มติบอร์ด สปสช.เพิ่มงบรายหัวจาก 37.5 เป็น 40 บาท ลงท้องถิ่นเป็นกองทุนป้องกันโรคระบาด พร้อมกันงบ 600 ล้านบาท ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2,100 แ ห่ง ยกเครื่องสุขภาพ
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สัญจร ที่ อ.สมุย จ.สุราษฎร์ธานี เห็นชอบเรื่องกองทุนส่งเสริมสุขภาพท้องถิ่น ซึ่งกระจายอยู่ในท้องถิ่น 4,900 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งกองทุนนี้เป็นการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพ รวมถึงการป้องกันการระบาดของโรค โดยส่วนกลางจะเป็นผู้ประสานกับองค์กรต่างๆ ในชุมชน โดยเพิ่มงบประมาณจากการกันงบเหมาจ่ายรายหัวเดิม 37.50 บาท เป็น 40 บาทต่อหัวต่อปี
“กองทุนนี้อาจนำไปใช้ในการส่งเสริมป้องกันโรค เช่น โรคไข้ปวดข้อชิคุนกุนยา ซึ่งดำเนินการป้องกันไม่ยาก นำเงินกองทุนไปซื้อยาป้องกันยุงแจกชาวบ้าน ไม่ให้ยุงกัด 3 เดือน เพื่อให้โรคนี้หมดไปจากประเทศไทย จากเดิมใช้ทั้งส่งเสริมให้ความรู้ อบรม สัมมนา การรักษา ป้องกัน โดยมีการกำหนดสัดส่วนอำนาจให้สามารถนำงบประมาณดังกล่าวให้สามารถใช้ในแต่ละช่วงวิกฤตได้” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยากล่าวว่า ทั้งนี้ในส่วนการบริหารงานกองทุนบริหารงานเอง มีผู้แทนจากหลายภาคส่วน นายก องค์การบริหารส่วนตำบล ตัวแทนภาคประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะมีความเข้าใจปัญหา และความต้องการของพื้นที่อย่างดี โดยประสานงานกับคณะกรรมการระดับตำบล ท้องถิ่น
“นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้กันงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2553 จำนวน 600 ล้านบาท หรือ 12.50 บาทต่อประชากร จากที่ได้รับเพิ่ม 199 บาทต่อประชากร เพื่อชดเชยค่าบริการเพิ่มเติมให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ผ่านเกณฑ์แล้ว ตั้งเป้าหมายในปี 2553 จะเพิ่มโรงพยาบาลส่งเสริมฯให้ได้เป็นจำนวน 100 แห่ง ซึ่งดูแลประชากรจำนวน 1 ล้านคน เพิ่มให้แต่ละแห่ง 1 ล้านบาท รวมเพิ่ม 100 ล้านบาท”นายวิทยา กล่าว
นายวิทยากล่าวอีกว่า ขณะที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนที่เป็นเครือข่ายจำนวน 2,000 แห่ง ดูแลประชากรแห่งละ 50,000 คน จัดสรรงบเพิ่มเติมให้แห่งละ 2.5 แสนบาท รวมเป็นเงิน 500 ล้านบาท ซึ่งงบดังกล่าว จะทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมฯ มีความคล่องตัวทางด้านงบประมาณ สามารถทำงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพในชุมชนได้ดียิ่งขึ้น
“อย่างไรก็ตาม รูปแบบโรงพยาบาลดังกล่าว ยังมีบริการอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษา แพทย์ ในโรงพยาบาลพี่เลี้ยง หรือส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา ในกรณีฉุกเฉินจะมีระบบการแพทย์ฉุกเฉินในการออกไปรับผู้ป่วย และปฐมพยาบาลก่อนส่งต่อ เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตอบสนองความต้องการของชุมชน เป็นบริการใกล้บ้านใกล้ใจอย่างแท้จริง” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สัญจร ที่ อ.สมุย จ.สุราษฎร์ธานี เห็นชอบเรื่องกองทุนส่งเสริมสุขภาพท้องถิ่น ซึ่งกระจายอยู่ในท้องถิ่น 4,900 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งกองทุนนี้เป็นการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพ รวมถึงการป้องกันการระบาดของโรค โดยส่วนกลางจะเป็นผู้ประสานกับองค์กรต่างๆ ในชุมชน โดยเพิ่มงบประมาณจากการกันงบเหมาจ่ายรายหัวเดิม 37.50 บาท เป็น 40 บาทต่อหัวต่อปี
“กองทุนนี้อาจนำไปใช้ในการส่งเสริมป้องกันโรค เช่น โรคไข้ปวดข้อชิคุนกุนยา ซึ่งดำเนินการป้องกันไม่ยาก นำเงินกองทุนไปซื้อยาป้องกันยุงแจกชาวบ้าน ไม่ให้ยุงกัด 3 เดือน เพื่อให้โรคนี้หมดไปจากประเทศไทย จากเดิมใช้ทั้งส่งเสริมให้ความรู้ อบรม สัมมนา การรักษา ป้องกัน โดยมีการกำหนดสัดส่วนอำนาจให้สามารถนำงบประมาณดังกล่าวให้สามารถใช้ในแต่ละช่วงวิกฤตได้” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยากล่าวว่า ทั้งนี้ในส่วนการบริหารงานกองทุนบริหารงานเอง มีผู้แทนจากหลายภาคส่วน นายก องค์การบริหารส่วนตำบล ตัวแทนภาคประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะมีความเข้าใจปัญหา และความต้องการของพื้นที่อย่างดี โดยประสานงานกับคณะกรรมการระดับตำบล ท้องถิ่น
“นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้กันงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2553 จำนวน 600 ล้านบาท หรือ 12.50 บาทต่อประชากร จากที่ได้รับเพิ่ม 199 บาทต่อประชากร เพื่อชดเชยค่าบริการเพิ่มเติมให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ผ่านเกณฑ์แล้ว ตั้งเป้าหมายในปี 2553 จะเพิ่มโรงพยาบาลส่งเสริมฯให้ได้เป็นจำนวน 100 แห่ง ซึ่งดูแลประชากรจำนวน 1 ล้านคน เพิ่มให้แต่ละแห่ง 1 ล้านบาท รวมเพิ่ม 100 ล้านบาท”นายวิทยา กล่าว
นายวิทยากล่าวอีกว่า ขณะที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนที่เป็นเครือข่ายจำนวน 2,000 แห่ง ดูแลประชากรแห่งละ 50,000 คน จัดสรรงบเพิ่มเติมให้แห่งละ 2.5 แสนบาท รวมเป็นเงิน 500 ล้านบาท ซึ่งงบดังกล่าว จะทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมฯ มีความคล่องตัวทางด้านงบประมาณ สามารถทำงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพในชุมชนได้ดียิ่งขึ้น
“อย่างไรก็ตาม รูปแบบโรงพยาบาลดังกล่าว ยังมีบริการอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษา แพทย์ ในโรงพยาบาลพี่เลี้ยง หรือส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา ในกรณีฉุกเฉินจะมีระบบการแพทย์ฉุกเฉินในการออกไปรับผู้ป่วย และปฐมพยาบาลก่อนส่งต่อ เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตอบสนองความต้องการของชุมชน เป็นบริการใกล้บ้านใกล้ใจอย่างแท้จริง” นายวิทยา กล่าว