ขู่ฟ้องจุฬาฯ อีกระลอก ชี้เกณฑ์รับตรงวิธีพิเศษ “พระเกี้ยว”’ละเมิดสิทธิเด็ก เพราะใช้คะแนน GAT/PAT ครั้งที่ 1 ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้สอบ ถือเป็นการประกาศย้อนหลัง ด้านรองอธิการบดีจุฬาฯ ยืนยันเดินหน้า ไม่ทบทวนเกณฑ์ใหม่ พร้อมแจงศาลหากถูกฟ้องอีก
นายอำนวย สุนทรโชติ ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ เปิดเผยว่า ชมรมฯ ขอให้ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบทวนหลักเกณฑ์ในการรับบุคคลเข้าศึกษาโดยวิธีรับตรงประเภทพิเศษประจำปีการศึกษา 2553 ที่ได้ประกาศเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ว่าจะใช้ผลการสอบการวัดความถนัดทั่วไป (GAT) และผลการสอบการวัดความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) สูงสุดจากครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม 2552 หรือครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2552 เป็นองค์ประกอบหนึ่ง เนื่องจากชมรมฯ พบว่าประกาศหลักเกณฑ์ดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่การสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 ได้เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อเดือนมีนาคม 2552 ประกอบกับการสอบ GAT และ PAT นั้นเป็นการสอบที่นักเรียนชั้น ม.6ปัจจุบันสามารถเลือกสอบได้สี่ครั้งตามความพร้อมของตนเองโดยไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทุกครั้ง และ สทศ.ก็ได้รณรงค์มาตลอดว่าถ้านักเรียนคนใดไม่พร้อมก็ไม่ต้องสมัครสอบ และก่อนหน้านี้นักเรียนก็ไม่ทราบว่าจะมีการกำหนดให้นำคะแนน GAT และ PAT ครั้งที่ 1 มาใช้ ดังนั้น จึงมีนักเรียนจำนวนมากที่ไม่ได้สมัครสอบหรือสอบไม่ครบทุกวิชาที่ต้องการในครั้งที่ 1
ดังนั้น ประกาศของจุฬาฯ จึงมีลักษณะของการประกาศย้อนหลังที่ทำให้เกิดการละเมิดนักเรียนจำนวนมาก และเป็นการกระทำที่ขาดคุณธรรม และขาดการใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วนจากผู้ที่รอบรู้อย่างแท้จริง ซึ่งถ้าหากจุฬาฯ ไม่ทบทวน เด็กนักเรียนผู้เสียหายได้เตรียมฟ้องศาลปกครองเพิ่มเติมแล้ว จากเดิมที่มีการฟ้องศาลปกครองจังหวัดระยองกรณีจุฬาฯ รับตรงแบบปกติละเมิดสิทธิเด็ก ซึ่งศาลฯ ก็ได้รับฟ้องไปแล้ว
“ถือเป็นการละเมิดสิทธิเด็กที่ไม่ได้สอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 ซึ่งถ้าเด็กเข้าสอบอาจทำคะแนนครั้งที่ 1 สูงกว่าครั้งที่ 2 ก็ได้ถ้าข้อสอบง่ายกว่า ที่สำคัญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ใดๆ ต้องประกาศให้เด็กทราบล่วงหน้า 3 ปี แต่ของจุฬาฯ กลับประกาศหลักเกณฑ์ย้อนหลัง เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าจุฬาฯ ไม่ได้ใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วน ทั้งที่ประกาศใดๆของจุฬาฯนั้น จะมีผลกระทบกับการศึกษาของชาติในวงกว้างและรุนแรง ” นายอำนวย กล่าว
ด้าน ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาฯ พร้อมที่จะชี้แจงถ้ามีการฟ้องศาลฯ ซึ่งคิดอยู่แล้วว่าคงจะมีคนฟ้อง แต่เรายืนยันว่าประกาศดังกล่าวอยู่บนหลักการที่ต้องการเพิ่มโอกาสแก่เด็กมากที่สุดเพราะมีเด็กสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 มากถึง 2 แสนคน ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่ต้องการเข้าจุฬาฯ ก็อยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนที่ระบุว่าต้องการเข้าจุฬาฯ แต่ไม่ได้สอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 เพราะไม่รู้ล่วงหน้าว่าจุฬาฯ จะใช้ผลสอบนั้น ไม่น่าจะเกี่ยวกัน ดังนั้น เรื่องนี้จุฬาฯ จะไม่ทบทวนเพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์ใดๆ อีกแล้ว
