“หมอกมลพรรณ” พานักเรียน ม.ปลาย ยื่นหนังสือ รมช.ศึกษาธิการ ขอให้ยกเลิกเกณฑ์ กสพท.ที่จะไม่พิจารณาคะแนนเอเน็ต และคะแนนความถนัดทางวิชาชีพ หากทำคะแนนโอเน็ตได้ไม่ถึง ร้อยละ 60 อ้างละเมิดสิทธิเด็ก และปิดโอกาสเด็กที่จบก่อนปี 2548 อยากสอบใหม่ เพราะไม่มีคะแนนโอเน็ต
วันนี้ (30 เม.ย.) เวลา 09.00 น.ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กลุ่มนักเรียนชั้น ม.ปลายประมาณ 10 คน นำโดย พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุ์ศรี ประธานเครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ เพื่อขอให้พิจารณาศึกษา สืบสวนกรณีที่เด็กถูกละเมิดสิทธิจากการจัดการศึกษา และการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โดย พญ.กมลพรรณ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับการร้องเรียนจากนักเรียนที่สอบคัดเลือกระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ปีการศึกษา 2552 เนื่องจากมีคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ไม่ถึง 60% จึงไม่ได้รับการพิจารณาคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) และคะแนนการสอบความถนัดทางการแพทย์ ซึ่งเห็นว่าเรื่องนี้ไม่มีความยุติธรรม จึงต้องการให้ยกเลิกเกณฑ์ดังกล่าว เพราะสร้างภาระแก่เยาวชน ถ่วงศักยภาพเด็กที่ต้องเตรียมความรู้ในการศึกษาต่อ เนื่องจากการสอบโอเน็ตนั้น มีบางวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องกับคณะแพทยศาสตร์ ขณะเดียวกัน ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนที่จบการศึกษาก่อนปีการศึกษา 2548 ซึ่งไม่มีคะแนนโอเน็ตมีสิทธิ์สอบคัดเลือกของ กสพท.และมหาวิทยาลัยของรัฐ เพราะขณะนี้มีเด็กบางคนถูกรีไทร์ และคิดจะกลับมาสอบใหม่ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ จึงถือเป็นการลิดรอนสิทธิ์ และปิดโอกาสในการเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาของรัฐด้วย
“นอกจากนี้ จะขอให้ยกเลิกการใช้คะแนนโอเน็ต และคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย หรือ จีพีเอเอ็กซ์ ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับกลาง การรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชัน โดยให้พิจารณาจากคะแนนการทดสอบแบบการวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการวัดศักยภาพทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT เท่านั้น ซึ่งแม้ที่ผ่านมาทาง ศธ.จะออกมาระบุว่า การใช้คะแนนจีพีเอเอ็กซ์ และโอเน็ต จะทำให้เด็กสนใจเรียนในห้องมากขึ้น และหันไปกวดวิชา รวมทั้งโดดเรียนน้อยลง แต่เมื่อดูจากผลวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว พบว่า สัดส่วนการเรียนกวดวิชาเพิ่มมากขึ้น โดยเห็นได้จากมูลค่าของรายได้ที่เกิดจากการกวดวิชาจากเดิม 6 พันล้านบาท เป็น 25,000 ล้านบาท จึงไม่มั่นใจว่าจะช่วยลดการกวดวิชาได้จริงหรือไม่ ขณะเดียวกันการสอบโอเน็ตก็สอบได้เพียงครั้งเดียวในชีวิตด้วย จึงควรยกเลิกอย่างยิ่ง” พญ.กมลพรรณ กล่าว
ประธานเครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวอีกว่า อยากให้กลับมาใช้ระบบเอนทรานซ์เหมือนเดิม โดยใช้ความรู้ของ ม.6 เท่านั้น ไม่ควรนำข้อสอบของชั้นปี 1-2 มาใช้ เพราะจะทำให้ข้อสอบยากเกินไป และเด็กจะหันไปกวดวิชา ส่วนการสอบ GAT และ PAT นั้น ไม่อยากให้มีการเปิดสอบ โดยใครก็สามารถมาสอบได้ แต่ควรจำกัดเฉพาะเด็ก ม.6 เท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้นเด็กจะเร่งเรียน และไม่สนใจเรียนในห้อง รวมทั้งจะทำให้เด็กเสียค่าใช้จ่ายในการสอบค่อนข้างมากด้วย โดยที่ผ่านมาทราบว่ามีโรงเรียนขนาดใหญ่หลายแห่งได้รวบการเรียนในภาคเรียนที่ 2 มาสอนในภาคเรียนที่ 1 เพื่อให้เด็กสอบได้ทันในครั้งที่ 2 และ 3 ขณะเดียวก็ควรให้เด็กสอบ GAT และ PAT โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสองครั้งต่อปี รวมทั้งมหาวิทยาลัยควรยกเลิก หรือจัดสอบระบบรับตรงให้น้อยลง เพราะเด็กที่มีฐานะยากจนจะหมดสิทธิ์ทันที เนื่องจากไม่มีเงินที่จะไปวิ่งสอบหลายที่
พญ.กมลพรรณ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) นำข้อสอบ GAT และ PAT ขึ้นเว็บไซต์ จะมีการจัดประชุมฟอรั่มเพื่อวิเคราะห์ข้อสอบว่าเป็นข้อสอบที่เหมาะสมหรือไม่ และเด็กได้ประโยชน์อะไรจากคำถามแต่ละข้อ
วันนี้ (30 เม.ย.) เวลา 09.00 น.ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กลุ่มนักเรียนชั้น ม.ปลายประมาณ 10 คน นำโดย พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุ์ศรี ประธานเครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ เพื่อขอให้พิจารณาศึกษา สืบสวนกรณีที่เด็กถูกละเมิดสิทธิจากการจัดการศึกษา และการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โดย พญ.กมลพรรณ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับการร้องเรียนจากนักเรียนที่สอบคัดเลือกระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ปีการศึกษา 2552 เนื่องจากมีคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ไม่ถึง 60% จึงไม่ได้รับการพิจารณาคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) และคะแนนการสอบความถนัดทางการแพทย์ ซึ่งเห็นว่าเรื่องนี้ไม่มีความยุติธรรม จึงต้องการให้ยกเลิกเกณฑ์ดังกล่าว เพราะสร้างภาระแก่เยาวชน ถ่วงศักยภาพเด็กที่ต้องเตรียมความรู้ในการศึกษาต่อ เนื่องจากการสอบโอเน็ตนั้น มีบางวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องกับคณะแพทยศาสตร์ ขณะเดียวกัน ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนที่จบการศึกษาก่อนปีการศึกษา 2548 ซึ่งไม่มีคะแนนโอเน็ตมีสิทธิ์สอบคัดเลือกของ กสพท.และมหาวิทยาลัยของรัฐ เพราะขณะนี้มีเด็กบางคนถูกรีไทร์ และคิดจะกลับมาสอบใหม่ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ จึงถือเป็นการลิดรอนสิทธิ์ และปิดโอกาสในการเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาของรัฐด้วย
“นอกจากนี้ จะขอให้ยกเลิกการใช้คะแนนโอเน็ต และคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย หรือ จีพีเอเอ็กซ์ ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับกลาง การรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชัน โดยให้พิจารณาจากคะแนนการทดสอบแบบการวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการวัดศักยภาพทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT เท่านั้น ซึ่งแม้ที่ผ่านมาทาง ศธ.จะออกมาระบุว่า การใช้คะแนนจีพีเอเอ็กซ์ และโอเน็ต จะทำให้เด็กสนใจเรียนในห้องมากขึ้น และหันไปกวดวิชา รวมทั้งโดดเรียนน้อยลง แต่เมื่อดูจากผลวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว พบว่า สัดส่วนการเรียนกวดวิชาเพิ่มมากขึ้น โดยเห็นได้จากมูลค่าของรายได้ที่เกิดจากการกวดวิชาจากเดิม 6 พันล้านบาท เป็น 25,000 ล้านบาท จึงไม่มั่นใจว่าจะช่วยลดการกวดวิชาได้จริงหรือไม่ ขณะเดียวกันการสอบโอเน็ตก็สอบได้เพียงครั้งเดียวในชีวิตด้วย จึงควรยกเลิกอย่างยิ่ง” พญ.กมลพรรณ กล่าว
ประธานเครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวอีกว่า อยากให้กลับมาใช้ระบบเอนทรานซ์เหมือนเดิม โดยใช้ความรู้ของ ม.6 เท่านั้น ไม่ควรนำข้อสอบของชั้นปี 1-2 มาใช้ เพราะจะทำให้ข้อสอบยากเกินไป และเด็กจะหันไปกวดวิชา ส่วนการสอบ GAT และ PAT นั้น ไม่อยากให้มีการเปิดสอบ โดยใครก็สามารถมาสอบได้ แต่ควรจำกัดเฉพาะเด็ก ม.6 เท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้นเด็กจะเร่งเรียน และไม่สนใจเรียนในห้อง รวมทั้งจะทำให้เด็กเสียค่าใช้จ่ายในการสอบค่อนข้างมากด้วย โดยที่ผ่านมาทราบว่ามีโรงเรียนขนาดใหญ่หลายแห่งได้รวบการเรียนในภาคเรียนที่ 2 มาสอนในภาคเรียนที่ 1 เพื่อให้เด็กสอบได้ทันในครั้งที่ 2 และ 3 ขณะเดียวก็ควรให้เด็กสอบ GAT และ PAT โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสองครั้งต่อปี รวมทั้งมหาวิทยาลัยควรยกเลิก หรือจัดสอบระบบรับตรงให้น้อยลง เพราะเด็กที่มีฐานะยากจนจะหมดสิทธิ์ทันที เนื่องจากไม่มีเงินที่จะไปวิ่งสอบหลายที่
พญ.กมลพรรณ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) นำข้อสอบ GAT และ PAT ขึ้นเว็บไซต์ จะมีการจัดประชุมฟอรั่มเพื่อวิเคราะห์ข้อสอบว่าเป็นข้อสอบที่เหมาะสมหรือไม่ และเด็กได้ประโยชน์อะไรจากคำถามแต่ละข้อ