วธ.ร่วมโครงการส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ดึงหมอภาษา สบศ.สาธิตและอบรมมารยาทผ่านโครงการศิลปวัฒนธรรมสัญจร หวังแก้ปัญหาเด็กใช้ภาษาไทยไม่ถูก พูดไม่ชัด จับใจความไม่ได้ และมีความสุขในชีวิตมากขึ้น
เมื่อวันที่ 10 ก.ย. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวภายหลังเปิดโครงการศิลปวัฒนธรรมสัญจร ครั้งที่ 2 ที่ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี ซึ่งมีอาจารย์ นักเรียนจากโรงเรียนในเขตพื้นที่ จ.นนทบุรีกว่า 500 คนเข้าร่วมเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า จากการศึกษาประกอบผลการวิจัยเชิงสำรวจของหน่วยงาน สถาบันการศึกษาหลายสถาบัน พบเด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม 3 ด้านใหญ่ๆ คือ 1.ปัญหาการใช้ภาษาไทยในการพูดและอ่าน ผลการวิจัยของคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกี่ยวกับนโยบายเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยโดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษาและบุคคลอาชีพอื่นๆ 1,583 คน พบว่า ระดับอุดมศึกษามีการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาไทยน้อยที่สุด โดยปัญหาที่พบเป็นเรื่องของการพูดมากที่สุด คือ พูดไม่ชัด ใช้คำไม่ถูกต้อง และพูดวกวน ส่วนการเขียน ได้แก่ ใช้คำผิดความหมายและการอ่าน ได้แก่ ออกเสียงไม่ถูก จับใจความไม่ได้
“วธ.ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเห็นควรสร้างค่านิยมและจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนให้เห็นความสำคัญของภาษาไทย ส่งเสริมให้เด็กอ่าน พูด เขียนได้อย่างถูกต้องสนองนโยบายรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีประกาศส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ จึงมีการรณรงค์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยร่วมกับหน่วยงานอื่น อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ ราชบัญฑิตสถาน สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ และสมาคมครูสอนภาษาไทย เช่น พิพิธทัศนาผสานภาษาและวรรณคดี โครงการเพชรในเพลง โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ใช้ภาษาไทยและภาษาไทยดีเด่น เป็นต้น”นายวีระ กล่าว
ปลัด วธ.กล่าวต่อไปว่า 2.ปัญหาคุณธรรม จริยธรรมลดน้อยลง และ 3.ปัญหาพฤติกรรมไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการใช้ความรุนแรง จากการเลียนแบบสื่อ ดังนั้น วธ.จึงนำมิติวัฒนธรรมร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยจัดโครงการศิลปวัฒนธรรมสัญจร ขึ้นเพื่อให้เยาวชนและประชาชนตระหนักถึงคุณค่าวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยน ผ่านจะกรรมการบรรยายธรรมะจากกรมการศาสนา กิจกรรมการแสดงพื้นบ้านจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การแสดงร่วมสมัย การวาดภาพเหมือน ตลาดนัดศิลปะจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย การสาธิตและฝึกอบรมมารยาทไทย กิจกรรมหมอภาษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) เป็นต้น ซึ่งตนคาดว่าเด็กและเยาวชนที่ผ่านโครงการนี้แล้ว จะได้รับสุนทรีภาพทางศิลปะและใช้กล่อมจิตใจให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ไม่มีความก้าวร้าวและดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขถึง 70% ขึ้นไป
เมื่อวันที่ 10 ก.ย. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวภายหลังเปิดโครงการศิลปวัฒนธรรมสัญจร ครั้งที่ 2 ที่ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี ซึ่งมีอาจารย์ นักเรียนจากโรงเรียนในเขตพื้นที่ จ.นนทบุรีกว่า 500 คนเข้าร่วมเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า จากการศึกษาประกอบผลการวิจัยเชิงสำรวจของหน่วยงาน สถาบันการศึกษาหลายสถาบัน พบเด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม 3 ด้านใหญ่ๆ คือ 1.ปัญหาการใช้ภาษาไทยในการพูดและอ่าน ผลการวิจัยของคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกี่ยวกับนโยบายเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยโดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษาและบุคคลอาชีพอื่นๆ 1,583 คน พบว่า ระดับอุดมศึกษามีการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาไทยน้อยที่สุด โดยปัญหาที่พบเป็นเรื่องของการพูดมากที่สุด คือ พูดไม่ชัด ใช้คำไม่ถูกต้อง และพูดวกวน ส่วนการเขียน ได้แก่ ใช้คำผิดความหมายและการอ่าน ได้แก่ ออกเสียงไม่ถูก จับใจความไม่ได้
“วธ.ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเห็นควรสร้างค่านิยมและจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนให้เห็นความสำคัญของภาษาไทย ส่งเสริมให้เด็กอ่าน พูด เขียนได้อย่างถูกต้องสนองนโยบายรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีประกาศส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ จึงมีการรณรงค์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยร่วมกับหน่วยงานอื่น อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ ราชบัญฑิตสถาน สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ และสมาคมครูสอนภาษาไทย เช่น พิพิธทัศนาผสานภาษาและวรรณคดี โครงการเพชรในเพลง โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ใช้ภาษาไทยและภาษาไทยดีเด่น เป็นต้น”นายวีระ กล่าว
ปลัด วธ.กล่าวต่อไปว่า 2.ปัญหาคุณธรรม จริยธรรมลดน้อยลง และ 3.ปัญหาพฤติกรรมไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการใช้ความรุนแรง จากการเลียนแบบสื่อ ดังนั้น วธ.จึงนำมิติวัฒนธรรมร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยจัดโครงการศิลปวัฒนธรรมสัญจร ขึ้นเพื่อให้เยาวชนและประชาชนตระหนักถึงคุณค่าวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยน ผ่านจะกรรมการบรรยายธรรมะจากกรมการศาสนา กิจกรรมการแสดงพื้นบ้านจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การแสดงร่วมสมัย การวาดภาพเหมือน ตลาดนัดศิลปะจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย การสาธิตและฝึกอบรมมารยาทไทย กิจกรรมหมอภาษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) เป็นต้น ซึ่งตนคาดว่าเด็กและเยาวชนที่ผ่านโครงการนี้แล้ว จะได้รับสุนทรีภาพทางศิลปะและใช้กล่อมจิตใจให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ไม่มีความก้าวร้าวและดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขถึง 70% ขึ้นไป