“จุรินทร์” เผย เฟ้นหามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 7-10 แห่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสนองตอบภาคเศรษฐกิจสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ระบุ ครม.ตั้งงบ 12,000 ล้านเพื่อใช้ดำเนินงานต่อเนื่อง 3 ปี
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมแถลงข่าวโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ โดย นายจุรินทร์ กล่าวว่า โครงการส่งเสริมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา และการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัย เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นก่อให้เกิดการผลิตผลงานทางด้านการวิจัยเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคเศรษฐกิจ ภาคสังคม และภาคอื่นๆ อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งมุ่งเน้นการเพิ่มบุคลากรทางการวิจัยให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้มอบเป็นนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดทำโครงการดังกล่าว ซึ่งคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติเห็นชอบไปเมื่อ 6 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมีงบประมาณการดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยแห่งชาติจำนวน 12,000 ล้านบาท เป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี ระหว่างปี 2553-2555
ส่วนขั้นตอนการดำเนินงานโครงการมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ได้แก่ 1.เปิดรับสมัครมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด 2.ทำการคัดเลือกมหาวิทยาลัยที่เหมาะสมกับการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติ โดยมหาวิทยาลัยที่สมัครจะต้องเสนอแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้งบประมาณ 3.เมื่อมีการคัดเลือกมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติแล้ว จะมีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานทุกปีว่า การดำเนินโครงการมีความก้าวหน้า และเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่ได้ระบุไว้มาก
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ผลของการดำเนินโครงการจะทำให้ประเทศไทย ได้มีมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเกิดขึ้นประมาณ 7-10 แห่ง ส่งผลให้มหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับสูงขึ้นในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก และเกิดผลงานวิจัยนำไปสู่การพัฒนาในภาคเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต การส่งออก ภาคบริการ รวมทั้งภาคสังคมมากขึ้น มีผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้จริงมากขึ้น นอกจากนี้ โครงการยังช่วยให้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยมีความเข้มแข็งและสามารถรองรับโครงการสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาคได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้ จะตั้งคณะกรรมการอำนวยการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติขึ้นมา 1 คณะ โดยมี รมว.ศธ. เป็นประธาน มี รมช.ศธ.เป็นรองประธาน เลขาธิการ กกอ.เป็นเลขานุการ
โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครมหาวิทยาลัยที่จะเข้าร่วมการคัดเลือกเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1-10 กรกฎาคม ทำการตัดสินและประกาศผลการคัดเลือก วันที่ 17-20 สิงหาคม จากนั้นจะนำเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติต่อไป
อนึ่ง เกณฑ์การคัดเลือกมหาวิทยาลัย ต้องมีงานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ มีการเรียนการสอนเป็นที่ยอมรับของประชาคมอุดมศึกษาโลก ก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย
มหาวิทยาลัยที่มีสิทธิ์สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญคือ ต้องอยู่ในลำดับการจัดลำดับมหาวิทยาลัยโลก ของ THE-QS ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 500 หรือถ้าไม่ติดอยู่ในอันดับ 500 จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ ต้องมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งได้รับการบันทึกไว้หรือได้รับการยอมรับไม่น้อยกว่า 500 เรื่อง ใน 5 ปีล่าสุด ต้องมีผลงานวิจัยระดับนานาชาติที่โดดเด่น อย่างน้อย 2 ใน 5 สาขา ที่ได้รับการตีพิมพ์ ต้องมีอาจารย์ที่จบปริญญาเอก เกินร้อยละ 40 ของอาจารย์ที่มีอยู่ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม มีมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับ 166 มหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับ 251 มหาวิทยาลัยเกษตร ติดอันดับ 400 นอกจากนี้ยังมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดในอันดับกลุ่ม 500
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมแถลงข่าวโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ โดย นายจุรินทร์ กล่าวว่า โครงการส่งเสริมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา และการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัย เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นก่อให้เกิดการผลิตผลงานทางด้านการวิจัยเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคเศรษฐกิจ ภาคสังคม และภาคอื่นๆ อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งมุ่งเน้นการเพิ่มบุคลากรทางการวิจัยให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้มอบเป็นนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดทำโครงการดังกล่าว ซึ่งคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติเห็นชอบไปเมื่อ 6 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมีงบประมาณการดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยแห่งชาติจำนวน 12,000 ล้านบาท เป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี ระหว่างปี 2553-2555
ส่วนขั้นตอนการดำเนินงานโครงการมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ได้แก่ 1.เปิดรับสมัครมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด 2.ทำการคัดเลือกมหาวิทยาลัยที่เหมาะสมกับการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติ โดยมหาวิทยาลัยที่สมัครจะต้องเสนอแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้งบประมาณ 3.เมื่อมีการคัดเลือกมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติแล้ว จะมีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานทุกปีว่า การดำเนินโครงการมีความก้าวหน้า และเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่ได้ระบุไว้มาก
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ผลของการดำเนินโครงการจะทำให้ประเทศไทย ได้มีมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเกิดขึ้นประมาณ 7-10 แห่ง ส่งผลให้มหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับสูงขึ้นในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก และเกิดผลงานวิจัยนำไปสู่การพัฒนาในภาคเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต การส่งออก ภาคบริการ รวมทั้งภาคสังคมมากขึ้น มีผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้จริงมากขึ้น นอกจากนี้ โครงการยังช่วยให้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยมีความเข้มแข็งและสามารถรองรับโครงการสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาคได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้ จะตั้งคณะกรรมการอำนวยการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติขึ้นมา 1 คณะ โดยมี รมว.ศธ. เป็นประธาน มี รมช.ศธ.เป็นรองประธาน เลขาธิการ กกอ.เป็นเลขานุการ
โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครมหาวิทยาลัยที่จะเข้าร่วมการคัดเลือกเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1-10 กรกฎาคม ทำการตัดสินและประกาศผลการคัดเลือก วันที่ 17-20 สิงหาคม จากนั้นจะนำเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติต่อไป
อนึ่ง เกณฑ์การคัดเลือกมหาวิทยาลัย ต้องมีงานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ มีการเรียนการสอนเป็นที่ยอมรับของประชาคมอุดมศึกษาโลก ก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย
มหาวิทยาลัยที่มีสิทธิ์สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญคือ ต้องอยู่ในลำดับการจัดลำดับมหาวิทยาลัยโลก ของ THE-QS ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 500 หรือถ้าไม่ติดอยู่ในอันดับ 500 จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ ต้องมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งได้รับการบันทึกไว้หรือได้รับการยอมรับไม่น้อยกว่า 500 เรื่อง ใน 5 ปีล่าสุด ต้องมีผลงานวิจัยระดับนานาชาติที่โดดเด่น อย่างน้อย 2 ใน 5 สาขา ที่ได้รับการตีพิมพ์ ต้องมีอาจารย์ที่จบปริญญาเอก เกินร้อยละ 40 ของอาจารย์ที่มีอยู่ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม มีมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับ 166 มหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับ 251 มหาวิทยาลัยเกษตร ติดอันดับ 400 นอกจากนี้ยังมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดในอันดับกลุ่ม 500