“อภิสิทธิ์” นัดกระทรวงศึกษาธิการ เคลียร์ปัญหาธนาคารอิสลามบริหารจัดการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา 6 พ.ค.นี้ “นริศรา” โวย กยศ.ลักไก่ประกาศไม่ถูกต้อง ชี้ การเพิ่มธนาคารอิสลามเข้ามาเป็นผู้บริหารจะต้องออกระเบียบคัดสรรผู้บริหารทางการเงินเสียก่อน พร้อมระบุที่ผ่านมากรณีธนาคารกรุงไทยก็ทำผิดเช่นกัน
น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงความคืบหน้าการเพิ่มธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารจัดการเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทาง กยศ.ได้มีการเผยแพร่ข่าวว่าได้มีการจัดทำสัญญากู้ยืมรูปแบบใหม่เพื่อให้นักเรียนนักศึกษามุสลิมสามารถเลือกผลตอบแทนที่เป็นค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้แทนดอกเบี้ย
ทั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาอิสลามที่ต้องการกู้ยืมเงินกยศ.โดยแต่ละปีมีประมาณ 20,000 คน สามารถกู้ยืมได้อย่างสบายใจโดยไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งตนมองว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้องนัก เพราะการจะเพิ่มธนาคารอิสลามเข้ามาเป็นผู้บริหาร กยศ.ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องระบุว่ากยศ.จะต้องไปออกระเบียบการคัดสรรผู้บริหารทางการเงินเสียก่อน
ที่สำคัญคือ ตนได้ศึกษาย้อนหลังเรื่องดังกล่าวพบว่าธนาคารกรุงไทยที่บริหารอยู่ในปัจจุบันนี้เข้ามาอย่างไม่ถูกต้อง โดย กยศ.ไม่มีการออกระเบียบการคัดสรรผู้บริหารทางการเงินออกมารองรับเพราะฉะนั้นสิ่งที่ กยศ.ต้องเร่งดำเนินการคือการออกระเบียบเพื่อดำเนินการคัดเลือกผู้บริหารทางการเงินของ กยศ.เสียใหม่โดยระเบียบดังกล่าวต้องเอื้อให้ธนาคารอิสลามด้วย ส่วนธนาคารกรุงไทยจะยังคงเป็นผู้บริหารจัดการเงิน กยศ.ต่อไปอีกหรือไม่ ก็คงแล้วแต่ผลการคัดเลือกของ กยศ.
น.ส.นริศรา กล่าวต่อว่า ตนได้พบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งนายกฯได้ถามถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ ตนจึงรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยนายกฯ ได้แสดงความห่วงใยจึงนัดหารือกับตนในวันที่ 6 พ.ค.นี้ และในวันดังกล่าวตนจะรายงานความคืบหน้าให้ทราบถึงปัญหานักศึกษาที่มีสิทธิกู้ กยศ.เมื่อปีการศึกษา 2551 ที่ผ่านมาประมาณ 11,000 คน แต่ยังไม่ได้รับการกู้ยืมด้วย
น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงความคืบหน้าการเพิ่มธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารจัดการเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทาง กยศ.ได้มีการเผยแพร่ข่าวว่าได้มีการจัดทำสัญญากู้ยืมรูปแบบใหม่เพื่อให้นักเรียนนักศึกษามุสลิมสามารถเลือกผลตอบแทนที่เป็นค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้แทนดอกเบี้ย
ทั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาอิสลามที่ต้องการกู้ยืมเงินกยศ.โดยแต่ละปีมีประมาณ 20,000 คน สามารถกู้ยืมได้อย่างสบายใจโดยไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งตนมองว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้องนัก เพราะการจะเพิ่มธนาคารอิสลามเข้ามาเป็นผู้บริหาร กยศ.ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องระบุว่ากยศ.จะต้องไปออกระเบียบการคัดสรรผู้บริหารทางการเงินเสียก่อน
ที่สำคัญคือ ตนได้ศึกษาย้อนหลังเรื่องดังกล่าวพบว่าธนาคารกรุงไทยที่บริหารอยู่ในปัจจุบันนี้เข้ามาอย่างไม่ถูกต้อง โดย กยศ.ไม่มีการออกระเบียบการคัดสรรผู้บริหารทางการเงินออกมารองรับเพราะฉะนั้นสิ่งที่ กยศ.ต้องเร่งดำเนินการคือการออกระเบียบเพื่อดำเนินการคัดเลือกผู้บริหารทางการเงินของ กยศ.เสียใหม่โดยระเบียบดังกล่าวต้องเอื้อให้ธนาคารอิสลามด้วย ส่วนธนาคารกรุงไทยจะยังคงเป็นผู้บริหารจัดการเงิน กยศ.ต่อไปอีกหรือไม่ ก็คงแล้วแต่ผลการคัดเลือกของ กยศ.
น.ส.นริศรา กล่าวต่อว่า ตนได้พบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งนายกฯได้ถามถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ ตนจึงรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยนายกฯ ได้แสดงความห่วงใยจึงนัดหารือกับตนในวันที่ 6 พ.ค.นี้ และในวันดังกล่าวตนจะรายงานความคืบหน้าให้ทราบถึงปัญหานักศึกษาที่มีสิทธิกู้ กยศ.เมื่อปีการศึกษา 2551 ที่ผ่านมาประมาณ 11,000 คน แต่ยังไม่ได้รับการกู้ยืมด้วย