ปลัด สธ.เปิดกิจกรรม “รณรงค์งดดื่ม งดเมา งดเหล้า เข้าพรรษา” ชวนคนไทยใช้วันเข้าพรรษาเป็นจุดเริ่มต้นเลิกดื่มเหล้าอย่างถาวร เผยในรอบ 10 ปี เยาวชนมีอัตราการดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 อายุเฉลี่ยเริ่มดื่มครั้งแรก 13-14 ปี
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดกิจกรรม “รณรงค์งดดื่ม งดเมา งดเหล้า เข้าพรรษา” ที่ห้างเจเจมอลล์ พลาซา พร้อมหล่อเทียนพรรษา เนื่องในวันเข้าพรรษา เป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ พร้อมกล่าวว่า ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ได้เกิดเฉพาะสุขภาพของผู้ดื่มแต่ยังส่งผลให้มีปัญหาครอบครัวและสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ มีการก้าวสู่การเป็นนักดื่มมากขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า 11 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2539-2550 เยาวชนอายุ 15-19 ปี มีอัตราการดื่มประจำเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 ขณะเดียวกันก็เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเช่นกัน ทั้งจากการบาดเจ็บเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจราจร การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและยังพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในสถานพินิจกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายและชีวิต และเรื่องเพศ เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ 46-60
ดังนั้น ช่วงวันเข้าพรรษานี้ อยากรณรงค์ให้ทุกครอบครัวลด ละ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเชิญชวนคนไทยใช้วันเข้าพรรษาเป็นจุดเริ่มต้นเลิกดื่มอย่างถาวรด้วย ทั้งนี้ ผลสำรวจพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ในปี 2550 ซึ่งมีทั้งหมด 51.2 ล้านคน พบเป็นผู้ไม่ดื่มสุราประมาณ 36 ล้านคน ดื่มสุรา 15 ล้านคน เป็นชายร้อยละ 85 เป็นกลุ่มอายุ 15-24 ปี 2.3 ล้านคน วัยทำงาน (25-59 ปี) 11.5 ล้านคน ที่เหลือ 1.1 ล้านคนเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สำหรับผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมการดื่ม ของเยาวชนชั้น ม.1 ม.3 ม.5 และ ปวช.ปี 2 ในปี 2551 พบว่า นักเรียนชายร้อยละ 40 และนักเรียนหญิงร้อยละ 24 เคยดื่มสุราแล้ว นักเรียนชายเริ่มดื่มอายุ เฉลี่ย 13 ปี ขณะที่นักเรียนหญิงเริ่มดื่มอายุเฉลี่ย 14 ปี โดยสายอาชีวศึกษามีแนวโน้มการดื่มมากกว่าสายสามัญ
สำหรับกิจกรรมในงานฯ ประกอบด้วยการบริการสุขภาพ นิทรรศการ การเสวนา รวมทั้งการนำนักกีฬาและนักแสดงที่มีสุขภาพดี เชิญชวนวัยรุ่นงดเหล้าเข้าพรรษาด้วย
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดกิจกรรม “รณรงค์งดดื่ม งดเมา งดเหล้า เข้าพรรษา” ที่ห้างเจเจมอลล์ พลาซา พร้อมหล่อเทียนพรรษา เนื่องในวันเข้าพรรษา เป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ พร้อมกล่าวว่า ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ได้เกิดเฉพาะสุขภาพของผู้ดื่มแต่ยังส่งผลให้มีปัญหาครอบครัวและสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ มีการก้าวสู่การเป็นนักดื่มมากขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า 11 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2539-2550 เยาวชนอายุ 15-19 ปี มีอัตราการดื่มประจำเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 ขณะเดียวกันก็เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเช่นกัน ทั้งจากการบาดเจ็บเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจราจร การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและยังพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในสถานพินิจกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายและชีวิต และเรื่องเพศ เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ 46-60
ดังนั้น ช่วงวันเข้าพรรษานี้ อยากรณรงค์ให้ทุกครอบครัวลด ละ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเชิญชวนคนไทยใช้วันเข้าพรรษาเป็นจุดเริ่มต้นเลิกดื่มอย่างถาวรด้วย ทั้งนี้ ผลสำรวจพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ในปี 2550 ซึ่งมีทั้งหมด 51.2 ล้านคน พบเป็นผู้ไม่ดื่มสุราประมาณ 36 ล้านคน ดื่มสุรา 15 ล้านคน เป็นชายร้อยละ 85 เป็นกลุ่มอายุ 15-24 ปี 2.3 ล้านคน วัยทำงาน (25-59 ปี) 11.5 ล้านคน ที่เหลือ 1.1 ล้านคนเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สำหรับผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมการดื่ม ของเยาวชนชั้น ม.1 ม.3 ม.5 และ ปวช.ปี 2 ในปี 2551 พบว่า นักเรียนชายร้อยละ 40 และนักเรียนหญิงร้อยละ 24 เคยดื่มสุราแล้ว นักเรียนชายเริ่มดื่มอายุ เฉลี่ย 13 ปี ขณะที่นักเรียนหญิงเริ่มดื่มอายุเฉลี่ย 14 ปี โดยสายอาชีวศึกษามีแนวโน้มการดื่มมากกว่าสายสามัญ
สำหรับกิจกรรมในงานฯ ประกอบด้วยการบริการสุขภาพ นิทรรศการ การเสวนา รวมทั้งการนำนักกีฬาและนักแสดงที่มีสุขภาพดี เชิญชวนวัยรุ่นงดเหล้าเข้าพรรษาด้วย