“วิทยา” เอาใจจ่ายค่าตอบแทน อสม.ต่อเนื่องอีก 1 ปี ตั้งงบประมาณ ปี 2553 กว่า 7 พันล้านบาท พร้อมทุ่มงบ 200 ล้านบาท ยกฐานะโรงพยาบาลประจำจังหวัดนราธิวาส เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประสิทธิภาพการรักษาเทียบชั้น รพ.สงขลานครินทร์ เป็นที่พึ่งยามเจ็บป่วย เผยปี 2554 เตรียมบรรจุพยาบาลจบใหม่ 3 พันคนเป็นข้าราชการ รองรับผู้ป่วยในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนใต้
วันที่ 4 มิถุนายน ที่ห้องประชุมไพจิตร์ ปวบุตร อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการพบปะกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)จ.นราธิวาส กว่า 150 คน ที่เดินทางมาจากการศึกษาดูงานที่ จ.นครราชสีมา ว่า ขณะนี้รัฐบาลใช้งบประมาณกว่า 3 พันล้านบาท ในการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับ อสม.ทั่วประเทศ จำนวน 987,019 คน คนละ 600 บาท เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ย. 2552 ตนได้รับการเรียกร้องจาก อสม.ในบางพื้นที่ขอให้เพิ่มเติมการจ่ายค่าตอบแทนให้มีความต่อเนื่อง ดังนั้น ในงบประมาณปกติของ สธ.ปี 2553 ได้มีการตั้งงบประมาณไว้กว่า 7 พันล้านบาท รองรับในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับอสม.ตั้งแต่เดือน ต.ค.52-ก.ย.53 เพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจ อสม.ในการปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพประชาชน
นายวิทยา กล่าวต่อว่า หลังจากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางกลับจากการตรวจเยี่ยมพื้นที่ จ.นราธิวาส ได้สั่งการให้กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ยกฐานะโรงพยาบาลนราธิวาส ที่เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด ขึ้นเป็นโรงพยาบาลศูนย์ สธ.จึงได้เตรียมงบประมาณรองรับในการปรับปรุงโรงพยาบาล จำนวนประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ รวมถึงการจัดหาแพทย์และพยาบาลให้มีจำนวนที่เพียงพอ คาดว่า จะสามารถเริ่มดำเนินการและยกฐานะโรงพยาบาลได้ภายในปี 2553
“เมื่อโรงพยาบาลนราธิวาสได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์แล้ว จะช่วยให้คนในพื้นที่เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพมากขึ้น และในอนาคตอาจจะพัฒนาต่อเนื่องให้กลายเป็นโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในสาขาโรคที่มีอัตราประชาชนในพื้นที่ป่วยเป็นจำนวนมาก และหวังว่าจะเป็นโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งที่สามารถให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพให้กับคนในพื้นที่ได้เทียบเท่ากับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ หรือชาวบ้านเรียกว่า โรงพยาบาล มอ.ที่เป็นโรงพยาบาลที่พึ่งสูงสุดของคนใต้ยามเจ็บป่วย” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า ในปี 2554 พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จ.สงขลา ยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส จะมีพยาบาลเพียงพอสำหรับการดูแลประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากสมัยที่ นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เริ่มโครงการนำนักเรียนจาก 4 จังหวัด จำนวน 3 พันคน เข้าศึกษาในคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปี 2 และจะสำเร็จการศึกษาในปี 2554 โดยตนจะขออัตราบรรจุให้เป็นข้าราชการไม่ใช่ลูกจ้างของโรงพยาบาล
วันที่ 4 มิถุนายน ที่ห้องประชุมไพจิตร์ ปวบุตร อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการพบปะกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)จ.นราธิวาส กว่า 150 คน ที่เดินทางมาจากการศึกษาดูงานที่ จ.นครราชสีมา ว่า ขณะนี้รัฐบาลใช้งบประมาณกว่า 3 พันล้านบาท ในการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับ อสม.ทั่วประเทศ จำนวน 987,019 คน คนละ 600 บาท เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ย. 2552 ตนได้รับการเรียกร้องจาก อสม.ในบางพื้นที่ขอให้เพิ่มเติมการจ่ายค่าตอบแทนให้มีความต่อเนื่อง ดังนั้น ในงบประมาณปกติของ สธ.ปี 2553 ได้มีการตั้งงบประมาณไว้กว่า 7 พันล้านบาท รองรับในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับอสม.ตั้งแต่เดือน ต.ค.52-ก.ย.53 เพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจ อสม.ในการปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพประชาชน
นายวิทยา กล่าวต่อว่า หลังจากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางกลับจากการตรวจเยี่ยมพื้นที่ จ.นราธิวาส ได้สั่งการให้กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ยกฐานะโรงพยาบาลนราธิวาส ที่เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด ขึ้นเป็นโรงพยาบาลศูนย์ สธ.จึงได้เตรียมงบประมาณรองรับในการปรับปรุงโรงพยาบาล จำนวนประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ รวมถึงการจัดหาแพทย์และพยาบาลให้มีจำนวนที่เพียงพอ คาดว่า จะสามารถเริ่มดำเนินการและยกฐานะโรงพยาบาลได้ภายในปี 2553
“เมื่อโรงพยาบาลนราธิวาสได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์แล้ว จะช่วยให้คนในพื้นที่เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพมากขึ้น และในอนาคตอาจจะพัฒนาต่อเนื่องให้กลายเป็นโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในสาขาโรคที่มีอัตราประชาชนในพื้นที่ป่วยเป็นจำนวนมาก และหวังว่าจะเป็นโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งที่สามารถให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพให้กับคนในพื้นที่ได้เทียบเท่ากับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ หรือชาวบ้านเรียกว่า โรงพยาบาล มอ.ที่เป็นโรงพยาบาลที่พึ่งสูงสุดของคนใต้ยามเจ็บป่วย” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า ในปี 2554 พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จ.สงขลา ยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส จะมีพยาบาลเพียงพอสำหรับการดูแลประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากสมัยที่ นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เริ่มโครงการนำนักเรียนจาก 4 จังหวัด จำนวน 3 พันคน เข้าศึกษาในคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปี 2 และจะสำเร็จการศึกษาในปี 2554 โดยตนจะขออัตราบรรจุให้เป็นข้าราชการไม่ใช่ลูกจ้างของโรงพยาบาล