กรมบัญชีกลางออกประกาศอีกฉบับ ยืดหยุ่นให้ ขรก.เบิกยาสมุนไพรนอกบัญชียาหลักแห่งชาติได้ แต่สถานพยาบาลต้องส่งบัญชียาสมุนไพรของโรงพยาบาลให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯพิจารณากลั่นกรองภายใน 31 ธ.ค.
นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวภายหลังหารือร่วมกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เรื่องระเบียบการเบิกจ่ายยาสมุนไพรว่า จากการหารือกับนายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลางได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่าจะมีการออกประกาศอีกฉบับ เพื่อเป็นการยืดหยุ่นให้กับการเบิกจ่ายยาสมุนไพรนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยต่อจากนี้จะเสนอให้กับปลัดกระทรวงการคลังลงนามออกประกาศต่อไป โดยมี 3ประเด็นได้แก่ 1 ยาสมุนไพร 19 รายการที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ข้าราชการยังคงเบิกจ่ายได้ตามปกติ
“2 ยาสมุนไพรที่เป็นเภสัชตำรับที่แต่ละโรงพยาบาลสั่งจ่ายให้ผู้ป่วยอยู่ ก็สามารถเบิกได้ และ 3 ยาสมุนไพรที่แต่ละโรงพยาบาลได้บรรจุอยู่ในบัญชียาของโรงพยาบาลก็สามารถเบิกได้ชั่วคราวต่อไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.นี้ และในระหว่างนี้ทางสถานพยาบาลจะต้องส่งบัญชียาของโรงพยาบาลที่มีสมุนไพรมาให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯพิจารณากลั่นกรองยาแต่ละชนิด”นพ.นรา กล่าว
นพ.นรา กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองบัญชียาที่มีสมุนไพรของแต่ละโรงพยาบาลที่ส่งมาจะต้องพิจารณาและเสร็จสิ้นก่อน 31 ธ.ค.นี้ โดยกรมบัญชีกลางเสนอให้ทางกรมพัฒนาการแพทย์ฯได้เสนอรายชื่อองค์ประกอบของคณะกรรมการที่จะพิจารณา โดยจะมีองค์ประกอบจากตัวแทนจากหลายฝ่าย อาทิ กรมบัญชีกลาง กรมพัฒนาการแพทย์ฯนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่มีการใช้สมุนไพร เครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรแห่งประเทศไทย ฯลฯ ร่วมพิจารณาบัญชียาของแต่ละโรงพยาบาลร่วมกัน
“ช่วงแรกกรมบัญชีกลางให้เหตุผลว่าที่ออกประกาศห้ามเบิกจ่ายยาสมุนไพรนอกบัญชียาหลักแห่งชาติเนื่องจากต้องการควบคุมเรื่องค่าใช้จ่ายในการเบิกจ่ายค่ายาในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มูลค่าการใช้ยาของ 6 เดือนแรกของปีนี้ พบว่า มีมูลค่าการซื้อยาทั้งสิ้น 8,416,788,573 บาท เป็นยาแผนปัจจุบัน 8,303,930,104 บาท ส่วนยาสมุนไพรไทยมีเพียง 112,858,469 บาทเท่านั้น คิดเป็น 1.36% ของมูลค่าการซื้อยาทั้งหมด ขณะที่ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องใช้ยาสมุนไพรไทยให้ได้ 1.5% ของมูลค่าการซื้อยาทั้งหมด”นพ.นรา กล่าว
ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร ประธานเครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรแห่งประเทศไทยได้พร้อมด้วยตัวแทนภาคประชาชนได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึงนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังและนายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง เรื่อง ให้ยกเลิกหรือแก้ไขแนวทางปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ : กรณีการเบิกจ่ายค่ายาจากสมุนไพร โดยดร.ภญ.สุภาภรณ์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้นายกรณ์และนายพฤฒิชัยยกเลิกประกาศดังกล่าว เนื่องจาก เภสัชตำรับที่โรงพยาบาลประกาศใช้เฉพาะการผลิตยาแผนปัจจุบัน เพื่อใช้ในโรงพยาบาลเท่านั้น ยังไม่มีการจัดทำเภสัชตำรับโรงพยาบาล สำหรับการผลิตยาจากสมุนไพร
“เครือข่ายฯ จึงเรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงการคลังทั้ง 2 ท่าน ยกเลิกการบังคับใช้ข้อ 2.2 ที่ห้ามเบิกจ่ายสมุนไพรนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือเลื่อนการบังคับใช้ออกไป จนกระทั่ง คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ดำเนินการจัดทำ เภสัชตำรับโรงพยาบาลด้านการผลิตยาจากสมุนไพร และทำการคัดเลือกยาไทยหรือยาแผนโบราณที่ผู้ประกอบโรคศิลปะดังกล่าวจำเป็นต้องใช้รักษาผู้ป่วยเฉพาะรายของตนเข้าบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติจะแล้วเสร็จสมบูรณ์"ดร.ภญ.สุภาภรณ์ กล่าว
นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวภายหลังหารือร่วมกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เรื่องระเบียบการเบิกจ่ายยาสมุนไพรว่า จากการหารือกับนายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลางได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่าจะมีการออกประกาศอีกฉบับ เพื่อเป็นการยืดหยุ่นให้กับการเบิกจ่ายยาสมุนไพรนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยต่อจากนี้จะเสนอให้กับปลัดกระทรวงการคลังลงนามออกประกาศต่อไป โดยมี 3ประเด็นได้แก่ 1 ยาสมุนไพร 19 รายการที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ข้าราชการยังคงเบิกจ่ายได้ตามปกติ
“2 ยาสมุนไพรที่เป็นเภสัชตำรับที่แต่ละโรงพยาบาลสั่งจ่ายให้ผู้ป่วยอยู่ ก็สามารถเบิกได้ และ 3 ยาสมุนไพรที่แต่ละโรงพยาบาลได้บรรจุอยู่ในบัญชียาของโรงพยาบาลก็สามารถเบิกได้ชั่วคราวต่อไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.นี้ และในระหว่างนี้ทางสถานพยาบาลจะต้องส่งบัญชียาของโรงพยาบาลที่มีสมุนไพรมาให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯพิจารณากลั่นกรองยาแต่ละชนิด”นพ.นรา กล่าว
นพ.นรา กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองบัญชียาที่มีสมุนไพรของแต่ละโรงพยาบาลที่ส่งมาจะต้องพิจารณาและเสร็จสิ้นก่อน 31 ธ.ค.นี้ โดยกรมบัญชีกลางเสนอให้ทางกรมพัฒนาการแพทย์ฯได้เสนอรายชื่อองค์ประกอบของคณะกรรมการที่จะพิจารณา โดยจะมีองค์ประกอบจากตัวแทนจากหลายฝ่าย อาทิ กรมบัญชีกลาง กรมพัฒนาการแพทย์ฯนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่มีการใช้สมุนไพร เครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรแห่งประเทศไทย ฯลฯ ร่วมพิจารณาบัญชียาของแต่ละโรงพยาบาลร่วมกัน
“ช่วงแรกกรมบัญชีกลางให้เหตุผลว่าที่ออกประกาศห้ามเบิกจ่ายยาสมุนไพรนอกบัญชียาหลักแห่งชาติเนื่องจากต้องการควบคุมเรื่องค่าใช้จ่ายในการเบิกจ่ายค่ายาในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มูลค่าการใช้ยาของ 6 เดือนแรกของปีนี้ พบว่า มีมูลค่าการซื้อยาทั้งสิ้น 8,416,788,573 บาท เป็นยาแผนปัจจุบัน 8,303,930,104 บาท ส่วนยาสมุนไพรไทยมีเพียง 112,858,469 บาทเท่านั้น คิดเป็น 1.36% ของมูลค่าการซื้อยาทั้งหมด ขณะที่ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องใช้ยาสมุนไพรไทยให้ได้ 1.5% ของมูลค่าการซื้อยาทั้งหมด”นพ.นรา กล่าว
ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร ประธานเครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรแห่งประเทศไทยได้พร้อมด้วยตัวแทนภาคประชาชนได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึงนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังและนายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง เรื่อง ให้ยกเลิกหรือแก้ไขแนวทางปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ : กรณีการเบิกจ่ายค่ายาจากสมุนไพร โดยดร.ภญ.สุภาภรณ์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้นายกรณ์และนายพฤฒิชัยยกเลิกประกาศดังกล่าว เนื่องจาก เภสัชตำรับที่โรงพยาบาลประกาศใช้เฉพาะการผลิตยาแผนปัจจุบัน เพื่อใช้ในโรงพยาบาลเท่านั้น ยังไม่มีการจัดทำเภสัชตำรับโรงพยาบาล สำหรับการผลิตยาจากสมุนไพร
“เครือข่ายฯ จึงเรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงการคลังทั้ง 2 ท่าน ยกเลิกการบังคับใช้ข้อ 2.2 ที่ห้ามเบิกจ่ายสมุนไพรนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือเลื่อนการบังคับใช้ออกไป จนกระทั่ง คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ดำเนินการจัดทำ เภสัชตำรับโรงพยาบาลด้านการผลิตยาจากสมุนไพร และทำการคัดเลือกยาไทยหรือยาแผนโบราณที่ผู้ประกอบโรคศิลปะดังกล่าวจำเป็นต้องใช้รักษาผู้ป่วยเฉพาะรายของตนเข้าบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติจะแล้วเสร็จสมบูรณ์"ดร.ภญ.สุภาภรณ์ กล่าว