อภ.เผยประสานฮู ขอแบ่งเชื้อไวรัสมาศึกษาวิจัยแล้ว คาดต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี พัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ หากทดลองสำเร็จผลิตได้ 2.8 ล้านโดส ภายใน 1 เดือน รองรับหากเกิดระบาดใหญ่รอบ 2 พร้อมหาข้อมูลเตรียมพร้อมสำรองยาซานามิเวียร์
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ขณะนี้ อภ.อยู่ระหว่างการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช1เอ็น1 ที่ห้องปฏิบัติการคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม โดยได้ประสานผ่านทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ไปยังองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ส่งเสริมในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยในการประชุมสมัญชาองค์การอนามัยโลกในสัปดาหน้าจะขอความอนุเคราะห์ขอให้แบ่งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช1เอ็น1 เพื่อนำมาผลิตวัคซีน โดยตามขั้นตอนจะต้องมีการศึกษาวิจัยในระดับสัตว์ทดลอง จากนั้นจึงทดลองในมนุษย์ หากประสบผลสำเร็จจึงจะขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยคาดว่า จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อรองรับหากมีการระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่รอบที่ 2 หรือรอบที่ 3 ในช่วงต้นปี 2553
นพ.วิทิต กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ อภ.ได้ปรับปรุงสถานที่ห้องปฏิบัติการ (Pilot Plant) ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี โดยตัวแทนจากองค์การอนามัยโลกได้เดินทางมาตรวจสอบแล้ว เมื่อการทดลองวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นผลสำเร็จจะสามารถผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่บริการประชาชนไทยได้ทันที โดยมีกำลังผลิตได้ 2.8 ล้านโดสต่อเดือน โดยเป็นชนิดเชื้อเป็น ซึ่งจะสามารถผลิตได้ครั้งละเป็นจำนวนมากและเร็วเพื่อรองรับในการระบาดใหญ่
“อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ อภ.ยังไม่สามารถผลิตวัคซีนได้และไม่แน่นอน อภ.ได้เตรียมที่จะเจรจากับบริษัท ซาโนฟี่ ปาสเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับ อภ.ในการผลิตวัคซีนให้เป็นผู้บรรจุวัคซีนเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งยังไม่ทราบกำลังการผลิตว่าเป็นจำนวนเท่าใดแต่เชื่อว่าน่าจะมีศักยภาพเพียงพอในการดูแลประชาชนในประเทศ” นพ.วิทิต กล่าว
นพ.วิทิต กล่าวด้วยว่า ในอนาคตหากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ มีการดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ อภ.พร้อมที่จะดำเนินการตามนโยบายของกรมควบคุมโรคที่จะเป็นผู้ตัดสินใจสั่งการและวางแผนให้มีการสำรองยาซานามิเวียร์ ซึ่งยาดังกล่าวเป็นยาที่ไม่สามารถผลิตได้เอง เนื่องจากติดสิทธิบัตร โดย อภ.จะศึกษาข้อมูลยาดังกล่าวอีกครั้ง ว่ามีรายละเอียดในเรื่องราคาอย่างไรบ้าง
**ระดมสมองปรับแผนให้ยาต้านไวรัสหวัด 2009 ป้องกันดื้อยา
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญทีมงานวิชาการของสธ.อยู่ระหว่างการหารือว่าจะปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ในการให้ยาโอเซลทามิเวียร์กับผู้เข้าข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพราะเกรงว่าจะเป็นการให้ยามากเกินไปหรือไม่ ซึ่งขณะนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ส่งสัญญาณมาว่า หากใช้ยาเกินความจำเป็นจะทำให้ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เกิดการดื้อยา โดยต้องมีแผนสำรองในการรักษาว่าจะใช้ยาชนิดใดต่อไป
“เดิมแพทย์ให้ยาโอเซลทามิเวียร์กับผู้เข้าข่ายเฝ้าระวัง หากเริ่มมีอาการไข้ และมีประวัติสัมผัสกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด อาจเปลี่ยนเป็นการให้ยาสำหรับผู้ที่มีผลจากห้องปฏิบัติการยืนยันว่าป่วย จึงจะให้ยา เพื่อป้องกันการใช้ยามากเกินไปจนทำให้ผลเสียตามมาคือการดื้อยาเร็วขึ้น”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
**หารือเตรียมสำรองยาซานามิเวียร์
นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมทีมวิชาการด้านการแพทย์ว่า ได้หารือเกี่ยวกับการสำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ และยาต้านไวรัสซานามิเวียร์ ชนิดพ่น ใช้ในกรณีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และผู้ป่วยไข้หวัดนกดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ โดยนักวิชาการได้ให้คำแนะนำว่า การสำรองยาต้านไวรัส โอเซลทามิเวียร์ในขณะนี้จำนวน 4.2 ล้านเม็ด รองรับผู้ป่วย 4.2 แสนคน ถือว่าเพียงพอแล้ว แต่หากได้เพิ่มอีก 2 ล้านเม็ดตามที่ตั้งเป้าไว ก็จะสร้างความมั่งคงในการดูแลผู้ป่วยในประเทศอย่างมาก ซึ่ง สธ.ได้เสนอ ครม.ของบประมาณ 80 ล้านบาท ในการสั่งซื้อวัตถุดิบในการผลิตยาในส่วนนี้แล้ว คาดว่า ครม.จะพิจารณาในสัปดาห์หน้า
นพ.มล.สมชาย กล่าวต่อว่า สำหรับยาต้านไวรัส ซานามิเวียร์ นักวิชาการได้เสนอว่า ไทยควรมีการสำรองยาดังกล่าว แต่ไม่จำเป็นต้องสำรองจำนวนมาก เนื่องจากเป็นยาที่ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์เท่านั้น ซึ่งสัดส่วนการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ยังไม่มีมากเพราะเป็นเชื้อชนิดใหม่ ประกอบกับไทยมีผู้ที่ทานยาโอเซลทามิเวียร์จำนวนน้อยมาก และยังไม่มีการดื้อยาแต่อย่างใด
“บางประเทศได้มีการสำรองยาโอเซลทามิเวียร์ และซานามิเวียร์ ในสัดส่วน 80/20 หรือ 90/10 แต่ประเทศไทยคงไม่จำเป็นถึงขนาดนั้น เนื่องจากยาดังกล่าวมีราคาแพง ราคาชุดละ 900 บาท และยังไม่มีความต้องการในการใช้มาก โดยไทยอาจจะสั่งซื้อยาสำรองรองรับผู้ป่วยหลักพันหรือหลักหมื่นคนเท่านั้น ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาซานามิเวียร์ จะต้องพ่นยา วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกัน 4 วัน จึงจะถือว่ารักษาครบชุด” นพ.มล.สมชาย กล่าว
**ตั้งงบ 4-5 ล้าน ต่อรองราคาเหลือไม่เกิน 500 บาท ต่อชุด
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีบริษัทยาเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่สามารถผลิตยาซานามิเวียร์ได้ โดยเบื้องต้น กรมควบคุมโรคจะเชิญบริษัทยาดังกล่าวมาเจรจาต่อรองราคายา คาดว่าจะลดลงมาได้ไม่ถึง 500 บาทต่อชุด งบประมาณในการจัดซื้อยาทั้งหมดไม่เกิน 4-5 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะได้ข้อสรุปเรื่องราคาและปริมาณการสั่งซื้อได้ภายในสัปดาห์หน้า สำหรับงบประมาณในการสั่งซื้ออาจจะใช้จากงบที่ ครม.อนุมัติให้ใช้ในแผนป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จำนวน 100 ล้านบาท แต่หากไม่ได้อาจจะใช้งบของกรมควบคุมโรคเอง
**ผลิตวัคซีนหวัดใหญ่ 2009 อีกนานแกะรอยไวรัสได้ 60%
นพ.มล.สมชาย กล่าวต่อว่า สำหรับการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ขณะนี้คณะกรรมการด้านวัคซีนขององค์การอนามัยโลกยังไม่ได้ประกาศให้ทำการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่อย่างใด เนื่องจากการศึกษาแกะรอยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ทำได้เพียง 60% เท่านั้น ซึ่งยังไม่เพียงพอ เพราะการผลิตวัคซีนได้จะต้องทราบองค์ประกอบของเชื้อไวรัสได้ครบ 100% ซึ่งจากข้อมูลขณะนี้ยังไม่มีบริษัทยาใดทำหารผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั้งสิ้น ดังนั้นไทยจึงยังไม่มีการสั่งซื้อวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในขณะนี้
“ส่วนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลปกติ ก็ยังไม่มีการสั่งซื้อ เพราะต้องรอให้คณะกรรมการด้านวัคซีนขององค์การอนามัยโลกประกาศสายพันธุ์ของไวรัสที่จะระบาดในปีหน้าก่อน โดยคาดว่า ไทยจะสั่งซื้อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฤดูกาลปกติทั้งหมด 2.2 ล้านโด๊ส สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและปศุสัตว์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ใช้เพียง 8 แสนโด๊สเท่านั้น”นพ.มล.สมชาย กล่าว
**หวั่นเทอร์โมสแกนไม่พอรับมือนักกีฬายกน้ำหนัก
นพ.มล.สมชาย กล่าวต่อว่า ส่วนการดูแลนักกีฬาและผู้ติดตามที่จะเดินทางมาทำการแข่งขันยกน้ำหนักยุวชนชิงแชมป์โลก ขณะนี้ที่ จ.เชียงใหม่ มีปัญหาในส่วนของเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ หรือเครื่องเทอร์โมสแกน ที่มีเพียง 1 เครื่อง ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอ จึงจะเสนอให้มีการซื้อมาเพิ่มที่สนามบินนานาชาจิเชียงใหม่อีก 1 เครื่อง แต่หากไม่สามารถซื้อเพิ่มเติมได้ ก็จะใช้วิธีการตรวจวัดไข้ที่สนามบินแทน
“ผมเชื่อว่า นักกีฬาไม่น่าจะมีไข้ เพราะร่างกายย่อมแข็งแรงกว่าคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม จะมีการจับตาเป็นพิเศษสำหรับนักกีฬาที่มาจาก 5 ประเทศ ที่มีการระบาดของโรค ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เม็กซิโก แคนาดา และ สเปน หากพบว่ามีไข้จะให้หยุดทำการแข่งขันและเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทันที” นพ.มล.สมชาย กล่าว
**นักวิชาการชี้ใช้โอเซลทามิเวียร์-ซานามิเวียร์ สู้หวัดใหญ่ 2009 ได้ทั้งคู่
นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสู่คน กล่าวว่า เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอช 1 เอ็น 1 ไวต่อยาโอเซลทามิเวียรและยาซานามิเวียร์ เพราะยาทั้ง 2 รายการเป็นยากลุ่มเดียวกัน แต่ยาซานามิเวียร์เป็นยาชนิดพ่นแต่โอเซลทามิเวียร์เป็นยาชนิดกิน ทั้งนี้ยาซานามิเวียร์มีราคาสูงกว่า และประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้เอง เพราะเป็นยาที่ติดสิทธิบัตรอยู่
“ขณะนี้มีหลายประเทศเริ่มพบว่ามีรายงานว่า ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเริ่มที่จะดื้อต่อยาโอเซลทามิเวียร์ จึงคาดว่า สธ.คงมีการเตรียมแผนสำรองยาซานามิเวียร์เพื่อที่จะเป็นแผนสอง แม้ว่าในประเทศไทยจะยังไม่มีการใช้โอเซลทามิเวยร์กับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เพราะยาชนิดดังกล่าวไม่พบรายงานว่าดื้อต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่เอช1เอ็น1” นพ.ธีรวัฒน์ กล่าว
นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสและอาจารย์ประจำภาควิชา จุลชีววิทยาคณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า การใช้ซานามิเวียร์รักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อาจมีข้อดีกว่าโอเซลทามิเวียร์ คือ ยังไม่พบว่ามีรายงานการดื้อยา แต่ข้อเสียก็มี คือ การใช้ยากกว่า เพราะต้องพ่น แต่โอเซลทามิเวียร์เป็นยาเม็ดรับประทาน
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศไทย
สธ.แถลงแล้ว ระบุมี 2 คนไทยติด “หวัด 2009”จากเม็กซิโก
สธ.แถลงแล้ว ระบุมี 2 คนไทยติด “หวัด 2009”จากเม็กซิโก
สธ.ออกประกาศเรื่องหวัด 2009 ฉ.5 แนะออกกำลังกายเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
WHO ประกาศไทยเป็นประเทศที่ 31 ที่ติดหวัด “วิทยา” ปฏิเสธลั่นไม่ได้ปิดข้อมูล
จับตาหวัดใหญ่ 2009 ผู้เชี่ยวชาญหวั่นจับตัวหวัดคนทำกลายพันธุ์
“วิทยา” ย้ำ! ไทยพบติดหวัด 2009 แต่ไม่มีการแพร่ระบาดแน่นอน
สธ.เร่งแจงสถานการณ์หวัด 2009 ในไทย สร้างความมั่นใจทูตต่างชาติ
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ขณะนี้ อภ.อยู่ระหว่างการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช1เอ็น1 ที่ห้องปฏิบัติการคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม โดยได้ประสานผ่านทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ไปยังองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ส่งเสริมในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยในการประชุมสมัญชาองค์การอนามัยโลกในสัปดาหน้าจะขอความอนุเคราะห์ขอให้แบ่งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช1เอ็น1 เพื่อนำมาผลิตวัคซีน โดยตามขั้นตอนจะต้องมีการศึกษาวิจัยในระดับสัตว์ทดลอง จากนั้นจึงทดลองในมนุษย์ หากประสบผลสำเร็จจึงจะขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยคาดว่า จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อรองรับหากมีการระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่รอบที่ 2 หรือรอบที่ 3 ในช่วงต้นปี 2553
นพ.วิทิต กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ อภ.ได้ปรับปรุงสถานที่ห้องปฏิบัติการ (Pilot Plant) ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี โดยตัวแทนจากองค์การอนามัยโลกได้เดินทางมาตรวจสอบแล้ว เมื่อการทดลองวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นผลสำเร็จจะสามารถผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่บริการประชาชนไทยได้ทันที โดยมีกำลังผลิตได้ 2.8 ล้านโดสต่อเดือน โดยเป็นชนิดเชื้อเป็น ซึ่งจะสามารถผลิตได้ครั้งละเป็นจำนวนมากและเร็วเพื่อรองรับในการระบาดใหญ่
“อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ อภ.ยังไม่สามารถผลิตวัคซีนได้และไม่แน่นอน อภ.ได้เตรียมที่จะเจรจากับบริษัท ซาโนฟี่ ปาสเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับ อภ.ในการผลิตวัคซีนให้เป็นผู้บรรจุวัคซีนเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งยังไม่ทราบกำลังการผลิตว่าเป็นจำนวนเท่าใดแต่เชื่อว่าน่าจะมีศักยภาพเพียงพอในการดูแลประชาชนในประเทศ” นพ.วิทิต กล่าว
นพ.วิทิต กล่าวด้วยว่า ในอนาคตหากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ มีการดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ อภ.พร้อมที่จะดำเนินการตามนโยบายของกรมควบคุมโรคที่จะเป็นผู้ตัดสินใจสั่งการและวางแผนให้มีการสำรองยาซานามิเวียร์ ซึ่งยาดังกล่าวเป็นยาที่ไม่สามารถผลิตได้เอง เนื่องจากติดสิทธิบัตร โดย อภ.จะศึกษาข้อมูลยาดังกล่าวอีกครั้ง ว่ามีรายละเอียดในเรื่องราคาอย่างไรบ้าง
**ระดมสมองปรับแผนให้ยาต้านไวรัสหวัด 2009 ป้องกันดื้อยา
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญทีมงานวิชาการของสธ.อยู่ระหว่างการหารือว่าจะปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ในการให้ยาโอเซลทามิเวียร์กับผู้เข้าข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพราะเกรงว่าจะเป็นการให้ยามากเกินไปหรือไม่ ซึ่งขณะนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ส่งสัญญาณมาว่า หากใช้ยาเกินความจำเป็นจะทำให้ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เกิดการดื้อยา โดยต้องมีแผนสำรองในการรักษาว่าจะใช้ยาชนิดใดต่อไป
