กระทรวงสาธารณสุข ออกคำแนะนำฉบับที่ 4 เรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เน้นดูแลตนเองทั้งในประชาชนทั่วไป ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่มีการระบาดของโรค และสถานศึกษา กรณีมีนักเรียนเดินทางกลับจากซัมเมอร์ในพื้นที่ที่มีการระบาด
คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A H1N1” ฉบับที่ 4
จากสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ที่ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และในขณะนี้เริ่มพบผู้ป่วยในภูมิภาคเอเชียแล้ว ซึ่งจากข้อมูลองค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2552 พบผู้ป่วยใน 29 ประเทศ จำนวน 3,440 ราย เสียชีวิต 48 ราย (เม็กซิโก 45 ราย สหรัฐอเมริกา 2 ราย และแคนาดา 1 ราย)
กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามจัดระบบงานการแพทย์และสาธารณสุข ให้มีความเข้มแข็ง สามารถรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ต่างๆ ได้ สำหรับการป้องกันแก้ไขสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ กระทรวงสาธารณสุขเน้นมาตรการสำคัญ 3 ด้าน คือ 1) มาตรการสกัดกั้น การดำเนินที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศทุกแห่ง เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามาภายในประเทศ 2) มาตรการค้นหาและแก้ไข การค้นหาผู้ป่วยโดยเร็ว และให้การวินิจฉัยรักษาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ การจัดทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วทุกอำเภอ รวมทั้งการอบรมความรู้แก่ อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ให้ช่วยเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังโรคในหมู่บ้าน และให้คำแนะนำการป้องกันโรคแก่ประชาชน และ 3) มาตรการเตรียมความพร้อมในวงกว้าง เน้นการสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถป้องกันตนเองได้
เนื่องจากขณะนี้เป็นเวลาใกล้เปิดภาคเรียนของสถานศึกษาต่าง ๆ แล้ว กระทรวงสาธารณสุขขอให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ประชาชนทั่วไป ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ และสถานศึกษา ดังนี้
คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป
ขอให้ประชาชนมั่นใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาการที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ สร้างสุขนิสัยการป้องกันโรค โดยกินของร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ ถ้าป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เสมหะ ควรปิดปากจมูกเวลาไอโดยใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูและทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิด และสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น
หากมีผู้รู้จักซึ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ และมีอาการป่วยเป็นไข้ภายใน 7 วันนับจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย ควรแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาทันที
คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่มีการระบาดของโรค
• หากท่านมีอาการไข้ ขอให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สายการบินหรือพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เพื่อให้การดูแลท่าน และเพื่อประกันความปลอดภัยของผู้โดยสารคนอื่นในสนามบินและบนเครื่องบิน
• ประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติทุกแห่ง หากพบว่าท่านมีไข้ จะมีแพทย์ตรวจและให้การดูแลท่าน ณ จุดคัดกรอง ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้
