เอเจนซี - ผู้บริโภคในเอเชียใช้ชีวิตวิธีติดดินมากขึ้นในการรับภาวะเศรษฐกิจทรุดตัว โดยเลือกซื้อพวกสินค้าราคาถูกไม่มีลูกเล่นน่าตื่นใจ มากกว่าสินค้ามียี่ห้อชั้นนำหรือข้าวของประเภทมีความสามารถทำสิ่งน่าตื่นเต้นทว่าไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ในโลกแห่งความเป็นจริง แนวโน้มเช่นนี้กำลังทำให้ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ในครัวเรือนมีการปรับตัว ขณะเดียวกันก็ทำให้พวกเขายังพอมีหวังที่จะได้ใบสั่งซื้อสินค้ามาประทังสถานการณ์จนกว่าจะผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจไปได้
"คนส่วนใหญ่ลังเลที่จะซื้อของราคาแพง แต่พวกเขายังต้องการสินค้าราคาถูกกว่าแต่มีประโยชน์ใช้สอยเพียงพอ" โคเฮอิ อูเอดะ ผู้จัดการทั่วไปของบิ๊ก คาเมรา เชนจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำในญี่ปุ่นบอก
ไม่ว่าจะเป็นแล็ปท้อปที่ไม่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่างครบครัน ไปจนถึงหม้อหุงข้าวและเตาอบไมโครเวฟที่มีคุณสมบัติและความสามารถน้อยลง พวกแบรนด์ดังอย่างซัมซุงและแอลจี อิเล็กทรอนิกส์ ต่างปรับตัวอย่างรวดเร็วและกำลังเร่งผลิตสินค้าแบบพื้นฐานไม่ค่อยมีลูกเล่น ซึ่งสามารถวางจำหน่ายได้ในราคาถูกลง
ทั้งหมดนี้คือวิธีเอาตัวรอดในท่ามกลางเศรษฐกิจทรุดต่ำซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประเทศในเอเชียซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งการส่งออกเป็นหลัก เช่นเกาหลีใต้ก็มียอดส่งออกสินค้าลดลงถึง 25 เปอร์เซ็นต์ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
"ในช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่ ปัญหาสภาพคล่องจะรุนแรงกว่าปัญหากำไรเสียอีก ดังนั้น เรื่องสำคัญก็คือการทำให้โรงงานยังเดินเครื่องต่อไปได้และหาเงินใช้หนี้" ชูซูนโค ศาสตราจารย์ประจำคณะธุรกิจมหาวิทยาลัยยองเซ ในกรุงโซลกล่าวและเสริมว่า "ผู้ผลิตหันมาใช้ยุทธศาสตร์ผลิตของราคาถูกก็เพื่อรักษาสภาพคล่องมากกว่ามุ่งหวังผลกำไร"
ทั้งนี้ ยอดขายสินค้ากลุ่มนี้ทำให้บริษัทรู้สึกโล่งใจขึ้นบ้าง เพราะอย่างน้อยก็มีเงินสดหมุนเวียนเข้ามา แม้ว่าบริษัทจะมีผลกำไรตกต่ำอย่างหนักหรือถึงกับประสบขาดทุนในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ก็ตาม ดังกรณีของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำไรลดลงมาอยู่ที่ 619,000 ล้านวอนในไตรมาสแรก เทียบกับ 2.2 ล้านล้านวอนเมื่อ 1 ปีก่อน
**ลดฟังก์ชั่นที่ไม่จำเป็น**
บางบริษัทเช่น แอลจี อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่งเปิดตัวสินค้าใหม่เพื่อชิงส่วนแบ่งตลาดในเวลาผันผวนนี้
ช่วงปลายปีก่อน แอลจีได้เปิดตัวโทรศัพท์มือถือ "คุกกี้" จำหน่ายในราคาเพียง 590,000 วอน (475 ดอลลาร์) ซึ่งถูกกว่าสมาร์ทโฟนทั่วไปราว 20-40 เปอร์เซ็นต์
"โทรศัพท์รุ่นคุกกี้ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจถดถอยโดยเฉพาะ" สก๊อตต์ อาห์น กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแผนกการสื่อสารไร้สายของแอลจี อิเล็กทรอนิกส์กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้
