สสช.เผยปี 51 คนไทยอ่านหนังสือลดลงเกือบทุกวัย เพราะใช้เวลาดูโทรทัศน์และไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ยกเว้นวัยสูงอายุกลุ่มเดียวที่มีอัตราการอ่านเพิ่มขึ้น อาจเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่รัดตัว จี้ภาครัฐกำหนดมาตรการส่งเสริมการอ่านหนังสือให้มากขึ้น
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เผยผลสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร ปี 2551 โดยสำรวจเกี่ยวกับการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน นอกเวลาทำงาน ซึ่งรวมการอ่านหนังสือทุกประเภทและการอ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ยกเว้น เอสเอ็มเอส หรืออีเมล พบว่า เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่อ่านเองหรือผู้ใหญ่อ่านให้ฟังมีร้อยละ 36 เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีอัตราการอ่านใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 36.7 และ 25.2 ตามลำดับ เด็กเล็กในกรุงเทพฯ มีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด ร้อยละ 45.3 ขณะที่เด็กเล็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการอ่านต่ำสุด ร้อยละ 31.3
ส่วนผู้ที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป พบว่าอัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน คือร้อยละ 66.3 ผู้ชายมีอัตราการอ่านสูงกว่าผู้หญิง และกลุ่มวัยเด็กมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าวัยอื่น รองลงมาคือ กลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มวัยสูงอายุ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบอัตราการอ่านหนังสือของคนไทยที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป ซึ่งสำรวจไว้ในปี 2548 พบว่าอัตราการอ่านลดลง จากร้อยละ 69.1 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 66.3 ในปี 2551 ลดลงเกือบทุกวัย คือ วัยเด็ก วัยเยาวชน วัยทำงาน เพราะใช้เวลาดูโทรทัศน์และไม่มีเวลาอ่านหนังสือ อาจเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่รัดตัว ส่วนวัยสูงอายุเป็นกลุ่มเดียวที่มีอัตราการอ่านเพิ่มขึ้น
ประเภทหนังสือที่คนไทยอ่านนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานมากสุด คือหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 71 รองลงมาคือ นวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น และนิตยสาร ร้อยละ 38.8 และ 35.4 ตามลำดับ ส่วนเนื้อหาสาระที่ชอบอ่านมากที่สุดคือ ข่าว รองลงมา คือ บันเทิง สารคดี/ความรู้ทั่วไป และความรู้วิชาการ ร้อยละ 50.9 39.1 31.9 และ 24.5 ตามลำดับ ในการสำรวจครั้งนี้ ประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะในการณรงค์ให้กับคนรักการอ่านหนังสือในหลายประเด็น ที่น่าสนใจ เช่น หนังสือควรมีราคาถูกลง และมีเนื้อหาสาระน่าสนใจ รวมทั้งควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจพบว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลง ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องควรเห็นเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนที่จะกำหนดแผนและมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการอ่านของประชากรให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพประชากรของประเทศให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เผยผลสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร ปี 2551 โดยสำรวจเกี่ยวกับการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน นอกเวลาทำงาน ซึ่งรวมการอ่านหนังสือทุกประเภทและการอ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ยกเว้น เอสเอ็มเอส หรืออีเมล พบว่า เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่อ่านเองหรือผู้ใหญ่อ่านให้ฟังมีร้อยละ 36 เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีอัตราการอ่านใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 36.7 และ 25.2 ตามลำดับ เด็กเล็กในกรุงเทพฯ มีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด ร้อยละ 45.3 ขณะที่เด็กเล็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการอ่านต่ำสุด ร้อยละ 31.3
ส่วนผู้ที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป พบว่าอัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน คือร้อยละ 66.3 ผู้ชายมีอัตราการอ่านสูงกว่าผู้หญิง และกลุ่มวัยเด็กมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าวัยอื่น รองลงมาคือ กลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มวัยสูงอายุ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบอัตราการอ่านหนังสือของคนไทยที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป ซึ่งสำรวจไว้ในปี 2548 พบว่าอัตราการอ่านลดลง จากร้อยละ 69.1 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 66.3 ในปี 2551 ลดลงเกือบทุกวัย คือ วัยเด็ก วัยเยาวชน วัยทำงาน เพราะใช้เวลาดูโทรทัศน์และไม่มีเวลาอ่านหนังสือ อาจเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่รัดตัว ส่วนวัยสูงอายุเป็นกลุ่มเดียวที่มีอัตราการอ่านเพิ่มขึ้น
ประเภทหนังสือที่คนไทยอ่านนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานมากสุด คือหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 71 รองลงมาคือ นวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น และนิตยสาร ร้อยละ 38.8 และ 35.4 ตามลำดับ ส่วนเนื้อหาสาระที่ชอบอ่านมากที่สุดคือ ข่าว รองลงมา คือ บันเทิง สารคดี/ความรู้ทั่วไป และความรู้วิชาการ ร้อยละ 50.9 39.1 31.9 และ 24.5 ตามลำดับ ในการสำรวจครั้งนี้ ประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะในการณรงค์ให้กับคนรักการอ่านหนังสือในหลายประเด็น ที่น่าสนใจ เช่น หนังสือควรมีราคาถูกลง และมีเนื้อหาสาระน่าสนใจ รวมทั้งควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจพบว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลง ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องควรเห็นเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนที่จะกำหนดแผนและมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการอ่านของประชากรให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพประชากรของประเทศให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น