นายอำนวย สุนทรโชติ ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ เปิดเผยว่า ชมรมฯ ขอให้ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบทวนหลักเกณฑ์ในการรับบุคคลเข้าศึกษาโดยวิธีรับตรงประเภทพิเศษประจำปีการศึกษา 2553 ที่ได้ประกาศเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ว่าจะใช้ผลการสอบการวัดความถนัดทั่วไป (GAT) และผลการสอบการวัดความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) สูงสุดจากครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม 2552 หรือครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2552 เป็นองค์ประกอบหนึ่ง เนื่องจากชมรมฯ พบว่าประกาศหลักเกณฑ์ดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่การสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 ได้เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อเดือนมีนาคม 2552 ประกอบกับการสอบ GAT และ PAT นั้นเป็นการสอบที่นักเรียนชั้น ม.6ปัจจุบันสามารถเลือกสอบได้สี่ครั้งตามความพร้อมของตนเองโดยไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทุกครั้ง และ สทศ.ก็ได้รณรงค์มาตลอดว่าถ้านักเรียนคนใดไม่พร้อมก็ไม่ต้องสมัครสอบ และก่อนหน้านี้นักเรียนก็ไม่ทราบว่าจะมีการกำหนดให้นำคะแนน GAT และ PAT ครั้งที่ 1 มาใช้ ดังนั้น จึงมีนักเรียนจำนวนมากที่ไม่ได้สมัครสอบหรือสอบไม่ครบทุกวิชาที่ต้องการในครั้งที่ 1
ดังนั้น ประกาศของจุฬาฯ จึงมีลักษณะของการประกาศย้อนหลังที่ทำให้เกิดการละเมิดนักเรียนจำนวนมาก และเป็นการกระทำที่ขาดคุณธรรม และขาดการใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วนจากผู้ที่รอบรู้อย่างแท้จริง ซึ่งถ้าหากจุฬาฯ ไม่ทบทวน เด็กนักเรียนผู้เสียหายได้เตรียมฟ้องศาลปกครองเพิ่มเติมแล้ว จากเดิมที่มีการฟ้องศาลปกครองจังหวัดระยองกรณีจุฬาฯ รับตรงแบบปกติละเมิดสิทธิเด็ก ซึ่งศาลฯ ก็ได้รับฟ้องไปแล้ว
“ถือเป็นการละเมิดสิทธิเด็กที่ไม่ได้สอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 ซึ่งถ้าเด็กเข้าสอบอาจทำคะแนนครั้งที่ 1 สูงกว่าครั้งที่ 2 ก็ได้ถ้าข้อสอบง่ายกว่า ที่สำคัญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ใดๆ ต้องประกาศให้เด็กทราบล่วงหน้า 3 ปี แต่ของจุฬาฯ กลับประกาศหลักเกณฑ์ย้อนหลัง เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าจุฬาฯ ไม่ได้ใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วน ทั้งที่ประกาศใดๆของจุฬาฯนั้น จะมีผลกระทบกับการศึกษาของชาติในวงกว้างและรุนแรง ” นายอำนวย กล่าว
ด้าน ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาฯ พร้อมที่จะชี้แจงถ้ามีการฟ้องศาลฯ ซึ่งคิดอยู่แล้วว่าคงจะมีคนฟ้อง แต่เรายืนยันว่าประกาศดังกล่าวอยู่บนหลักการที่ต้องการเพิ่มโอกาสแก่เด็กมากที่สุดเพราะมีเด็กสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 มากถึง 2 แสนคน ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่ต้องการเข้าจุฬาฯ ก็อยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนที่ระบุว่าต้องการเข้าจุฬาฯ แต่ไม่ได้สอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 เพราะไม่รู้ล่วงหน้าว่าจุฬาฯ จะใช้ผลสอบนั้น ไม่น่าจะเกี่ยวกัน ดังนั้น เรื่องนี้จุฬาฯ จะไม่ทบทวนเพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์ใดๆ อีกแล้ว