"ตลาดโทรศัพท์แบบทัชสกรีนกำลังเติบโตแต่มีอุปสรรคในเรื่องราคา เราจึงวางเป้าหมายว่าจะผลิตโทรศัพท์ชั้นดีจำหน่ายในราคาพอสมควรและให้ใช้กันอย่างแพร่หลาย"
ทั้งนี้บริษัทบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ด้วยการลดทอนคุณสมบัติความสามารถต่างๆ ที่ไม่จำเป็นของเครื่องลงมา และปรับการจัดวางผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นให้สมเหตุผลยิ่งขึ้น ก็ช่วยให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้
สำหรับผู้บริโภค โทรศัพท์รุ่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการความเรียบง่ายในยุคแห่งการประหยัดมัธยัสถ์ ซึ่งแตกต่างอย่างตรงข้ามกับกระแสวัตถุนิยมอย่างสุดลิ่มที่แพร่หลายในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้
"ก่อนหน้านี้ ผู้บริโภคคาดหวังลางๆ ว่าสินค้าประเภทมัลติฟังก์ชั่นที่มีการทำงานหลากรูปแบบนั้นดีจริง และยอมจ่ายแพงเพื่อให้ได้คุณสมบัติต่างๆ เหล่านั้น แต่มาตอนนี้ผู้บริโภคเริ่มอ่อนล้ากับคุณสมบัติมากมายพวกนั้นแล้ว และมองหาสินค้าที่แตกต่างซึ่งมีคุณสมบัติหลักเท่านั้น" สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจของแอลจีระบุในรายงานผลวิจัยล่าสุด
**ลดความหลากหลาย**
นอกจากสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์แล้ว สินค้ากลุ่มอื่นก็พลอยปรับทัศนคติการผลิตที่ไม่เน้นลูกเล่นหรือสิ่งตกแต่งเพิ่มเติมเช่นกัน ดังจะเห็นว่าอาหารกลุ่มบะหมี่หรืออาหารจานด่วนมียอดขายเพิ่มขึ้น แม้ว่าสินค้าจำพวกเนื้อสัตว์จะขายได้ลดลง
ห้างสรรพสินค้าชั้นนำแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ได้ปรับลดประเภทของอาหารที่จำหน่ายลงราว 40 เปอร์เซ็นต์เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดเก็บสินค้า เนื่องจากยอดขายสินค้าปลีกในญี่ปุ่นนั้นลดลงแตะระดับต่ำที่สุดในรอบสี่ปี
"ถึงเวลาต้องกลับไปสู่พื้นฐานเดิมแล้ว ลูกค้าเองก็เปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างมากในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา" โมโยะ โอคาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของห้างอีออนแถลงข่าวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
"พอลดความหลากหลายของสินค้าลง เราก็จะลดจำนวนซัปพลายเออร์ลงไปด้วย ทำให้เรามีอำนาจต่อรองมากขึ้น" เขาเสริม
ห้างอีกแห่งหนึ่งในโตเกียวซึ่งบริหารโดยอีออนพบว่า ยอดขายกระทะสำหรับทอดอาหารเพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่ห้างลดประเภทของสินค้าให้เลือกจาก 60 แบบเหลือเพียง 37 แบบ
ปักจีน นักวิเคราะห์ของวูริ อินเวสต์เมนต์แอนด์ซีเคียวริตีส์ ในกรุงโซลบอกว่า การลดไลน์สินค้าให้หลากหลายน้อยลง ช่วยลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพในภาวะที่ธุรกิจฝืดเคืองเช่นนี้ "การผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ในกลุ่มสินค้าหลักไม่กี่อย่าง จะช่วยลดต้นทุนการผลิตลง มากกว่าการผลิตสินค้ารุ่นต่างๆ ให้หลากหลายและผลิตเป็นจำนวนน้อยๆ"
ส่วนคิม แรนโด ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการผู้บริโภค แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ก็เสริมเคล็ดลับเพิ่มอีกว่าต้องทำสินค้าให้แตกต่าง แล้วลดต้นทุนการผลิตลงโดยออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ใช้ง่ายและมีคุณสมบัติการใช้งานหลักที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการ
"คนส่วนใหญ่ลังเลที่จะซื้อของราคาแพง แต่พวกเขายังต้องการสินค้าราคาถูกกว่าแต่มีประโยชน์ใช้สอยเพียงพอ" โคเฮอิ อูเอดะ ผู้จัดการทั่วไปของบิ๊ก คาเมรา เชนจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำในญี่ปุ่นบอก
ไม่ว่าจะเป็นแล็ปท้อปที่ไม่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่างครบครัน ไปจนถึงหม้อหุงข้าวและเตาอบไมโครเวฟที่มีคุณสมบัติและความสามารถน้อยลง พวกแบรนด์ดังอย่างซัมซุงและแอลจี อิเล็กทรอนิกส์ ต่างปรับตัวอย่างรวดเร็วและกำลังเร่งผลิตสินค้าแบบพื้นฐานไม่ค่อยมีลูกเล่น ซึ่งสามารถวางจำหน่ายได้ในราคาถูกลง
ทั้งหมดนี้คือวิธีเอาตัวรอดในท่ามกลางเศรษฐกิจทรุดต่ำซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประเทศในเอเชียซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งการส่งออกเป็นหลัก เช่นเกาหลีใต้ก็มียอดส่งออกสินค้าลดลงถึง 25 เปอร์เซ็นต์ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
"ในช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่ ปัญหาสภาพคล่องจะรุนแรงกว่าปัญหากำไรเสียอีก ดังนั้น เรื่องสำคัญก็คือการทำให้โรงงานยังเดินเครื่องต่อไปได้และหาเงินใช้หนี้" ชูซูนโค ศาสตราจารย์ประจำคณะธุรกิจมหาวิทยาลัยยองเซ ในกรุงโซลกล่าวและเสริมว่า "ผู้ผลิตหันมาใช้ยุทธศาสตร์ผลิตของราคาถูกก็เพื่อรักษาสภาพคล่องมากกว่ามุ่งหวังผลกำไร"
ทั้งนี้ ยอดขายสินค้ากลุ่มนี้ทำให้บริษัทรู้สึกโล่งใจขึ้นบ้าง เพราะอย่างน้อยก็มีเงินสดหมุนเวียนเข้ามา แม้ว่าบริษัทจะมีผลกำไรตกต่ำอย่างหนักหรือถึงกับประสบขาดทุนในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ก็ตาม ดังกรณีของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำไรลดลงมาอยู่ที่ 619,000 ล้านวอนในไตรมาสแรก เทียบกับ 2.2 ล้านล้านวอนเมื่อ 1 ปีก่อน
**ลดฟังก์ชั่นที่ไม่จำเป็น**
บางบริษัทเช่น แอลจี อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่งเปิดตัวสินค้าใหม่เพื่อชิงส่วนแบ่งตลาดในเวลาผันผวนนี้
ช่วงปลายปีก่อน แอลจีได้เปิดตัวโทรศัพท์มือถือ "คุกกี้" จำหน่ายในราคาเพียง 590,000 วอน (475 ดอลลาร์) ซึ่งถูกกว่าสมาร์ทโฟนทั่วไปราว 20-40 เปอร์เซ็นต์
"โทรศัพท์รุ่นคุกกี้ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจถดถอยโดยเฉพาะ" สก๊อตต์ อาห์น กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแผนกการสื่อสารไร้สายของแอลจี อิเล็กทรอนิกส์กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้
"ตลาดโทรศัพท์แบบทัชสกรีนกำลังเติบโตแต่มีอุปสรรคในเรื่องราคา เราจึงวางเป้าหมายว่าจะผลิตโทรศัพท์ชั้นดีจำหน่ายในราคาพอสมควรและให้ใช้กันอย่างแพร่หลาย"
ทั้งนี้บริษัทบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ด้วยการลดทอนคุณสมบัติความสามารถต่างๆ ที่ไม่จำเป็นของเครื่องลงมา และปรับการจัดวางผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นให้สมเหตุผลยิ่งขึ้น ก็ช่วยให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้
สำหรับผู้บริโภค โทรศัพท์รุ่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการความเรียบง่ายในยุคแห่งการประหยัดมัธยัสถ์ ซึ่งแตกต่างอย่างตรงข้ามกับกระแสวัตถุนิยมอย่างสุดลิ่มที่แพร่หลายในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้
"ก่อนหน้านี้ ผู้บริโภคคาดหวังลางๆ ว่าสินค้าประเภทมัลติฟังก์ชั่นที่มีการทำงานหลากรูปแบบนั้นดีจริง และยอมจ่ายแพงเพื่อให้ได้คุณสมบัติต่างๆ เหล่านั้น แต่มาตอนนี้ผู้บริโภคเริ่มอ่อนล้ากับคุณสมบัติมากมายพวกนั้นแล้ว และมองหาสินค้าที่แตกต่างซึ่งมีคุณสมบัติหลักเท่านั้น" สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจของแอลจีระบุในรายงานผลวิจัยล่าสุด
**ลดความหลากหลาย**
นอกจากสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์แล้ว สินค้ากลุ่มอื่นก็พลอยปรับทัศนคติการผลิตที่ไม่เน้นลูกเล่นหรือสิ่งตกแต่งเพิ่มเติมเช่นกัน ดังจะเห็นว่าอาหารกลุ่มบะหมี่หรืออาหารจานด่วนมียอดขายเพิ่มขึ้น แม้ว่าสินค้าจำพวกเนื้อสัตว์จะขายได้ลดลง
ห้างสรรพสินค้าชั้นนำแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ได้ปรับลดประเภทของอาหารที่จำหน่ายลงราว 40 เปอร์เซ็นต์เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดเก็บสินค้า เนื่องจากยอดขายสินค้าปลีกในญี่ปุ่นนั้นลดลงแตะระดับต่ำที่สุดในรอบสี่ปี
"ถึงเวลาต้องกลับไปสู่พื้นฐานเดิมแล้ว ลูกค้าเองก็เปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างมากในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา" โมโยะ โอคาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของห้างอีออนแถลงข่าวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
"พอลดความหลากหลายของสินค้าลง เราก็จะลดจำนวนซัปพลายเออร์ลงไปด้วย ทำให้เรามีอำนาจต่อรองมากขึ้น" เขาเสริม
ห้างอีกแห่งหนึ่งในโตเกียวซึ่งบริหารโดยอีออนพบว่า ยอดขายกระทะสำหรับทอดอาหารเพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่ห้างลดประเภทของสินค้าให้เลือกจาก 60 แบบเหลือเพียง 37 แบบ
ปักจีน นักวิเคราะห์ของวูริ อินเวสต์เมนต์แอนด์ซีเคียวริตีส์ ในกรุงโซลบอกว่า การลดไลน์สินค้าให้หลากหลายน้อยลง ช่วยลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพในภาวะที่ธุรกิจฝืดเคืองเช่นนี้ "การผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ในกลุ่มสินค้าหลักไม่กี่อย่าง จะช่วยลดต้นทุนการผลิตลง มากกว่าการผลิตสินค้ารุ่นต่างๆ ให้หลากหลายและผลิตเป็นจำนวนน้อยๆ"
ส่วนคิม แรนโด ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการผู้บริโภค แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ก็เสริมเคล็ดลับเพิ่มอีกว่าต้องทำสินค้าให้แตกต่าง แล้วลดต้นทุนการผลิตลงโดยออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ใช้ง่ายและมีคุณสมบัติการใช้งานหลักที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการ