สธ.เผยหญิงตั้งครรภ์ป่วยชิคุนกุนยา จ.ตรัง คลอดลูก ทารกตายเหตุสำลักน้ำคร่ำ ต้องตรวจพิสูจน์เจาะเลือดทารก-น้ำคร่ำ เกี่ยวกับเป็นชิคุนกุนยาหรือไม่ เผยยอดผู้ป่วยทั่วประเทศ ล่าสุด เกือบ 3 หมื่นราย แพร่ลามถึงภาคใต้ตอนบนตั้งแต่สงขลาขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว ชี้ยุงลายสวนชอบกัดต้นคอ หลังหู ให้สวมหมวกญี่ปุ่นป้องกันได้
วันที่ 23 มิถุนายน ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ขณะนี้มีผู้ป่วยชิคุนกุนยาทั่วประเทศ 29,820 ราย แต่คาดว่ามีผู้ป่วยอยู่นอกระบบที่ไม่ได้เข้ารับการรักษา เนื่องจากมีอาการไข้ไม่รุนแรงเท่าตัว ส่วนแนวโน้มการระบาดของโรค ขณะนี้จากเดิมที่มีการระบาดเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ได้ขยายลามมาถึงภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่จังหวัดสงขลาขึ้นไป ส่วนสาเหตุที่มีการระบาดเป็นวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากประชาชนมีการเดินทางจากพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด เมื่อยุงลายสวนที่มีอยู่ทั่วประเทศกัดผู้ป่วยและกัดบุคคลอื่นต่อก็มีโอกาสแพร่เชื้อได้
“ได้รับรายงานมีหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยา จ.ตรัง คลอดบุตรแล้ว บุตรเสียชีวิต โดยเบื้องต้นทารกเสียชีวิตจากสำลักน้ำคร่ำ แต่ได้มอบหมายให้นพ.เสรี หงษ์หยก ผู้ตรวจราชการ ติดตามความคืบหน้าและพิสูจน์หาสาเหตุว่ามาเกี่ยวข้องกับโรคชิคุนกุนยาหรือไม่ เนื่องจากมารดาเป็นโรคชิคุนกุนยาจึงต้องตรวจพิสูจน์ว่ามีการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกหรือไม่”นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อว่า โรคชิคุนกุนยาที่ระบาดมานานกว่า 3 เดือน วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ไม่ให้ยุงกัด ทำลายลูกน้ำยุงลายสวน แต่ต้องยอมรับว่า การทำลายลูกน้ำบริเวณสวนทำได้ยาก ไม่เหมือนกับการทำลายลูกน้ำยุงลายบ้าน เพราะในส่วนแม้กระทั่งยอดมะพร้าวยุงก็สามารถขึ้นไปวางไข่ได้ ส่วนการพ่นหมอกควันนั้น สามารถใช้ควบคุมได้เพียง 2 วัน หลังจากนั้น ต้องมีการฉีดซ้ำ แต่พื้นที่ส่วนในภาคใต้มีนับล้านไร่ จึงทำได้ค่อนข้างยาก
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า ได้รับการร้องเรียนว่า เมื่อฉีดพ่นยุงลายที่ส่วนทำให้ยุงลายเข้าไปอยู่ในบ้าน และกัดคนได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็จำเป็นต้องดำเนินการฉีดพ่น นอกจากนี้ประชาชนควรจะระวังตัวเองโดยการทายากันยุง และใส่เสื้อแขนยาวที่ชุบน้ำยากันยุงก่อนออกไปทำสวน โดยเสื้อที่ชุบน้ำยากันยุงจะสามารถอยู่ได้นาน 2 เดือน และจากการายงานพบว่า ยุงลายสวนชอบกันข้างหลัง บริเวณต้นคอและหลังหูจึงแนะนำให้ประชาชนสวมหมวกแบบทหารญี่ปุ่นที่ปิดมาถึงหูและต้นคอ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หญิงตั้งครรภ์จ.ตรังได้มาฝากครรภ์ไว้ที่โรงพยาบาล จากการติดตามอาการพบว่า ผู้ป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยา เมื่อครบกำหนดคลอด แพทย์พิจารณาแล้วเพื่อความปลอดภัยเห็นว่า ควรผ่าตัดคลอด ซึ่งในเวลาต่อมาทารกได้เสียชีวิตลง แพทย์จึงวินิจฉัยเบื้องต้น ว่า เด็กเสียชีวิตจากการสำลักน้ำคร่ำ ส่วนรายละเอียดนั้น ต้องรอติดตามผลการเจาะตรวจเลือดของทารกและการตรวจเชื้อในน้ำคร่ำว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการพิสูจน์สักระยะ
วันที่ 23 มิถุนายน ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ขณะนี้มีผู้ป่วยชิคุนกุนยาทั่วประเทศ 29,820 ราย แต่คาดว่ามีผู้ป่วยอยู่นอกระบบที่ไม่ได้เข้ารับการรักษา เนื่องจากมีอาการไข้ไม่รุนแรงเท่าตัว ส่วนแนวโน้มการระบาดของโรค ขณะนี้จากเดิมที่มีการระบาดเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ได้ขยายลามมาถึงภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่จังหวัดสงขลาขึ้นไป ส่วนสาเหตุที่มีการระบาดเป็นวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากประชาชนมีการเดินทางจากพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด เมื่อยุงลายสวนที่มีอยู่ทั่วประเทศกัดผู้ป่วยและกัดบุคคลอื่นต่อก็มีโอกาสแพร่เชื้อได้
“ได้รับรายงานมีหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยา จ.ตรัง คลอดบุตรแล้ว บุตรเสียชีวิต โดยเบื้องต้นทารกเสียชีวิตจากสำลักน้ำคร่ำ แต่ได้มอบหมายให้นพ.เสรี หงษ์หยก ผู้ตรวจราชการ ติดตามความคืบหน้าและพิสูจน์หาสาเหตุว่ามาเกี่ยวข้องกับโรคชิคุนกุนยาหรือไม่ เนื่องจากมารดาเป็นโรคชิคุนกุนยาจึงต้องตรวจพิสูจน์ว่ามีการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกหรือไม่”นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อว่า โรคชิคุนกุนยาที่ระบาดมานานกว่า 3 เดือน วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ไม่ให้ยุงกัด ทำลายลูกน้ำยุงลายสวน แต่ต้องยอมรับว่า การทำลายลูกน้ำบริเวณสวนทำได้ยาก ไม่เหมือนกับการทำลายลูกน้ำยุงลายบ้าน เพราะในส่วนแม้กระทั่งยอดมะพร้าวยุงก็สามารถขึ้นไปวางไข่ได้ ส่วนการพ่นหมอกควันนั้น สามารถใช้ควบคุมได้เพียง 2 วัน หลังจากนั้น ต้องมีการฉีดซ้ำ แต่พื้นที่ส่วนในภาคใต้มีนับล้านไร่ จึงทำได้ค่อนข้างยาก
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า ได้รับการร้องเรียนว่า เมื่อฉีดพ่นยุงลายที่ส่วนทำให้ยุงลายเข้าไปอยู่ในบ้าน และกัดคนได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็จำเป็นต้องดำเนินการฉีดพ่น นอกจากนี้ประชาชนควรจะระวังตัวเองโดยการทายากันยุง และใส่เสื้อแขนยาวที่ชุบน้ำยากันยุงก่อนออกไปทำสวน โดยเสื้อที่ชุบน้ำยากันยุงจะสามารถอยู่ได้นาน 2 เดือน และจากการายงานพบว่า ยุงลายสวนชอบกันข้างหลัง บริเวณต้นคอและหลังหูจึงแนะนำให้ประชาชนสวมหมวกแบบทหารญี่ปุ่นที่ปิดมาถึงหูและต้นคอ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หญิงตั้งครรภ์จ.ตรังได้มาฝากครรภ์ไว้ที่โรงพยาบาล จากการติดตามอาการพบว่า ผู้ป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยา เมื่อครบกำหนดคลอด แพทย์พิจารณาแล้วเพื่อความปลอดภัยเห็นว่า ควรผ่าตัดคลอด ซึ่งในเวลาต่อมาทารกได้เสียชีวิตลง แพทย์จึงวินิจฉัยเบื้องต้น ว่า เด็กเสียชีวิตจากการสำลักน้ำคร่ำ ส่วนรายละเอียดนั้น ต้องรอติดตามผลการเจาะตรวจเลือดของทารกและการตรวจเชื้อในน้ำคร่ำว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการพิสูจน์สักระยะ