“สุขุมพันธุ์” หารือทีมงานเร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง หลังฝนตกหนักในพื้นที่ต่อเนื่อง พร้อมขอโทษประชาชนที่การแก้ไขยังไม่โดนใจ ขณะเดียวกันสั่งเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ชุดช่วยเหลือประชาชน จราจร และเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำให้เร็วกว่าเดิม พร้อมกำชับทุกหน่วยดูแลพื้นที่ตะวันออกของกรุงเทพฯ จัดเตรียมแก้มลิงพร้อมรับน้ำเพิ่มสนองพระราชดำริพระเจ้าอยู่หัว ขณะที่ด้านตะวันตกเร่งสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำลงสู่ทะเลแล้วเสร็จปีหน้า
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกทม.เกี่ยวกับการหารือถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกทม. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องมีปริมาณถึง 120 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเกินกว่าพื้นที่กรุงเทพฯ จะสามารถระบายน้ำได้ทัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ และประชาชนได้รับความเดือดร้อน
อย่างไรก็ตาม กทม.ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างเร็วที่สุด แม้บางแห่งจะใช้ระยะเวลาถึง 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ ตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่กรุงเทพฯ ตลอดจนเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ชุดช่วยเหลือประชาชน การจราจร และเครื่องสูบน้ำในการให้ความช่วยเหลือ ตลอด 24 ชั่วโมง ตรวจซ่อมบำรุงเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมทุกจุด และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ตนต้องขออภัยต่อพี่น้องประชาชนที่ได้รับความไม่สะดวก ณ ที่นี้ด้วย
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนโครงการแก้มลิงของ กทม.เพื่อการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริอย่างยั่งยืน โดยสำนักการระบายน้ำ กทม.ได้รายงานถึงแผนแม่บทระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ซึ่ง กทม.ได้ทำการศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปี 2539 และผลการศึกษาได้เสนอแนะให้จัดหาบึง สระ เพื่อรองรับน้ำและช่วยระบายน้ำในพื้นที่ที่มีขีดจำกัด โดยพื้นที่ด้านตะวันออกมีปริมาตรน้ำส่วนเกินที่ต้องกักเก็บประมาณ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ปัจจุบัน พื้นที่กรุงเทพฯ ด้านตะวันออก มีแก้มลิงสาธารณะและแก้มลิงเอกชนสำหรับรองรับน้ำและเก็บกักน้ำ 20 แห่ง เก็บน้ำได้ 6.74 ล้านลูกบาศก์เมตร และอยู่ระหว่างดำเนินการ อีก 6 แห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้ 889,800 ลูกบาศก์เมตร ได้แก่ บึงสะแกงามสามเดือน และบึงมะขามเทศ บึงหมู่บ้านสัมมากร บึงหมู่บ้านเมืองทองการ์เด้น บึงหมู่บ้านเมืองทอง 2/2 บึงหมู่บ้านศุภาลัย 1 และบึงหมู่บ้านศุภาลัย
สำหรับพื้นที่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินโครงการแก้มลิง “คลองมหาชัย-สนามชัย” เพื่อช่วยระบายน้ำท่วมขังพื้นที่ตอนบนฝั่งตะวันตก โดยให้แก้มลิงเป็นที่รวบรวม รับ และดึงน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนลงมาเก็บไว้ในโครงการแก้มลิงก่อนระบายลงสู่ทะเลโดยผ่านคลองที่เชื่อมต่อคลองมหาชัย-สนามชัย กับชายฝั่งทะเล ซึ่งกทม.ได้ร่วมกับกรมชลประทาน ในโครงการแก้มลิง “คลองมหาชัย-สนามชัย” มีพื้นที่ปิดล้อมรวม 75.40 ตารางกิโลเมตร โดยกรมชลประทานสร้างสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ และประตูเรือสัญจร รวม 10 แห่ง ซึ่งดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของ กทม.ก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ รวม 12 แห่ง ขณะนี้ประตูระบายน้ำ 3 แห่ง ประตูเรือสัญจร 1 แห่ง ดำเนินการเสร็จแล้ว ส่วนอีก 8 แห่ง จะแล้วเสร็จในปี 2553 ซึ่งปัจจุบันกทม.มีกทม.ทั่วกรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้น 21 แห่ง มีปริมาตรเก็บกักน้ำรวม 12.74 ล้านลูกบาศก์เมตร
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวอีกว่า กทม.ไม่ได้นิ่งนอนใจในการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมกรุงเทพฯ โดยจะเดินหน้าต่อเนื่องในการจัดหาพื้นที่แก้มลิงเพิ่มเติม ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักผังเมืองศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมทั้งพื้นที่ของหน่วยงานราชการและเอกชน ตลอดจนการยกร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปรับปรุงในการจัดหาพื้นที่สำหรับจัดทำเป็นแก้มลิงด้วย
ทั้งนี้ ในวันที่ 18 พ.ค.นี้ กทม.จะมีการประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) โดยเป็นการรับฟังรายละเอียดของกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานไว้เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ด้านตะวันออกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากทรงห่วงใยพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯในช่วงฤดูฝนและน้ำหลาก เป็นอย่างยิ่ง
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกทม.เกี่ยวกับการหารือถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกทม. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องมีปริมาณถึง 120 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเกินกว่าพื้นที่กรุงเทพฯ จะสามารถระบายน้ำได้ทัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ และประชาชนได้รับความเดือดร้อน
อย่างไรก็ตาม กทม.ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างเร็วที่สุด แม้บางแห่งจะใช้ระยะเวลาถึง 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ ตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่กรุงเทพฯ ตลอดจนเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ชุดช่วยเหลือประชาชน การจราจร และเครื่องสูบน้ำในการให้ความช่วยเหลือ ตลอด 24 ชั่วโมง ตรวจซ่อมบำรุงเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมทุกจุด และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ตนต้องขออภัยต่อพี่น้องประชาชนที่ได้รับความไม่สะดวก ณ ที่นี้ด้วย
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนโครงการแก้มลิงของ กทม.เพื่อการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริอย่างยั่งยืน โดยสำนักการระบายน้ำ กทม.ได้รายงานถึงแผนแม่บทระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ซึ่ง กทม.ได้ทำการศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปี 2539 และผลการศึกษาได้เสนอแนะให้จัดหาบึง สระ เพื่อรองรับน้ำและช่วยระบายน้ำในพื้นที่ที่มีขีดจำกัด โดยพื้นที่ด้านตะวันออกมีปริมาตรน้ำส่วนเกินที่ต้องกักเก็บประมาณ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ปัจจุบัน พื้นที่กรุงเทพฯ ด้านตะวันออก มีแก้มลิงสาธารณะและแก้มลิงเอกชนสำหรับรองรับน้ำและเก็บกักน้ำ 20 แห่ง เก็บน้ำได้ 6.74 ล้านลูกบาศก์เมตร และอยู่ระหว่างดำเนินการ อีก 6 แห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้ 889,800 ลูกบาศก์เมตร ได้แก่ บึงสะแกงามสามเดือน และบึงมะขามเทศ บึงหมู่บ้านสัมมากร บึงหมู่บ้านเมืองทองการ์เด้น บึงหมู่บ้านเมืองทอง 2/2 บึงหมู่บ้านศุภาลัย 1 และบึงหมู่บ้านศุภาลัย
สำหรับพื้นที่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินโครงการแก้มลิง “คลองมหาชัย-สนามชัย” เพื่อช่วยระบายน้ำท่วมขังพื้นที่ตอนบนฝั่งตะวันตก โดยให้แก้มลิงเป็นที่รวบรวม รับ และดึงน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนลงมาเก็บไว้ในโครงการแก้มลิงก่อนระบายลงสู่ทะเลโดยผ่านคลองที่เชื่อมต่อคลองมหาชัย-สนามชัย กับชายฝั่งทะเล ซึ่งกทม.ได้ร่วมกับกรมชลประทาน ในโครงการแก้มลิง “คลองมหาชัย-สนามชัย” มีพื้นที่ปิดล้อมรวม 75.40 ตารางกิโลเมตร โดยกรมชลประทานสร้างสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ และประตูเรือสัญจร รวม 10 แห่ง ซึ่งดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของ กทม.ก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ รวม 12 แห่ง ขณะนี้ประตูระบายน้ำ 3 แห่ง ประตูเรือสัญจร 1 แห่ง ดำเนินการเสร็จแล้ว ส่วนอีก 8 แห่ง จะแล้วเสร็จในปี 2553 ซึ่งปัจจุบันกทม.มีกทม.ทั่วกรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้น 21 แห่ง มีปริมาตรเก็บกักน้ำรวม 12.74 ล้านลูกบาศก์เมตร
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวอีกว่า กทม.ไม่ได้นิ่งนอนใจในการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมกรุงเทพฯ โดยจะเดินหน้าต่อเนื่องในการจัดหาพื้นที่แก้มลิงเพิ่มเติม ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักผังเมืองศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมทั้งพื้นที่ของหน่วยงานราชการและเอกชน ตลอดจนการยกร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปรับปรุงในการจัดหาพื้นที่สำหรับจัดทำเป็นแก้มลิงด้วย
ทั้งนี้ ในวันที่ 18 พ.ค.นี้ กทม.จะมีการประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) โดยเป็นการรับฟังรายละเอียดของกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานไว้เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ด้านตะวันออกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากทรงห่วงใยพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯในช่วงฤดูฝนและน้ำหลาก เป็นอย่างยิ่ง