เผยหญิงไทยถูกสามีทารุณติด 1 ใน 10 ของโลก ตำรวจชี้ 85% ของอาชญากรมาจากครอบครัวแตกแยก พม.ดึงพลังแม่ พลังครอบครัว สร้างครอบครัวเข้มแข็ง ด้วยยุทธศาสตร์รั้วครอบครัว 4 แผนงาน ทั้งบำบัดฟื้นฟู ส่งเสริมความเข้าใจการป้องกัน สร้างครอบครัวสีขาว ผุดศูนย์พัฒนาครอบครัวระดับชุมชน ด้านเครือข่ายแม่รักลูก 4 ภาคยื่นจดหมายเปิดผนึกฝากถึงรัฐบาล เน้น 6 มาตรการ ให้เรื่องครอบครัวเป็นวาระแห่งชาติ สร้างชุมชนสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ กวาดล้างแหล่งอบายมุข ยกเลิกอำนาจผู้ว่าฯ วธ.มท.ออกใบอนุญาตสถานบริการมอมเมาเยาวชน พร้อมปันงบ 5% ให้หน่วยงานด้านสังคมดำเนินงาน สร้างสื่อดีให้แก่เยาวชน
วันนี้ (23 มิ.ย.) เมื่อเวลา 15.00 น.ที่หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ นายอิสสระ สมชัย รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวเปิดโครงการ “พลังแม่ พลังครอบครัว เป็นรั้วป้องกันยาเสพติด” ว่า ข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่าปี 2550 ผู้ที่ก่ออาชญากรรมมีอาชญากรรม มีถึง 85% ที่เติบโตมาจากครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น แตกแยก ใช้ความรุนแรงต่อกัน และข้อมูลที่ พม.รวบรวม พบว่า มีเด็กและสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงเข้ารับบริการในบ้านพักเด็กและครอบครัว สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการในปี 2551 มีจำนวนถึง 1,763 ราย ซึ่งปัญหาความรุนแรงในครอบครัวก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึง 36,687 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี)
นอกจากนี้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกปี 2549 พบหญิงไทยถูกทารุณกรรมจากสามีติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ซึ่งมี บังกลาเทศ บราซิล เอธิโอเปีย ญี่ปุ่น นามิเบีย เปรู ซามัว เซอร์เบีย ไทย และ แทนซาเนีย และข้อมูลของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เมื่อเดือน พ.ค.2552 ยังพบอีกว่า มีการจับกุมคดียาเสพติด 53,752 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงสามเดือนที่ผ่านมา และมีแนวโน้มการแพร่ระบาดทั้งการค้า การเสพในกลุ่มเด็กเยาวชน นักเรียน นักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายอิสสระ กล่าวต่อว่า รัฐบาลจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน 7 โครงการในการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดประกอบด้วย รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน รั้วครอบครัว และโครงการปราบปรามยาเสพติด โครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดแบบบูรณาการ โดย พม.รับผิดชอบรั้วครอบครัวซึ่งได้จัดกิจกรรมโดยเน้นพลังแม่ซึ่งเป็นพลังสำคัญที่จะสร้างรั้วครอบครัวให้เข้มแข็งและป้องกันปัญหาต่างๆ
นางนวลพรรณ ล่ำซำ ผช.รมว.พม.กล่าวว่า พม.ได้ร่วมกับคณะอนุกรรมการส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว 22 หน่วยงาน กำหนดแนวทางดำเนินงานตามยุทธศาสตร์รั้วครอบครัว เน้น 4 แผนงาน คือ 1.ช่วยเหลือบำบัดฟื้นฟูครอบครัวที่มีสมาชิกเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 188,770 ครอบครัว 2.ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการป้องกันปัญหายาเสพติด 5 ล้านครอบครัว 3.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ครอบครัวทั่วไปในการป้องกันและสร้างครอบครัวสีขาว 13 ล้านครอบครัว และ 4.สร้างกลไกพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวระดับพื้นที่ มีศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน 4,252 ศูนย์เป็นกลไกการทำงาน
ด้าน นางอัฐฌาวรรณ พันธุ์มี ผู้ประสานงานเครือข่ายแม่รักลูก 4 ภาค กล่าวว่า สังคมไทยเต็มไปด้วยแหล่งอบายมุขที่กำลังทำลายสถาบันครอบครัวให้ตกอยู่ในวิกฤตของความอ่อนแอ ดังนั้นทางเครือข่ายแม่รักลูก 4 ภาค จึงขอให้รัฐบาลเพิ่มมาตรการในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวและกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ดังนี้ 1.จัดทำแผนแม่บทวาระแห่งชาติว่าด้วยเรื่องครอบครัว โดยเน้นบูรณาการกิจกรรมเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ 2.สร้างชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่สร้างสรรค์ 3.เพิ่มมาตรการให้ตำรวจกวาดล้างแหล่งอบายมุขที่นำไปสู่ปัญหาการมั่วสุมของเยาวชน และให้ยกเลิกอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัด กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย ในการออกใบอนุญาตสถานบริการ เพราะไม่สามารถควบคุมได้ แถมยังปล่อยให้แหล่งอบายมุขเข้ามาใกล้วัด โรงเรียน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเยาวชน
4.จัดสรรงบประมาณแผ่นดิน 5% และบุคลากรให้หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบภาระกิจ อาทิ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัวต่อไป 5.สร้างพื้นที่ให้เครือข่ายเยาวชนและผู้หญิงมีบทบาท ส่วนร่วมในการจัดระเบียบสังคม และ 6. สร้างพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ในรายการโทรทัศน์และสื่อสาธารณะแก่เด็ก และเยาวชน
วันนี้ (23 มิ.ย.) เมื่อเวลา 15.00 น.ที่หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ นายอิสสระ สมชัย รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวเปิดโครงการ “พลังแม่ พลังครอบครัว เป็นรั้วป้องกันยาเสพติด” ว่า ข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่าปี 2550 ผู้ที่ก่ออาชญากรรมมีอาชญากรรม มีถึง 85% ที่เติบโตมาจากครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น แตกแยก ใช้ความรุนแรงต่อกัน และข้อมูลที่ พม.รวบรวม พบว่า มีเด็กและสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงเข้ารับบริการในบ้านพักเด็กและครอบครัว สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการในปี 2551 มีจำนวนถึง 1,763 ราย ซึ่งปัญหาความรุนแรงในครอบครัวก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึง 36,687 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี)
นอกจากนี้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกปี 2549 พบหญิงไทยถูกทารุณกรรมจากสามีติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ซึ่งมี บังกลาเทศ บราซิล เอธิโอเปีย ญี่ปุ่น นามิเบีย เปรู ซามัว เซอร์เบีย ไทย และ แทนซาเนีย และข้อมูลของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เมื่อเดือน พ.ค.2552 ยังพบอีกว่า มีการจับกุมคดียาเสพติด 53,752 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงสามเดือนที่ผ่านมา และมีแนวโน้มการแพร่ระบาดทั้งการค้า การเสพในกลุ่มเด็กเยาวชน นักเรียน นักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายอิสสระ กล่าวต่อว่า รัฐบาลจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน 7 โครงการในการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดประกอบด้วย รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน รั้วครอบครัว และโครงการปราบปรามยาเสพติด โครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดแบบบูรณาการ โดย พม.รับผิดชอบรั้วครอบครัวซึ่งได้จัดกิจกรรมโดยเน้นพลังแม่ซึ่งเป็นพลังสำคัญที่จะสร้างรั้วครอบครัวให้เข้มแข็งและป้องกันปัญหาต่างๆ
นางนวลพรรณ ล่ำซำ ผช.รมว.พม.กล่าวว่า พม.ได้ร่วมกับคณะอนุกรรมการส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว 22 หน่วยงาน กำหนดแนวทางดำเนินงานตามยุทธศาสตร์รั้วครอบครัว เน้น 4 แผนงาน คือ 1.ช่วยเหลือบำบัดฟื้นฟูครอบครัวที่มีสมาชิกเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 188,770 ครอบครัว 2.ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการป้องกันปัญหายาเสพติด 5 ล้านครอบครัว 3.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ครอบครัวทั่วไปในการป้องกันและสร้างครอบครัวสีขาว 13 ล้านครอบครัว และ 4.สร้างกลไกพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวระดับพื้นที่ มีศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน 4,252 ศูนย์เป็นกลไกการทำงาน
ด้าน นางอัฐฌาวรรณ พันธุ์มี ผู้ประสานงานเครือข่ายแม่รักลูก 4 ภาค กล่าวว่า สังคมไทยเต็มไปด้วยแหล่งอบายมุขที่กำลังทำลายสถาบันครอบครัวให้ตกอยู่ในวิกฤตของความอ่อนแอ ดังนั้นทางเครือข่ายแม่รักลูก 4 ภาค จึงขอให้รัฐบาลเพิ่มมาตรการในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวและกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ดังนี้ 1.จัดทำแผนแม่บทวาระแห่งชาติว่าด้วยเรื่องครอบครัว โดยเน้นบูรณาการกิจกรรมเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ 2.สร้างชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่สร้างสรรค์ 3.เพิ่มมาตรการให้ตำรวจกวาดล้างแหล่งอบายมุขที่นำไปสู่ปัญหาการมั่วสุมของเยาวชน และให้ยกเลิกอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัด กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย ในการออกใบอนุญาตสถานบริการ เพราะไม่สามารถควบคุมได้ แถมยังปล่อยให้แหล่งอบายมุขเข้ามาใกล้วัด โรงเรียน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเยาวชน
4.จัดสรรงบประมาณแผ่นดิน 5% และบุคลากรให้หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบภาระกิจ อาทิ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัวต่อไป 5.สร้างพื้นที่ให้เครือข่ายเยาวชนและผู้หญิงมีบทบาท ส่วนร่วมในการจัดระเบียบสังคม และ 6. สร้างพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ในรายการโทรทัศน์และสื่อสาธารณะแก่เด็ก และเยาวชน