กทม.เตรียมรีดภาษีคนกรุง ทั้ง ภาษีป้าย-ค่าธรรมเนียมขนขยะ-บำบัดน้ำเสียเพิ่ม หลัง กทม.ประกาศมาตรการหารายได้เข้าคลังเพิ่ม
วานนี้(18 มิ.ย.) ในการประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประจำเดือนมิถุนายน โดย นายปรีชา สุขสนเทศ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ได้นำเสนอมาตรการรับมือต่อสถานการณ์ทางการเงิน การคลังของ กทม.ในปีงบประมาณ 2552 และ 2553 ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ลดงบประมาณในส่วนของการสนับสนุน กทม.ประมาณ 10,000 ล้านบาท รวมไปถึงประเทศประสบกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ว่า ทางสำนักการคลัง คาดว่า จากการปรับลดงบประมาณอุดหนุนของ กทม.ของรัฐบาล ดังกล่าวจะทำให้รายรับของ กทม.หายไปประมาณ 8,000-10,000 ล้านบาท ดังนั้น กทม.จึงควรมีการควบคุมการใช้จ่ายในส่วนต่างๆ โดยได้ประกาศมาตรการลดรายจ่าย ดังนี้
1.ให้ชะลอโครงการที่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเหลื่อมปีออกไปอย่างน้อย 1-2 ปี 2.ปรับลดค่าตอบแทนของข้าราชการ เช่น ค่าล่วงเวลา จำนวน 10% ในทุกหน่วยงาน และ 3.ในการดำเนินงานโครงการต่างๆ จะพิจารณาในโครงการที่จำเป็นเร่งด่วน และเป็นไปตามนโยบายของคณะผู้บริหารเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วในส่วนมาตรการกระตุ้นรายรับของ กทม.ได้แก่ 1.ให้ทุกสำนักงานเขตจัดเก็บภาษี หรือค่าธรรมเนียมให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะ 2.ทางสำนักงานเขตควรรื้อฟื้อ หรือหาวิธีเก็บค่าธรรมเนียมใหม่ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ อาทิ การบำบัดน้ำเสีย 3.ให้ทุกสำนักงานเขตสำรวจการติดตั้งป้าย หากพบว่ามีการเปลี่ยนป้ายใหม่ต้องแจ้งให้เจ้าของมาเสียภาษีป้าย แม้ว่าภายในปีนั้นจะมีการเสียภาษีแล้วก็ตาม เนื่องจากตามระเบียบแล้วผู้ประกอบการต้องเสียภาษีป้ายปีละ 1 ครั้ง แต่หากพบว่ามีการเปลี่ยนป้ายก็ต้องมีจัดเก็บภาษีอีก
นายปรีชา กล่าวอีกว่า จากการสำรวจรายรับของ กทม.ช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2552 พบว่า จัดเก็บรายรับได้ประมาณ 24,892 ล้านบาท จากที่ได้ประมาณการไว้ 46,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าทำได้เพียง 54 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หากครบปีงบประมาณ คาดว่า การจัดเก็บรายได้จะต่ำกว่าค่าประมาณการ
วานนี้(18 มิ.ย.) ในการประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประจำเดือนมิถุนายน โดย นายปรีชา สุขสนเทศ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ได้นำเสนอมาตรการรับมือต่อสถานการณ์ทางการเงิน การคลังของ กทม.ในปีงบประมาณ 2552 และ 2553 ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ลดงบประมาณในส่วนของการสนับสนุน กทม.ประมาณ 10,000 ล้านบาท รวมไปถึงประเทศประสบกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ว่า ทางสำนักการคลัง คาดว่า จากการปรับลดงบประมาณอุดหนุนของ กทม.ของรัฐบาล ดังกล่าวจะทำให้รายรับของ กทม.หายไปประมาณ 8,000-10,000 ล้านบาท ดังนั้น กทม.จึงควรมีการควบคุมการใช้จ่ายในส่วนต่างๆ โดยได้ประกาศมาตรการลดรายจ่าย ดังนี้
1.ให้ชะลอโครงการที่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเหลื่อมปีออกไปอย่างน้อย 1-2 ปี 2.ปรับลดค่าตอบแทนของข้าราชการ เช่น ค่าล่วงเวลา จำนวน 10% ในทุกหน่วยงาน และ 3.ในการดำเนินงานโครงการต่างๆ จะพิจารณาในโครงการที่จำเป็นเร่งด่วน และเป็นไปตามนโยบายของคณะผู้บริหารเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วในส่วนมาตรการกระตุ้นรายรับของ กทม.ได้แก่ 1.ให้ทุกสำนักงานเขตจัดเก็บภาษี หรือค่าธรรมเนียมให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะ 2.ทางสำนักงานเขตควรรื้อฟื้อ หรือหาวิธีเก็บค่าธรรมเนียมใหม่ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ อาทิ การบำบัดน้ำเสีย 3.ให้ทุกสำนักงานเขตสำรวจการติดตั้งป้าย หากพบว่ามีการเปลี่ยนป้ายใหม่ต้องแจ้งให้เจ้าของมาเสียภาษีป้าย แม้ว่าภายในปีนั้นจะมีการเสียภาษีแล้วก็ตาม เนื่องจากตามระเบียบแล้วผู้ประกอบการต้องเสียภาษีป้ายปีละ 1 ครั้ง แต่หากพบว่ามีการเปลี่ยนป้ายก็ต้องมีจัดเก็บภาษีอีก
นายปรีชา กล่าวอีกว่า จากการสำรวจรายรับของ กทม.ช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2552 พบว่า จัดเก็บรายรับได้ประมาณ 24,892 ล้านบาท จากที่ได้ประมาณการไว้ 46,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าทำได้เพียง 54 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หากครบปีงบประมาณ คาดว่า การจัดเก็บรายได้จะต่ำกว่าค่าประมาณการ