"วิทยา"เผยได้รับรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอีก 1 ราย เป็นหญิงวัย 37 ปี ใน จ.ราชบุรี ขณะที่ประชาชนบางคนยังไม่รู้จักเจลล้างมือ ผู้ว่าฯ กทม.ชูกลยุทธ์ทำความสะอาด ป้องกันการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หากสถานที่สาธารณะใน กทม.ใดต้องการทำความสะอาด ติดต่อมาที่ กทม. ได้

นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และคณะ รณรงป้องกันการระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง และสยามสแควร์ พร้อมกล่าวถึงผู้ป่วยเฝ้าระวังที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.ราชบุรี โดยได้รับรายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 1 ราย แต่ยังไม่ยืนยันว่าเสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ฯ 2009 หรือไม่ และขณะนี้ได้ส่งทีมระบาดวิทยาลงพื้นที่ตรวจสอบ เพื่อยืนยันว่าเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่หรือไม่ คาดว่าบ่ายวันนี้จะทราบผลยืนยันได้ว่าเสียชีวิตจากสาเหตุอะไร สำหรับการรณรงค์ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง มีประชาชนให้ความสนใจรับหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ
อย่างไรก็ตาม มีประชาชนหลายคนไม่รู้จักเจลล้างมือคืออะไร และมีวิธีใช้อย่างไร เจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลวิธีการใช้เจลล้างมือ ส่วนที่สยามสแควร์ กระทรวงฯ มุ่งเน้นให้โรงเรียนกวดวิชา ตระหนักและหันมาร่วมมือป้องกันไข้หวัดใหญ่ฯ 2009 กำชับนักเรียนใส่หน้ากากอนามัย หากมีไข้ ไอ จาม ให้หยุดเรียนอยู่ที่บ้าน เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดถึงบุคคลอื่น.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยหลังจากร่วมทำความสะอาดวัดตรีทศเทพวรวิหาร เขตพระนคร ว่า กทม.ให้ความสำคัญกับการรณรงค์ทำความสะอาด ชุมชนสาธารณะ อาทิ โรงเรียน จึงทำให้สถิติการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม. 435 โรงเรียน มีเพียง 2 โรงเรียน ที่มีผู้ติดเชื้อ หรือเท่ากับมีนักเรียน 3 คน จาก 340,000 คน ซึ่งถือว่าการรณรงค์ทำความสะอาดและมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของ กทม. ได้ผล นอกจากนี้ กทม.ได้เชิญชวนให้โรงเรียนเอกชน ในพื้นที่ กทม.ทำความสะอาดด้วย และ กทม. ยินดีส่งเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดเข้าไปช่วย ที่ผ่านมามีโรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่ กทม.เข้าไปทำความสะอาดแล้ว ส่วน สถาบันกวดวิชา หากต้องการ ให้สามารถติดต่อมาที่ กทม.ได้
ทั้งนี้ ในการมาทำความสะอาดวัดตรีทศเทพวรวิหาร นับเป็น 1 ในโครงการทำความสะอาดศาสนสถานของ กทม. ที่จะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 5 ก.ค. นี้ โดย กทม.เดินสายทำความสะอาดศาสนสถาน วัด 441 แห่ง 175 มัสยิส 70 โบสถ์ นอกจากจะเป็นช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แล้ว ยังเป็นการส่งสัญญาณในการให้ความสำคัญกับทุกๆ ศาสนาในประเทศไทยด้วย
ผู้ว่าราชการ กทม. กล่าวถึงมาตรการป้องกันไข้หวัดใหญ่ฯ 2009 ตามสถานบันเทิง สถานที่แสดงคอนเสิร์ตนั้น ทาง กทม. ก็จะใช้มาตรการเดียวกับทุกๆ ที่ ใน กทม. ซึ่งได้มีการแจกหน้ากากอนามัย ในพื้นที่ต่างๆ อยู่แล้ว
ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้เสียชีวิตรายล่าสุดจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นหญิงวัย 30 กว่าปี ใน จ.ราชบุรี นับเป็นผู้ติดเชื้อรายที่ 7 ที่เสียชีวิตในประเทศไทย โดยนายมานิต นพอมรบดี รมช.สธ.จะแถลงรายละเอียดในเวลา 15.00 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล
นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)พร้อมด้วย ศ.พิเศษ.นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ประธานคณะทำงานด้านยุทธ ศาสตร์และวิชาการ แถลงว่ามีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อหวัดใหญ่ฯ 2009 เพิ่มขึ้นอีก 1 ราย เป็นรายที่ 7 โดยเป็นหญิงอายุ 37 ปี เสียชีวิตที่ รพ.ศูนย์ราชบุรี เมื่อเวลา 20.00 น.คืนวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีอาการป่วยเป็นไข้ ตั้งแต่วันที่ 25-26 มิถุนายน เข้ารักษาตัว ที่ รพ.วันที่ 2 กรกฎาคม ด้วยอาการติดเชื้อที่ปอด รายนี้ไม่ใช่ 2 รายที่เฝ้าระวังใน จ.ราชบุรี ก่อนหน้านี้ ซึ่งผู้เสียชีวิตรายนี้มีการสัมผัสกับคนในครอบครัวอีก 6 คน ขณะนี้สาธารณสุขจังหวัดราชบุรีได้กักตัวคนใกล้ชิดทั้ง 6 คน มาเฝ้าระวังแล้ว สำหรับผู้ติดเชื้อหวัดที่มีอาการน่าเป็นห่วงขณะนี้มี 2 ราย อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ป่วยที่กระทรวงฯ เฝ้าระวังพิเศษ กลับไม่เป็นอะไร แต่ผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่เพิ่งตรวจพบเป็นหวัดใหญ่ฯ 2009
นายมานิต กล่าวว่า แนวโน้มการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ฯ 2009 จะต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว 5 วัน กระทรวงฯ ได้ประสานไปยังทุกโรงพยาบาลให้เปิดช่องทางพิเศษในการรักษา และให้เตรียมพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดของโรค ส่วนในจังหวัดที่ยังไม่พบการแพร่ระบาด ให้ติดตามเฝ้าดูโรงเรียนว่ามีนักเรียนขาดเรียนด้วยอาการหวัดมากน้อยเพียงใด
ด้าน ศ.พิเศษ.ทวี กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตรายที่ 7 นี้เพิ่งทราบว่าติดเชื้อหวัดใหญ่ 2009 เมื่อเสียชีวิตแล้ว โดยทาง รพ.สอบถามว่า การจัดพิธีศพต้องห่อศพหรือไม่ จึงฝากบอกว่า ผู้เสียชีวิตจากหวัดใหญ่ฯ 2009 เชื้อไม่สามารถแพร่ระบาดต่อผู้อื่นได้ สามารถทำพิธีรดน้ำศพเหมือนผู้เสียชีวิตทั่วไป ผู้เสียชีวิตรายที่ 7 นี้ เป็นไปตามทฤษฎีคือ ร้อยละ 70 มีโรคประจำตัว แต่ร้อยละ 30 ที่ไม่มีโรคประจำตัวก็สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตที่ผ่านมาเพื่อเป็นองค์ความรู้หรือไม่ ศ.พิเศษ.นพ.ทวี กล่าวว่า การชันสูตร ต้องได้รับความยินยอมจากญาติผู้เสียชีวิต ขณะนี้กระทรวงฯ ยังไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ประมวลจากทิศทางอาการการติดเชื้อและการรักษาโรคเท่านั้น
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และคณะ รณรงป้องกันการระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง และสยามสแควร์ พร้อมกล่าวถึงผู้ป่วยเฝ้าระวังที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.ราชบุรี โดยได้รับรายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 1 ราย แต่ยังไม่ยืนยันว่าเสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ฯ 2009 หรือไม่ และขณะนี้ได้ส่งทีมระบาดวิทยาลงพื้นที่ตรวจสอบ เพื่อยืนยันว่าเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่หรือไม่ คาดว่าบ่ายวันนี้จะทราบผลยืนยันได้ว่าเสียชีวิตจากสาเหตุอะไร สำหรับการรณรงค์ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง มีประชาชนให้ความสนใจรับหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ
อย่างไรก็ตาม มีประชาชนหลายคนไม่รู้จักเจลล้างมือคืออะไร และมีวิธีใช้อย่างไร เจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลวิธีการใช้เจลล้างมือ ส่วนที่สยามสแควร์ กระทรวงฯ มุ่งเน้นให้โรงเรียนกวดวิชา ตระหนักและหันมาร่วมมือป้องกันไข้หวัดใหญ่ฯ 2009 กำชับนักเรียนใส่หน้ากากอนามัย หากมีไข้ ไอ จาม ให้หยุดเรียนอยู่ที่บ้าน เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดถึงบุคคลอื่น.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยหลังจากร่วมทำความสะอาดวัดตรีทศเทพวรวิหาร เขตพระนคร ว่า กทม.ให้ความสำคัญกับการรณรงค์ทำความสะอาด ชุมชนสาธารณะ อาทิ โรงเรียน จึงทำให้สถิติการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม. 435 โรงเรียน มีเพียง 2 โรงเรียน ที่มีผู้ติดเชื้อ หรือเท่ากับมีนักเรียน 3 คน จาก 340,000 คน ซึ่งถือว่าการรณรงค์ทำความสะอาดและมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของ กทม. ได้ผล นอกจากนี้ กทม.ได้เชิญชวนให้โรงเรียนเอกชน ในพื้นที่ กทม.ทำความสะอาดด้วย และ กทม. ยินดีส่งเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดเข้าไปช่วย ที่ผ่านมามีโรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่ กทม.เข้าไปทำความสะอาดแล้ว ส่วน สถาบันกวดวิชา หากต้องการ ให้สามารถติดต่อมาที่ กทม.ได้
ทั้งนี้ ในการมาทำความสะอาดวัดตรีทศเทพวรวิหาร นับเป็น 1 ในโครงการทำความสะอาดศาสนสถานของ กทม. ที่จะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 5 ก.ค. นี้ โดย กทม.เดินสายทำความสะอาดศาสนสถาน วัด 441 แห่ง 175 มัสยิส 70 โบสถ์ นอกจากจะเป็นช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แล้ว ยังเป็นการส่งสัญญาณในการให้ความสำคัญกับทุกๆ ศาสนาในประเทศไทยด้วย
ผู้ว่าราชการ กทม. กล่าวถึงมาตรการป้องกันไข้หวัดใหญ่ฯ 2009 ตามสถานบันเทิง สถานที่แสดงคอนเสิร์ตนั้น ทาง กทม. ก็จะใช้มาตรการเดียวกับทุกๆ ที่ ใน กทม. ซึ่งได้มีการแจกหน้ากากอนามัย ในพื้นที่ต่างๆ อยู่แล้ว
ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้เสียชีวิตรายล่าสุดจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นหญิงวัย 30 กว่าปี ใน จ.ราชบุรี นับเป็นผู้ติดเชื้อรายที่ 7 ที่เสียชีวิตในประเทศไทย โดยนายมานิต นพอมรบดี รมช.สธ.จะแถลงรายละเอียดในเวลา 15.00 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล
นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)พร้อมด้วย ศ.พิเศษ.นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ประธานคณะทำงานด้านยุทธ ศาสตร์และวิชาการ แถลงว่ามีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อหวัดใหญ่ฯ 2009 เพิ่มขึ้นอีก 1 ราย เป็นรายที่ 7 โดยเป็นหญิงอายุ 37 ปี เสียชีวิตที่ รพ.ศูนย์ราชบุรี เมื่อเวลา 20.00 น.คืนวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีอาการป่วยเป็นไข้ ตั้งแต่วันที่ 25-26 มิถุนายน เข้ารักษาตัว ที่ รพ.วันที่ 2 กรกฎาคม ด้วยอาการติดเชื้อที่ปอด รายนี้ไม่ใช่ 2 รายที่เฝ้าระวังใน จ.ราชบุรี ก่อนหน้านี้ ซึ่งผู้เสียชีวิตรายนี้มีการสัมผัสกับคนในครอบครัวอีก 6 คน ขณะนี้สาธารณสุขจังหวัดราชบุรีได้กักตัวคนใกล้ชิดทั้ง 6 คน มาเฝ้าระวังแล้ว สำหรับผู้ติดเชื้อหวัดที่มีอาการน่าเป็นห่วงขณะนี้มี 2 ราย อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ป่วยที่กระทรวงฯ เฝ้าระวังพิเศษ กลับไม่เป็นอะไร แต่ผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่เพิ่งตรวจพบเป็นหวัดใหญ่ฯ 2009
นายมานิต กล่าวว่า แนวโน้มการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ฯ 2009 จะต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว 5 วัน กระทรวงฯ ได้ประสานไปยังทุกโรงพยาบาลให้เปิดช่องทางพิเศษในการรักษา และให้เตรียมพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดของโรค ส่วนในจังหวัดที่ยังไม่พบการแพร่ระบาด ให้ติดตามเฝ้าดูโรงเรียนว่ามีนักเรียนขาดเรียนด้วยอาการหวัดมากน้อยเพียงใด
ด้าน ศ.พิเศษ.ทวี กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตรายที่ 7 นี้เพิ่งทราบว่าติดเชื้อหวัดใหญ่ 2009 เมื่อเสียชีวิตแล้ว โดยทาง รพ.สอบถามว่า การจัดพิธีศพต้องห่อศพหรือไม่ จึงฝากบอกว่า ผู้เสียชีวิตจากหวัดใหญ่ฯ 2009 เชื้อไม่สามารถแพร่ระบาดต่อผู้อื่นได้ สามารถทำพิธีรดน้ำศพเหมือนผู้เสียชีวิตทั่วไป ผู้เสียชีวิตรายที่ 7 นี้ เป็นไปตามทฤษฎีคือ ร้อยละ 70 มีโรคประจำตัว แต่ร้อยละ 30 ที่ไม่มีโรคประจำตัวก็สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตที่ผ่านมาเพื่อเป็นองค์ความรู้หรือไม่ ศ.พิเศษ.นพ.ทวี กล่าวว่า การชันสูตร ต้องได้รับความยินยอมจากญาติผู้เสียชีวิต ขณะนี้กระทรวงฯ ยังไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ประมวลจากทิศทางอาการการติดเชื้อและการรักษาโรคเท่านั้น