• สำหรับผู้ที่ไม่มีไข้และไม่มีอาการป่วย ควรสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน
• ระหว่างสังเกตอาการ หากท่านมีไข้ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ไอ เจ็บคอ ร่วมกับ อาเจียน ถ่ายเหลว ให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น รีบสวมหน้ากากอนามัย หรือปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอหรือจาม และล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ และไปพบแพทย์ พร้อมแสดงบัตรเตือนเรื่องสุขภาพที่ได้รับจากด่านควบคุมโรคที่สนามบิน เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดต่อไป
• หากแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ควรหยุดงานหรือหยุดเรียน พักอยู่ที่บ้านหรือที่พัก และสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน
• ควรปิดปากปิดจมูกทุกครั้งด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูทุกครั้งเมื่อท่านไอจาม และทิ้งลงในถังขยะ หรือสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น
คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา
• ขอให้ทางโรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่ง ตรวจสอบว่ามีนักเรียนหรือนักศึกษาที่มีประวัติเดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ และติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและนักเรียน ขอให้สังเกตอาการตนเองจนครบ 7 วันนับจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย หากมีไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ น้ำมูก ฯลฯ ขอให้ไปพบแพทย์ เพื่อประเมินอาการเจ็บป่วยและให้การวินิจฉัยรักษา และหยุดเรียนจนกว่าจะหายดี
• ขอให้ครูประจำชั้นตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนและตรวจอาการนักเรียนในแต่ละวัน หากพบนักเรียนมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือมีนักเรียนขาดเรียนมากผิดปกติ (ตั้งแต่ 3 คน ในห้องเรียนเดียวกัน) ขอให้ตรวจสอบสาเหตุ หากสงสัยว่าขาดเรียนจากการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ (เขตกรุงเทพมหานคร แจ้ง โทร. 0 2246 0358 หรือ โทร. 0 2245 8106 นอกกรุงเทพมหานคร แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) เพื่อสอบสวนและควบคุมโรคได้ทันการณ์
• ขอให้โรงเรียนจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการล้างมือ เช่น อ่างล้างมือ สบู่ ฯลฯ และรณรงค์ส่งเสริมให้นักเรียนล้างมืออย่างถูกต้อง ซึ่งในชั้นต้นนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะสนับสนุนหน้ากากอนามัยจำนวนหนึ่ง เพื่อสำรองไว้ที่ห้องปฐมพยาบาล สำหรับให้นักเรียนที่ป่วยสวมเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
ท่านสามารถติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0-2590-3333 และศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0-2590-1994 ตลอด 24 ชั่วโมง
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศไทย
รู้จัก “ไวรัสไข้หวัดหมู” มฤตยูสายพันธุ์ล่าสุด!
สธ.สั่งจับตาหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ในเม็กซิโกใกล้ชิด ยันไม่พบเชื้อนี้ในไทย ปชช.ไม่ต้องกังวล
คุมเข้ม! ตั้งด่านวัดอุณหภูมิ สนามบินสุวรรณภูมิสกัดหวัดหมู เน้นขาเข้าจากเม็กซิโก-อเมริกา
สธ.เปิดสายด่วนไข้หวัดหมู ป้องกันประชาชนตระหนก
สธ.รับมือ “หวัดหมู” กระจายยาสำหรับ 3 แสนคน WHO เผยติดจากคนสู่คน
แพทย์ระบุ “หวัดหมู” รุนแรงน้อยกว่าหวัดนก แต่กระจายได้มากกว่า
“สุวรรณภูมิ” จับตา 8 เที่ยวบินจากเม็กซิโก ยังไม่พบติดเชื้อหมูมรณะ
สธ.เตรียมใช้แผนรับหวัดนก หาก WHO เพิ่มความรุนแรง “หวัดหมู” เตรียมทำคู่มือแจกปชช.
รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก” (ฉบับประชาชน)/เอมอร คชเสนี
WHO ยกระดับ “หวัดเม็กซิโก” ระดับ 4-สธ.ชง ครม.ตั้งกรรมการคุมระบาด
สธ.เฝ้าระวัง "หวัดเม็กซิโก"เข้มข้น คัดกรองทุกสนามบิน วอนคนไทยเลี่ยงไปพื้นที่ระบาด
ครม.ตั้ง “เสธ.หนั่น” นั่งประธานคุม “หวัดเม็กซิโก”
ด่วน! ไทยพบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ “หวัดเม็กซิโก” หลังกลับจากเมืองจังโก้ รพ.จุฬาฯ แถลง 4 โมงเย็นนี้
จุฬาฯ แถลงพบหญิงผู้ป่วยเฝ้าระวัง “หวัดจังโก” วัย 42 ปี ลุ้นผลแล็บคืนนี้
ไทยโล่ง! ผลตรวจผู้ป่วยต้องสงสัย แค่หวัดธรรมดา-สธ.ออกแถลงการณ์ ฉ.1
คำแนะนำ สธ.เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก ฉบับที่ 1
จุฬาฯ แถลงชัดสาวใหญ่ป่วยหวัดใหญ่ธรรมดา ไม่ใช่หวัดเม็กซิโก
กรมการจัดหางานเตรียมพร้อมอพยพแรงงานไทยหาก “หวัดเม็กซิโก” คุมไม่อยู่
กทม.ร่อนสารแจ้งโรงแรมทั่วกรุงเฝ้าระวังหวัดเม็กซิโก หวั่นนักท่องเที่ยวนำเชื้อ
รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก”/ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ภาควิชาจุลชีววิทยา
สธ.ออกคำแนะนำเรื่อง “หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” ฉบับที่ 2
แพทย์จุฬาฯ ปรับวิธีตรวจหาเชื้อไวรัสแค่ 4 ชม.รู้ผล - อเมริกาส่งเชื้อหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ให้วิจัยถึงไทยจันทร์นี้
สธ.เตรียมรับคนไทยกลุ่มแรกจากเม็กซิโก จัดทีมแพทย์ตรวจยิบ
ตื่นหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ 2009! อภ.เผยปชช.โทร.ซื้อ"โอเซลทามิเวียร์" เพียบ ระบุต้องหมอสั่ง ซื้อทั่วไปไม่ได้
สธ.เพิ่มมาตรการเข้มหลังหวัดใหญ่ 2009 ลามถึงฮ่องกง-เกาหลีใต้ ไทยเหลือผู้ป่วยเฝ้าระวัง 2 ราย
“เสธ.หนั่น” ตรวจด่านคุมโรคสุวรรณภูมิ เพิ่มเทอร์โมสแกนเต็มพิกัด 6 จุด เผยยังไม่พบหวัดใหญ่ 2009
ทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทยทำหนังสือขอบคุณ สธ.ช่วยให้ข้อมูลหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ถูกต้อง
“มาร์ค” ยันไทยยังไม่ติดหวัด 2009 กทม.ระดมเขต-อสม.-อปพร.มอบนโยบายป้องกัน
ทูลกระหม่อมหญิงฯทรงแนะ สธ.เข้มมาตรการระวังสูง “หวัด 2009” ให้สูงกว่ามาตรฐานเพื่อความมั่นใจ
สธ.ยังไม่ห้ามคนไทยเข้า 16 พื้นที่ระบาด-จัดทีมแพทย์รับคนไทยจากเม็กซิโกถึงสนามบินคืนนี้
ยันคนไทยเฝ้าระวังปลอดหวัด 2009 แนะเดินทาง ตปท.ควรสังเกตอาการตัวเอง
“วิทยา” นำทีม สธ.รับครูและ นร.AFS จากเม็กซิโก-เผยผลตรวจ ด.ช.11 เดือนบุรีรัมย์ไม่ติดหวัด 2009
สธ.เผยผลตรวจ 14 นร.ไทยกลับจากเม็กซิโก มีไข้สูง 1 ราย เจ็บคอ มีน้ำมูก 2 ราย
“วิทยา” จวก ตม.สุวรรณภูมิควบคุมหวัด 2009 หละหลวม ไม่สวมหน้ากาก หวั่นเอาไม่อยู่
แนะเลิกเหล้า-บุหรี่ ป้องกันหวัดสายพันธุ์ใหม่ได้
ศิริราชเตือน! อย่ากินยาต้านหวัดใหญ่หากมีไข้ต่ำจะทำเชื้อดื้อยา
“สุขุมพันธุ์” แจกหน้ากากอนามัยให้วินมอเตอร์ไซค์ กันหวัดใหญ่ระบาด
“วิทยา” วอนเลี่ยงชุมนุมช่วงประชุม รมว.สธ.อาเซียน-เพิ่มเฝ้าระวังหวัด 2 จุดใต้
ผลตรวจ 14 คนไทยกลับจากเม็กซิโก ปลอดเชื้อหวัดพันธุ์ใหม่ 2009
ให้ 11 คนไทยกลับจากเม็กซิโกกลับบ้านวันนี้ ส่วนอีก 3 รายขอดูอาการต่อ
โล่ง! สธ.ยันผลผู้ป่วยเฝ้าระวัง 3 รายไม่ใช่หวัด 2009
แพทย์จุฬาฯ พัฒนาวิธีตรวจหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ 2009 รู้ผลใน 4 ชม.
