กทม.เตรียมซ่อมสะพานข้ามแยก 13 แห่งทั่วกรุง กลางเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนการรื้อถอนสะพานข้ามแยกอโศก รอหารือกำหนดวัน กับ บช.น.ก่อนค่อยลงมือ พร้อมขอความร่วมมือเจ้าของรถ อย่าบรรทุกน้ำหนักเกินขึ้นสะพานทำฐานรากเสียหายได้
นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า กทม.มีโครงการปรับปรุงสะพานเหล็กข้ามทางแยกจำนวน 13 สะพาน โดยได้จัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A, B และ C โดยกลุ่ม A ประกอบด้วย สะพานข้ามแยกท่าพระ สะพานข้ามแยกบางพลัด สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง และสะพานข้ามแยกประชานุกูล
กลุ่ม B ประกอบด้วย สะพานข้ามแยกรัชโยธิน สะพานข้ามแยกเกษตร สะพานข้ามแยกพงษ์เพชร สะพานข้ามแยกดินแดง และกลุ่ม C ประกอบด้วย สะพานข้ามแยกอโศก สะพานข้ามแยกพระราม 9-อ.ส.ม.ท. สะพานไทย-ญี่ปุ่น สะพานคลองตัน และสะพานพระราม 9-รามคำแหง ซึ่งทั้ง 13 แห่งใช้งบประมาณ กทม.ดำเนินการทั้งหมดรวม 795,700,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในการซ่อมแซมสะพาน กทม.จะปิดซ่อมแซมกลุ่มละ 1 สะพานรวม 3 สะพานจาก 3 กลุ่ม ซึ่งจะใช้เวลาซ่อมแซมตั้งแต่ 15-180 วัน โดยจะประสานหารือไปยังตำรวจจราจรเพื่อจัดเส้นทางเลี่ยงการจราจร และอาจจะดำเนินการในช่วงปิดภาคเรียน เพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชน ทั้งนี้ หากจะมีการปิดซ่อมแซมสะพานข้ามแยกใดก่อนก็จะมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประกาศติดสะพานให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30-60 วัน อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะมีข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากที่ได้หารือกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ว่า จะสามารถเริ่มดำเนินการซ่อมแซมสะพานได้เมื่อไหร่ ซึ่งคาดว่าประมาณช่วงกลางหรือปลายเดือนสิงหาคมนี้
นายประกอบ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ จากการสำรวจของศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็นว่า สะพานข้ามแยกอโศก จำเป็นจะต้องรื้อถอน เพราะเป็นสะพานที่มีการใช้งานนานที่สุดถึง 35 ปี และมีสนิมกินภายในโครงสร้าง จึงควรที่จะรื้อถอนเพื่อสร้างใหม่ซึ่งจะคุ้มค่ากว่าการซ่อมแซม ดังนั้น ระหว่างนี้จึงขอความร่วมมือไปยังผู้ขับขี่ให้ระมัดระวังอย่าบรรทุกน้ำหนักรถเกิน ไม่ว่าจะเป็นสะพานเก่าหรือใหม่ก็ตาม เพราะหากบรรทุกน้ำหนักมากก็จะไปกระทบต่อฐานรากของสะพานได้ ในส่วนของการรื้อถอนนั้นจะต้องหารือกับ บช.น.อีกครั้งเพื่อกำหนดวันรื้อถอนและต้องรอให้ทางคู่ขนาน Local road สามารถกลับมาใช้งานได้เป็นปกติเสียก่อน เนื่องจากขณะนี้มีการก่อสร้าง Airport link อยู่ โดยงบที่จะใช้ซ่อมแซมไม่เกิน 200 ล้านบาท ซึ่งไม่ต้องใช้งบประมาณมากหนัก เนื่องจากใช้ฐานรากเดิมบางส่วน และจะมีการตอกเสาเข็มเพิ่มเติมซึ่งจะใช้เวลาก่อสร้าง 360 วัน
นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า กทม.มีโครงการปรับปรุงสะพานเหล็กข้ามทางแยกจำนวน 13 สะพาน โดยได้จัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A, B และ C โดยกลุ่ม A ประกอบด้วย สะพานข้ามแยกท่าพระ สะพานข้ามแยกบางพลัด สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง และสะพานข้ามแยกประชานุกูล
กลุ่ม B ประกอบด้วย สะพานข้ามแยกรัชโยธิน สะพานข้ามแยกเกษตร สะพานข้ามแยกพงษ์เพชร สะพานข้ามแยกดินแดง และกลุ่ม C ประกอบด้วย สะพานข้ามแยกอโศก สะพานข้ามแยกพระราม 9-อ.ส.ม.ท. สะพานไทย-ญี่ปุ่น สะพานคลองตัน และสะพานพระราม 9-รามคำแหง ซึ่งทั้ง 13 แห่งใช้งบประมาณ กทม.ดำเนินการทั้งหมดรวม 795,700,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในการซ่อมแซมสะพาน กทม.จะปิดซ่อมแซมกลุ่มละ 1 สะพานรวม 3 สะพานจาก 3 กลุ่ม ซึ่งจะใช้เวลาซ่อมแซมตั้งแต่ 15-180 วัน โดยจะประสานหารือไปยังตำรวจจราจรเพื่อจัดเส้นทางเลี่ยงการจราจร และอาจจะดำเนินการในช่วงปิดภาคเรียน เพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชน ทั้งนี้ หากจะมีการปิดซ่อมแซมสะพานข้ามแยกใดก่อนก็จะมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประกาศติดสะพานให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30-60 วัน อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะมีข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากที่ได้หารือกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ว่า จะสามารถเริ่มดำเนินการซ่อมแซมสะพานได้เมื่อไหร่ ซึ่งคาดว่าประมาณช่วงกลางหรือปลายเดือนสิงหาคมนี้
นายประกอบ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ จากการสำรวจของศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็นว่า สะพานข้ามแยกอโศก จำเป็นจะต้องรื้อถอน เพราะเป็นสะพานที่มีการใช้งานนานที่สุดถึง 35 ปี และมีสนิมกินภายในโครงสร้าง จึงควรที่จะรื้อถอนเพื่อสร้างใหม่ซึ่งจะคุ้มค่ากว่าการซ่อมแซม ดังนั้น ระหว่างนี้จึงขอความร่วมมือไปยังผู้ขับขี่ให้ระมัดระวังอย่าบรรทุกน้ำหนักรถเกิน ไม่ว่าจะเป็นสะพานเก่าหรือใหม่ก็ตาม เพราะหากบรรทุกน้ำหนักมากก็จะไปกระทบต่อฐานรากของสะพานได้ ในส่วนของการรื้อถอนนั้นจะต้องหารือกับ บช.น.อีกครั้งเพื่อกำหนดวันรื้อถอนและต้องรอให้ทางคู่ขนาน Local road สามารถกลับมาใช้งานได้เป็นปกติเสียก่อน เนื่องจากขณะนี้มีการก่อสร้าง Airport link อยู่ โดยงบที่จะใช้ซ่อมแซมไม่เกิน 200 ล้านบาท ซึ่งไม่ต้องใช้งบประมาณมากหนัก เนื่องจากใช้ฐานรากเดิมบางส่วน และจะมีการตอกเสาเข็มเพิ่มเติมซึ่งจะใช้เวลาก่อสร้าง 360 วัน