พม.รับลูกรัฐบาล เร่งสกัดยาเสพติดแพร่ระบาดด้วยยุทธศาสตร์รั้วครอบครัว ตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน 4,252 แห่งทั่วประเทศ เฝ้าระวังปัญหายานรก เหน็บ “รัฐบาลแม้ว” แก้ปัญหายาเสพติดลดลงจริงแต่สังคมโลกกังขา มาตรการฆ่าตัดตอนทำหลายประเทศเคลือบแคลงสงสัย เผยรอบ 5 ปีมีกว่า 2 แสนครอบครัวเสี่ยงติดยา ประมาณการผู้เสพหน้าใหม่ปีละกว่า 7 หมื่นคน
วันนี้ (12 มิ.ย.) ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดสัมมนาผู้บริหารตามแผนยุทธศาสตร์และกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดย นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นประธานเปิดการประชุมพร้อมทั้งมอบนโยบายแก่ผู้บริหาร และหัวหน้าหน่วยงานทั่วประเทศว่า ปัญหายาเสพติดเป็นภัยต่อความสงบของประชาชนและภัยความมั่นคงของประเทศ โดยขณะนี้มีผู้ติดยาเสพติดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จากปัจจัยหลัก 5 ประการ คือ 1.พื้นที่ชายแดนที่มาจากแหล่งผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ยาบ้า กัญชา เฮโรอีน ที่ลักลอบนำเข้ากว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่นำเข้าทั้งหมด ใน 18 อำเภอ 8 จังหวัดชายแดน 2. พื้นที่ที่ยาเสพติดยังคงแพร่ระบาดอยู่ถึง 26 จังหวัด หรือเกือบร้อยละ 70 ของทั้งประเทศ และจากฐานข้อมูล ชุมชนที่มียาเสพติดเฉพาะปี 51 ของป.ป.ส. พบประมาณ 15,000 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 15 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ 3.ปัจจัยเสี่ยงค่านิยมสังคม พฤติกรรมทางลบของเยาวชน แหล่งมั่วสุมอบายมุข 4.ความอ่อนแอของครอบครัว และ 5.ปัจจัยเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาว่างงาน ยากจน อาชญากรรม เป็นต้น
นายอิสสระ กล่าวต่อว่า รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยกำหนดยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน ได้แก่ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน รั้วครอบครัว ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันภัยยาเสพติดในระดับพื้นที่และลดความเดือดร้อนของประชาชน โดยพม.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดูแลรั้วครอบครัว คือ เร่งสร้างครอบครัวเข้มแข็งเพื่อป้องกันยาเสพติด พร้อมทั้งตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดเพื่อประสานการทำงานกับกอ.รมน. นอกจากนั้นกระทรวง พม.ได้ตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน 4,252 แห่ง ทั่วประเทศ เข้าไปเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด โดยให้ถือว่ายาเสพติดเป็นภัยความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ เป็นปัญหาใหญ่ซึ่งแต่ละปีรัฐบาลต้องใช้งบมหาศาลเพื่อแก้ไขปัญหา
“การปราบปรามยาเสพติดมีหลายวิธีที่รัฐบาลทำ แต่ครั้งหนึ่งรัฐบาลทักษิณได้ใช้มาตรการเด็ดขาดรุนแรง ซึ่งยอมรับว่ายาเสพติดลดลงมาก แต่มีผลต่อสังคมไทยสังคมโลก มีการกล่าวหาฆ่าตัดตอน ทำให้ผู้ตกเป็นกลุ่มเป้าหมายเข้าข่ายมีส่วนร่วมถูกยิงทิ้ง ฆ่าทิ้ง โดยไม่ผ่านกระบวนการศาล ประชาชนส่วนหนึ่งพอใจว่ายาเสพติดลดลง แต่มีคนอีกส่วนที่บอกว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดแต่ต้องถูกฆ่าเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยไปทุกประเทศ และผลของนโยบายครั้งนั้นทำให้มีคนตายกว่า 2,500 คน จนองค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลก รับไม่ได้ หากรัฐบาลนี้จะใช้วิธีการแบบรัฐบาลทักษิณก็ไม่ยาก แต่จะไม่เป็นที่ยอมรับ เราจึงใช้วิธีการให้ทุกภาคส่วนทุกหน่วยมาร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจัง กระทรวงพม.มีหน้าที่ดูแลสังคม ต้องให้รั้วครอบครัวเข้าใจเข้าถึงการแก้ปัญหายาเสพติด เชื่อว่าปัญหาอาจวนมาที่ครอบครัวเราได้ตลอดเวลาเพราะเครือข่ายยากว้างขวางน่ากลัวมาก น่าดีใจที่สถานสงเคราะห์ทั่วประเทศของพม.ยังไม่มีปัญหาแบบนี้ ทั้งนี้ผู้ใดพบเห็นปัญหายาเสพติดแล้วไม่กล้าแจ้งตำรวจ ให้แจ้งมาที่สายด่วน 1300 ของพม.ได้ตลอด 24 ชม.”รมว.พม.กล่าว
สำหรับยุทธศาสตร์รั้วครอบครัวของกระทรวง พม. เพื่อเข้าไปส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว เนื่องจากข้อมูลผู้ถูกจับกุมและบำบัดรักษายาเสพติดในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา มีครอบครัวเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติดประมาณ 2 แสนครอบครัว โดยมีบุคคลภายในครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และมีแนวโน้มครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากขึ้น นอกจากนั้นได้ประมาณการว่าแต่ละปีมีผู้เสพยาหน้าใหม่มีประมาณ 7 หมื่นคน ผู้ที่กลับไปเสพยาซ้ำประมาณ 3-4 หมื่นคน รวมประมาณ 1 แสนคน ใกล้เคียงกับจำนวนผู้ถูกจับกุมและบำบัดรักษาที่มีประมาณ 1.6 แสนคน หรือร้อยละ 25 ของผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งหมด ขณะที่ยังมีผู้ค้าและผู้เสพยังอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศ และบางส่วนเป็นเครือข่ายรายสำคัญที่พัฒนารูปแบบการค้าที่ส่งผลให้ยาเสพติดกระจายตัวแพร่ระบาดทั่วประเทศขณะนี้
วันนี้ (12 มิ.ย.) ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดสัมมนาผู้บริหารตามแผนยุทธศาสตร์และกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดย นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นประธานเปิดการประชุมพร้อมทั้งมอบนโยบายแก่ผู้บริหาร และหัวหน้าหน่วยงานทั่วประเทศว่า ปัญหายาเสพติดเป็นภัยต่อความสงบของประชาชนและภัยความมั่นคงของประเทศ โดยขณะนี้มีผู้ติดยาเสพติดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จากปัจจัยหลัก 5 ประการ คือ 1.พื้นที่ชายแดนที่มาจากแหล่งผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ยาบ้า กัญชา เฮโรอีน ที่ลักลอบนำเข้ากว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่นำเข้าทั้งหมด ใน 18 อำเภอ 8 จังหวัดชายแดน 2. พื้นที่ที่ยาเสพติดยังคงแพร่ระบาดอยู่ถึง 26 จังหวัด หรือเกือบร้อยละ 70 ของทั้งประเทศ และจากฐานข้อมูล ชุมชนที่มียาเสพติดเฉพาะปี 51 ของป.ป.ส. พบประมาณ 15,000 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 15 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ 3.ปัจจัยเสี่ยงค่านิยมสังคม พฤติกรรมทางลบของเยาวชน แหล่งมั่วสุมอบายมุข 4.ความอ่อนแอของครอบครัว และ 5.ปัจจัยเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาว่างงาน ยากจน อาชญากรรม เป็นต้น