ประชุม รมต.สธ.อาเซียน+3 ตอบรับมาครบ เตรียมวิดีโอลิงก์ฟังปัญหา-สถานการณ์หวัด 2009 จากเม็กซิโก-อเมริกา
สธ.ผนึกเครือข่ายเฝ้าระวังฯ ลุ่มน้ำโขง เข้มจุดผ่านแดนหยุดการระบาดหวัดใหญ่ 2009
เริ่มแล้วประชุม รมต.สธ.อาเซียน+3 สานพลังสกัดไข้หวัดพันธุ์ใหม่
“จีน” ลั่นพร้อมผลิตโอเซลทามิเวียร์ให้ “ไทย-อาเซียน” สู้หวัด 2009
สหรัฐฯ ห่วงผลิตวัคซีนหวัดใหญ่ 2009 สายพันธุ์เดียว กระทบวัคซีนหวัดใหญ่ตามฤดูกาล
WHO ยาหอมอาเซียนเฝ้าหวัดใหญ่ 2009 ดี
ญี่ปุ่นเสนอสำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ประเทศละ 5 ล้านเม็ด
สรุป 13 ข้อเสนอ รมว.สธ.อาเซียน+3 ลงนามพรุ่งนี้
“มาร์ค” มั่นใจอาเซียนคุมไข้หวัดใหญ่ 2009 อยู่หมัด!
เมืองปลาดิบซูฮก อสม.ไทยเป็นทัพหน้าเฝ้าระวังโรค
เมืองปลาดิบซูฮก อสม.ไทยเป็นทัพหน้าเฝ้าระวังโรค
รมต.สธ.ลาว สนใจเทคโนโลยีผลิตยาของไทยเตรียมปรับใช้ในลาว
ไทยลุ้นระทึก!พบผู้ป่วยต้องสงสัยติดหวัดใหญ่ 2009 ส่งเชื้อตรวจ USA ทราบผลสัปดาห์หน้า
สธ.ส่งเชื้อผู้ต้องสงสัยหวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ให้อเมริกาแล้ว 7 วันรู้ผล
สธ.เผยผู้ต้องสงสัยหวัดใหญ่ 2009 อาการปกติไม่มีไข้ เข้มเด็กกลับจากซัมเมอร์ ตปท.
คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A H1N1” ฉบับที่ 4
จากสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ที่ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และในขณะนี้เริ่มพบผู้ป่วยในภูมิภาคเอเชียแล้ว ซึ่งจากข้อมูลองค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2552 พบผู้ป่วยใน 29 ประเทศ จำนวน 3,440 ราย เสียชีวิต 48 ราย (เม็กซิโก 45 ราย สหรัฐอเมริกา 2 ราย และแคนาดา 1 ราย)
กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามจัดระบบงานการแพทย์และสาธารณสุข ให้มีความเข้มแข็ง สามารถรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ต่างๆ ได้ สำหรับการป้องกันแก้ไขสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ กระทรวงสาธารณสุขเน้นมาตรการสำคัญ 3 ด้าน คือ 1) มาตรการสกัดกั้น การดำเนินที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศทุกแห่ง เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามาภายในประเทศ 2) มาตรการค้นหาและแก้ไข การค้นหาผู้ป่วยโดยเร็ว และให้การวินิจฉัยรักษาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ การจัดทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วทุกอำเภอ รวมทั้งการอบรมความรู้แก่ อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ให้ช่วยเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังโรคในหมู่บ้าน และให้คำแนะนำการป้องกันโรคแก่ประชาชน และ 3) มาตรการเตรียมความพร้อมในวงกว้าง เน้นการสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถป้องกันตนเองได้
เนื่องจากขณะนี้เป็นเวลาใกล้เปิดภาคเรียนของสถานศึกษาต่าง ๆ แล้ว กระทรวงสาธารณสุขขอให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ประชาชนทั่วไป ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ และสถานศึกษา ดังนี้
คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป
ขอให้ประชาชนมั่นใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาการที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ สร้างสุขนิสัยการป้องกันโรค โดยกินของร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ ถ้าป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เสมหะ ควรปิดปากจมูกเวลาไอโดยใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูและทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิด และสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น
หากมีผู้รู้จักซึ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ และมีอาการป่วยเป็นไข้ภายใน 7 วันนับจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย ควรแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาทันที
คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่มีการระบาดของโรค
• หากท่านมีอาการไข้ ขอให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สายการบินหรือพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เพื่อให้การดูแลท่าน และเพื่อประกันความปลอดภัยของผู้โดยสารคนอื่นในสนามบินและบนเครื่องบิน
• ประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติทุกแห่ง หากพบว่าท่านมีไข้ จะมีแพทย์ตรวจและให้การดูแลท่าน ณ จุดคัดกรอง ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้
• สำหรับผู้ที่ไม่มีไข้และไม่มีอาการป่วย ควรสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน
• ระหว่างสังเกตอาการ หากท่านมีไข้ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ไอ เจ็บคอ ร่วมกับ อาเจียน ถ่ายเหลว ให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น รีบสวมหน้ากากอนามัย หรือปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอหรือจาม และล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ และไปพบแพทย์ พร้อมแสดงบัตรเตือนเรื่องสุขภาพที่ได้รับจากด่านควบคุมโรคที่สนามบิน เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดต่อไป
• หากแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ควรหยุดงานหรือหยุดเรียน พักอยู่ที่บ้านหรือที่พัก และสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน
• ควรปิดปากปิดจมูกทุกครั้งด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูทุกครั้งเมื่อท่านไอจาม และทิ้งลงในถังขยะ หรือสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น
คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา
• ขอให้ทางโรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่ง ตรวจสอบว่ามีนักเรียนหรือนักศึกษาที่มีประวัติเดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ และติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและนักเรียน ขอให้สังเกตอาการตนเองจนครบ 7 วันนับจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย หากมีไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ น้ำมูก ฯลฯ ขอให้ไปพบแพทย์ เพื่อประเมินอาการเจ็บป่วยและให้การวินิจฉัยรักษา และหยุดเรียนจนกว่าจะหายดี
• ขอให้ครูประจำชั้นตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนและตรวจอาการนักเรียนในแต่ละวัน หากพบนักเรียนมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือมีนักเรียนขาดเรียนมากผิดปกติ (ตั้งแต่ 3 คน ในห้องเรียนเดียวกัน) ขอให้ตรวจสอบสาเหตุ หากสงสัยว่าขาดเรียนจากการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ (เขตกรุงเทพมหานคร แจ้ง โทร. 0 2246 0358 หรือ โทร. 0 2245 8106 นอกกรุงเทพมหานคร แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) เพื่อสอบสวนและควบคุมโรคได้ทันการณ์
• ขอให้โรงเรียนจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการล้างมือ เช่น อ่างล้างมือ สบู่ ฯลฯ และรณรงค์ส่งเสริมให้นักเรียนล้างมืออย่างถูกต้อง ซึ่งในชั้นต้นนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะสนับสนุนหน้ากากอนามัยจำนวนหนึ่ง เพื่อสำรองไว้ที่ห้องปฐมพยาบาล สำหรับให้นักเรียนที่ป่วยสวมเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
ท่านสามารถติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0-2590-3333 และศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0-2590-1994 ตลอด 24 ชั่วโมง
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศไทย