเลข 1555 เพื่อที่จะส่งต่อปัญหาไปให้สำนักที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จะเร่งเรื่องการติดตั้งกล้องซีซีทีวี 20,000 จุด ให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ 3,000 จุด และไฟแสงจันทร์ส่องสว่าง 50,000 ดวง ก็จะขอประสานกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อคุยว่าไฟในบางจุดหลอดไฟขาดอยู่ไม่ติด ถ้า กฟน.ไม่เข้าไปดำเนินการ กทม.จะให้หน่วยเบสท์ไปเปลี่ยนหลอดทันทีได้หรือไม่” รองผู้ว่าฯกทม.กล่าว
วันที่ 4 ตุลาคม นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาพื้นที่จุดเสี่ยง จุดล่อแหลมต่อการก่ออาชญากรรมใน กทม.ว่า วันที่ 6 ตุลาคมนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.จะประชุมผู้บริหาร กทม.เพื่อหามาตรการและวางแนวทางสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้คน กทม. โดยที่ดินรกร้างว่างเปล่าเตรียมจะนำ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดมาแก้ปัญหาเจ้าของที่ดินปล่อยทิ้งร้างไว้ ซึ่งหลักการจะขอความร่วมมือเจ้าของที่ดินให้จัดการล้อมรั้วให้มิดชิดถ้าเป็นรั้วทึบ หรือรั้วลวดหนามให้มองเห็นได้ ถ้าเจ้าของที่ดินยังเพิกเฉย กทม.จะมีโทษปรับ 2,000 บาท แล้วใช้งบประมาณของ กทม.เข้าไปดำเนินการเอง จึงค่อยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งในที่ประชุมวันอังคารจะออกเป็นระเบียบให้อำนาจ กทม.ในส่วนนี้ สำหรับตึก อาคาร ที่ปล่อยไว้รกร้าง มีกฎหมายควบคุมอาคารของสำนักการโยธา ดำเนินการได้อยู่แล้ว
นายธีระชนกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้เตรียมติดตั้งตู้เขียวในจุดเสี่ยงภัยทั้งหมด 883 จุด จากการที่สำนักงานเขตสำรวจโดยดูจากสถิติการก่ออาชญากรรม และส่วนมากเป็นที่รกร้าง อาคารร้าง ตรอกซอกซอยที่เปลี่ยว ตู้เขียวนี้จะได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เทศกิจออกลาดตระเวน แต่จากการหารือกันแล้วคิดว่าจะเพิ่มการติดตั้งตู้เขียวเป็น 2,000 จุด อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้คงบรรเทาปัญหาได้ระดับหนึ่งในการตรวจการณ์ แต่ประชาชนต้องมีส่วนช่วยสอดส่องสิ่งผิดปกติ ต้องเข้าไปช่วย และเกิดสังคมเอื้ออาทรให้มากขึ้น
“ผมจะสั่งการให้แต่ละเขตไปสัมมนาระดมความเห็นและดึงคนในชุมชนเข้ามาร่วมเป็นอาสา ทั้งวินมอเตอร์ไซค์ หรือการร้องทุกข์ของประชาชนไปที่หมายเลข 1555 เพื่อที่จะส่งต่อปัญหาไปให้สำนักที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จะเร่งเรื่องการติดตั้งกล้องซีซีทีวี 20,000 จุด ให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ 3,000 จุด และไฟแสงจันทร์ส่องสว่าง 50,000 ดวง ก็จะขอประสานกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อคุยว่าไฟในบางจุดหลอดไฟขาดอยู่ไม่ติด ถ้า กฟน.ไม่เข้าไปดำเนินการ กทม.จะให้หน่วยเบสท์ไปเปลี่ยนหลอดทันทีได้หรือไม่” รองผู้ว่าฯกทม.กล่าว