นายอิสสระ กล่าวต่อว่า รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยกำหนดยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน ได้แก่ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน รั้วครอบครัว ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันภัยยาเสพติดในระดับพื้นที่และลดความเดือดร้อนของประชาชน โดยพม.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดูแลรั้วครอบครัว คือ เร่งสร้างครอบครัวเข้มแข็งเพื่อป้องกันยาเสพติด พร้อมทั้งตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดเพื่อประสานการทำงานกับกอ.รมน. นอกจากนั้นกระทรวง พม.ได้ตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน 4,252 แห่ง ทั่วประเทศ เข้าไปเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด โดยให้ถือว่ายาเสพติดเป็นภัยความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ เป็นปัญหาใหญ่ซึ่งแต่ละปีรัฐบาลต้องใช้งบมหาศาลเพื่อแก้ไขปัญหา
“การปราบปรามยาเสพติดมีหลายวิธีที่รัฐบาลทำ แต่ครั้งหนึ่งรัฐบาลทักษิณได้ใช้มาตรการเด็ดขาดรุนแรง ซึ่งยอมรับว่ายาเสพติดลดลงมาก แต่มีผลต่อสังคมไทยสังคมโลก มีการกล่าวหาฆ่าตัดตอน ทำให้ผู้ตกเป็นกลุ่มเป้าหมายเข้าข่ายมีส่วนร่วมถูกยิงทิ้ง ฆ่าทิ้ง โดยไม่ผ่านกระบวนการศาล ประชาชนส่วนหนึ่งพอใจว่ายาเสพติดลดลง แต่มีคนอีกส่วนที่บอกว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดแต่ต้องถูกฆ่าเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยไปทุกประเทศ และผลของนโยบายครั้งนั้นทำให้มีคนตายกว่า 2,500 คน จนองค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลก รับไม่ได้ หากรัฐบาลนี้จะใช้วิธีการแบบรัฐบาลทักษิณก็ไม่ยาก แต่จะไม่เป็นที่ยอมรับ เราจึงใช้วิธีการให้ทุกภาคส่วนทุกหน่วยมาร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจัง กระทรวงพม.มีหน้าที่ดูแลสังคม ต้องให้รั้วครอบครัวเข้าใจเข้าถึงการแก้ปัญหายาเสพติด เชื่อว่าปัญหาอาจวนมาที่ครอบครัวเราได้ตลอดเวลาเพราะเครือข่ายยากว้างขวางน่ากลัวมาก น่าดีใจที่สถานสงเคราะห์ทั่วประเทศของพม.ยังไม่มีปัญหาแบบนี้ ทั้งนี้ผู้ใดพบเห็นปัญหายาเสพติดแล้วไม่กล้าแจ้งตำรวจ ให้แจ้งมาที่สายด่วน 1300 ของพม.ได้ตลอด 24 ชม.”รมว.พม.กล่าว
สำหรับยุทธศาสตร์รั้วครอบครัวของกระทรวง พม. เพื่อเข้าไปส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว เนื่องจากข้อมูลผู้ถูกจับกุมและบำบัดรักษายาเสพติดในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา มีครอบครัวเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติดประมาณ 2 แสนครอบครัว โดยมีบุคคลภายในครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และมีแนวโน้มครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากขึ้น นอกจากนั้นได้ประมาณการว่าแต่ละปีมีผู้เสพยาหน้าใหม่มีประมาณ 7 หมื่นคน ผู้ที่กลับไปเสพยาซ้ำประมาณ 3-4 หมื่นคน รวมประมาณ 1 แสนคน ใกล้เคียงกับจำนวนผู้ถูกจับกุมและบำบัดรักษาที่มีประมาณ 1.6 แสนคน หรือร้อยละ 25 ของผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งหมด ขณะที่ยังมีผู้ค้าและผู้เสพยังอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศ และบางส่วนเป็นเครือข่ายรายสำคัญที่พัฒนารูปแบบการค้าที่ส่งผลให้ยาเสพติดกระจายตัวแพร่ระบาดทั่วประเทศขณะนี้