“เดิมแพทย์ให้ยาโอเซลทามิเวียร์กับผู้เข้าข่ายเฝ้าระวัง หากเริ่มมีอาการไข้ และมีประวัติสัมผัสกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด อาจเปลี่ยนเป็นการให้ยาสำหรับผู้ที่มีผลจากห้องปฏิบัติการยืนยันว่าป่วย จึงจะให้ยา เพื่อป้องกันการใช้ยามากเกินไปจนทำให้ผลเสียตามมาคือการดื้อยาเร็วขึ้น”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
**หารือเตรียมสำรองยาซานามิเวียร์
นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมทีมวิชาการด้านการแพทย์ว่า ได้หารือเกี่ยวกับการสำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ และยาต้านไวรัสซานามิเวียร์ ชนิดพ่น ใช้ในกรณีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และผู้ป่วยไข้หวัดนกดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ โดยนักวิชาการได้ให้คำแนะนำว่า การสำรองยาต้านไวรัส โอเซลทามิเวียร์ในขณะนี้จำนวน 4.2 ล้านเม็ด รองรับผู้ป่วย 4.2 แสนคน ถือว่าเพียงพอแล้ว แต่หากได้เพิ่มอีก 2 ล้านเม็ดตามที่ตั้งเป้าไว ก็จะสร้างความมั่งคงในการดูแลผู้ป่วยในประเทศอย่างมาก ซึ่ง สธ.ได้เสนอ ครม.ของบประมาณ 80 ล้านบาท ในการสั่งซื้อวัตถุดิบในการผลิตยาในส่วนนี้แล้ว คาดว่า ครม.จะพิจารณาในสัปดาห์หน้า
นพ.มล.สมชาย กล่าวต่อว่า สำหรับยาต้านไวรัส ซานามิเวียร์ นักวิชาการได้เสนอว่า ไทยควรมีการสำรองยาดังกล่าว แต่ไม่จำเป็นต้องสำรองจำนวนมาก เนื่องจากเป็นยาที่ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์เท่านั้น ซึ่งสัดส่วนการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ยังไม่มีมากเพราะเป็นเชื้อชนิดใหม่ ประกอบกับไทยมีผู้ที่ทานยาโอเซลทามิเวียร์จำนวนน้อยมาก และยังไม่มีการดื้อยาแต่อย่างใด
“บางประเทศได้มีการสำรองยาโอเซลทามิเวียร์ และซานามิเวียร์ ในสัดส่วน 80/20 หรือ 90/10 แต่ประเทศไทยคงไม่จำเป็นถึงขนาดนั้น เนื่องจากยาดังกล่าวมีราคาแพง ราคาชุดละ 900 บาท และยังไม่มีความต้องการในการใช้มาก โดยไทยอาจจะสั่งซื้อยาสำรองรองรับผู้ป่วยหลักพันหรือหลักหมื่นคนเท่านั้น ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาซานามิเวียร์ จะต้องพ่นยา วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกัน 4 วัน จึงจะถือว่ารักษาครบชุด” นพ.มล.สมชาย กล่าว
**ตั้งงบ 4-5 ล้าน ต่อรองราคาเหลือไม่เกิน 500 บาท ต่อชุด
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีบริษัทยาเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่สามารถผลิตยาซานามิเวียร์ได้ โดยเบื้องต้น กรมควบคุมโรคจะเชิญบริษัทยาดังกล่าวมาเจรจาต่อรองราคายา คาดว่าจะลดลงมาได้ไม่ถึง 500 บาทต่อชุด งบประมาณในการจัดซื้อยาทั้งหมดไม่เกิน 4-5 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะได้ข้อสรุปเรื่องราคาและปริมาณการสั่งซื้อได้ภายในสัปดาห์หน้า สำหรับงบประมาณในการสั่งซื้ออาจจะใช้จากงบที่ ครม.อนุมัติให้ใช้ในแผนป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จำนวน 100 ล้านบาท แต่หากไม่ได้อาจจะใช้งบของกรมควบคุมโรคเอง
**ผลิตวัคซีนหวัดใหญ่ 2009 อีกนานแกะรอยไวรัสได้ 60%
นพ.มล.สมชาย กล่าวต่อว่า สำหรับการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ขณะนี้คณะกรรมการด้านวัคซีนขององค์การอนามัยโลกยังไม่ได้ประกาศให้ทำการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่อย่างใด เนื่องจากการศึกษาแกะรอยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ทำได้เพียง 60% เท่านั้น ซึ่งยังไม่เพียงพอ เพราะการผลิตวัคซีนได้จะต้องทราบองค์ประกอบของเชื้อไวรัสได้ครบ 100% ซึ่งจากข้อมูลขณะนี้ยังไม่มีบริษัทยาใดทำหารผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั้งสิ้น ดังนั้นไทยจึงยังไม่มีการสั่งซื้อวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในขณะนี้
“ส่วนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลปกติ ก็ยังไม่มีการสั่งซื้อ เพราะต้องรอให้คณะกรรมการด้านวัคซีนขององค์การอนามัยโลกประกาศสายพันธุ์ของไวรัสที่จะระบาดในปีหน้าก่อน โดยคาดว่า ไทยจะสั่งซื้อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฤดูกาลปกติทั้งหมด 2.2 ล้านโด๊ส สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและปศุสัตว์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ใช้เพียง 8 แสนโด๊สเท่านั้น”นพ.มล.สมชาย กล่าว
**หวั่นเทอร์โมสแกนไม่พอรับมือนักกีฬายกน้ำหนัก
นพ.มล.สมชาย กล่าวต่อว่า ส่วนการดูแลนักกีฬาและผู้ติดตามที่จะเดินทางมาทำการแข่งขันยกน้ำหนักยุวชนชิงแชมป์โลก ขณะนี้ที่ จ.เชียงใหม่ มีปัญหาในส่วนของเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ หรือเครื่องเทอร์โมสแกน ที่มีเพียง 1 เครื่อง ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอ จึงจะเสนอให้มีการซื้อมาเพิ่มที่สนามบินนานาชาจิเชียงใหม่อีก 1 เครื่อง แต่หากไม่สามารถซื้อเพิ่มเติมได้ ก็จะใช้วิธีการตรวจวัดไข้ที่สนามบินแทน
“ผมเชื่อว่า นักกีฬาไม่น่าจะมีไข้ เพราะร่างกายย่อมแข็งแรงกว่าคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม จะมีการจับตาเป็นพิเศษสำหรับนักกีฬาที่มาจาก 5 ประเทศ ที่มีการระบาดของโรค ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เม็กซิโก แคนาดา และ สเปน หากพบว่ามีไข้จะให้หยุดทำการแข่งขันและเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทันที” นพ.มล.สมชาย กล่าว
**นักวิชาการชี้ใช้โอเซลทามิเวียร์-ซานามิเวียร์ สู้หวัดใหญ่ 2009 ได้ทั้งคู่
นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสู่คน กล่าวว่า เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอช 1 เอ็น 1 ไวต่อยาโอเซลทามิเวียรและยาซานามิเวียร์ เพราะยาทั้ง 2 รายการเป็นยากลุ่มเดียวกัน แต่ยาซานามิเวียร์เป็นยาชนิดพ่นแต่โอเซลทามิเวียร์เป็นยาชนิดกิน ทั้งนี้ยาซานามิเวียร์มีราคาสูงกว่า และประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้เอง เพราะเป็นยาที่ติดสิทธิบัตรอยู่
“ขณะนี้มีหลายประเทศเริ่มพบว่ามีรายงานว่า ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเริ่มที่จะดื้อต่อยาโอเซลทามิเวียร์ จึงคาดว่า สธ.คงมีการเตรียมแผนสำรองยาซานามิเวียร์เพื่อที่จะเป็นแผนสอง แม้ว่าในประเทศไทยจะยังไม่มีการใช้โอเซลทามิเวยร์กับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เพราะยาชนิดดังกล่าวไม่พบรายงานว่าดื้อต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่เอช1เอ็น1” นพ.ธีรวัฒน์ กล่าว
นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสและอาจารย์ประจำภาควิชา จุลชีววิทยาคณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า การใช้ซานามิเวียร์รักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อาจมีข้อดีกว่าโอเซลทามิเวียร์ คือ ยังไม่พบว่ามีรายงานการดื้อยา แต่ข้อเสียก็มี คือ การใช้ยากกว่า เพราะต้องพ่น แต่โอเซลทามิเวียร์เป็นยาเม็ดรับประทาน
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศไทย