สธ.แจงงบเมกะโปรเจกต์ ยันมีความจำเป็นต้องใช้งบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะอาคารโรงพยาบาลทุกแห่ง หลังขาดการพัฒนานานกว่า 10 ปี ส่วนการซื้อเครื่องช่วยหายใจ 244 เครื่อง เป็นการจัดซื้อตามความต้องการใช้งานของโรงพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศตามปกติ
ตามที่ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย ออกมาระบุวงการแพทย์มีความเป็นห่วงงบประมาณโครงการเมกะโปรเจกต์ 30,000 ล้านบาท ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่าอาจจะมีการนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนนั้น
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กว่า 10 ปีที่ผ่านมา สธ. ได้รับงบด้านการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปีละไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันงบ ปกติเหลือปีละไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการจัดบริการประชาชนของแต่ละโรงพยาบาลต้องชะลอตัวลง หรือบางแห่งต้องหยุดชะงักมาเป็นเวลานาน ทำให้มีปัญหาเรื่องความแออัดในการให้บริการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้รับบริการโดยตรง
ดังนั้น เมื่อรัฐบาลได้จัดงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สธ. จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานบริการทุกระดับ ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ และศูนย์การรักษาเฉพาะทาง โดยเป็นโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2-SP2) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงบในการก่อสร้างอาคารบริการของโรงพยาบาลต่างๆ ทั้ง 76 จังหวัด เพื่อปรับปรุงและขยายพื้นที่บริการ รองรับความต้องการของประชาชนที่เพิ่มขึ้น และแก้ปัญหาความแออัดในการให้บริการที่สะสมต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน
สำหรับการจัดหาครุภัณฑ์เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งอยู่ในโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 เช่นกันนั้น สำนักงานปลัด สธ. ได้รวบรวมข้อมูลความต้องการจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งในปี 2553-2555 พบว่ามีความต้องการเพียง 244 เครื่อง ซึ่งเป็นความต้องการตามปกติ วงเงินเพียง 300 ล้านบาทเท่านั้น แต่ในปี 2553 ยังคงมีแนวโน้มการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งที่ผ่านมาผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่อาการหนักและเสียชีวิต เกิดจากภาวะแทรกซ้อนที่ปอด ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว สธ. จึงได้ของบกลางจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจเพิ่มอีก 175 เครื่อง เพื่อให้เพียงพอรองรับการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการหนัก
ตามที่ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย ออกมาระบุวงการแพทย์มีความเป็นห่วงงบประมาณโครงการเมกะโปรเจกต์ 30,000 ล้านบาท ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่าอาจจะมีการนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนนั้น
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กว่า 10 ปีที่ผ่านมา สธ. ได้รับงบด้านการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปีละไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันงบ ปกติเหลือปีละไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการจัดบริการประชาชนของแต่ละโรงพยาบาลต้องชะลอตัวลง หรือบางแห่งต้องหยุดชะงักมาเป็นเวลานาน ทำให้มีปัญหาเรื่องความแออัดในการให้บริการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้รับบริการโดยตรง
ดังนั้น เมื่อรัฐบาลได้จัดงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สธ. จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานบริการทุกระดับ ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ และศูนย์การรักษาเฉพาะทาง โดยเป็นโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2-SP2) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงบในการก่อสร้างอาคารบริการของโรงพยาบาลต่างๆ ทั้ง 76 จังหวัด เพื่อปรับปรุงและขยายพื้นที่บริการ รองรับความต้องการของประชาชนที่เพิ่มขึ้น และแก้ปัญหาความแออัดในการให้บริการที่สะสมต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน
สำหรับการจัดหาครุภัณฑ์เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งอยู่ในโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 เช่นกันนั้น สำนักงานปลัด สธ. ได้รวบรวมข้อมูลความต้องการจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งในปี 2553-2555 พบว่ามีความต้องการเพียง 244 เครื่อง ซึ่งเป็นความต้องการตามปกติ วงเงินเพียง 300 ล้านบาทเท่านั้น แต่ในปี 2553 ยังคงมีแนวโน้มการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งที่ผ่านมาผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่อาการหนักและเสียชีวิต เกิดจากภาวะแทรกซ้อนที่ปอด ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว สธ. จึงได้ของบกลางจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจเพิ่มอีก 175 เครื่อง เพื่อให้เพียงพอรองรับการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการหนัก