สธ.เผยผลการตรวจคนไทยจำนวน 14 คน ที่เดินทางกลับจากเม็กซิโก พบนักเรียนไทย 1 คน มีไข้สูง อีก 2 คน เจ็บคอ น้ำมูกไหล กักตัวห้องปลอดเชื้อติดตามอาการใกล้ชิด โดยจะทราบผลตรวจพิสูจน์ใน 24 ชั่วโมงนี้
วันนี้ (4 พ.ค.) ที่ รร.มิราเคิลแกรนด์ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังการเปิดประชุมปฏิบัติการเรื่องการวินิจฉัยการดูแลรักษาพยาบาลและการเฝ้าระวังผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A H1N1 2009 หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์อายุรกรรม กุมารแพทย์ พยาบาลควบคุมป้องกันการติดเชื้อ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดทั่วประเทศ และโรงพยาบาลรัฐและเอกชนเข้าร่วมประชุม
นายวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับรายงานจากสถาบันบำราศนราดูร กรณีนักเรียนไทยทุน AFS จำนวน 14 คน ที่เดินทางกลับมาจากประเทศเม็กซิโก พบว่า 11 คนมีอาการปกติ โดยมี 3 คนที่มีไข้ ซึ่งในจำนวนนี้ มีไข้ขึ้นสูงถึง 38.5 องศาเซลเซียส 1 คน ส่วนอีก 2 คนมีอาการน้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ โดยได้แยกผู้ที่มีอาการทั้ง 3 รายไปพักอยู่ในห้องปลอดเชื้อ เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยจะทราบผลตรวจพิสูจน์ว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 หรือไม่นั้น ภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังทั้งหมด หากครบ 48 ชั่วโมงแล้วไม่มีอาการไข้ ก็จะสามารถกลับบ้านเพื่อเฝ้าระวังติดตามอาการต่อที่บ้านได้
นายวิทยากล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอเอช 1 เอ็น 1 มีแนวโน้มการแพร่ระบาดค่อนข้างเร็ว ล่าสุดองค์การอนามัยโลกรายงานมีผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอเอช 1 เอ็น 1 ในเช้าวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 (ตามเวลาในประเทศไทย) ทั่วโลก 898 ราย เสียชีวิต 20 ราย จาก 18 ประเทศ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยอย่างเคร่งครัด แต่หากเข้ามาก็สามารถค้นหาและควบคุมได้อย่างรวดเร็ว ขณะนี้ทุกฝ่ายทำงานอย่างเข้มงวดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง และกำหนดยุทธศาสตร์การป้องกัน เฝ้าระวังให้ครบทุกด้าน
นายวิทยากล่าวต่อไปว่า ในการค้นหาผู้ที่สงสัยจะป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอเอช 1 เอ็น 1 มีนโยบายเน้นการวินิจฉัยที่รวดเร็ว แม่นยำ หากพบต้องรักษาทันที ขณะนี้กรมการแพทย์จัดทำคู่มือการตรวจคัดกรองผู้ป่วยเพื่อรักษา จัดส่งให้โรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยในระยะเร่งด่วนนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญโรคระบบติดเชื้อทางเดินหายใจ 24 คน ให้เป็นที่ปรึกษาแก่แพทย์ในโรงพยาบาล ทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน มีรองศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมการแพทย์เป็นประธาน เพื่อให้คำปรึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆตลอด 24 ชั่วโมง
ทางด้าน นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอเอช 1 เอ็น 1 จะใช้ยาต้านไวรัสโอเชลทามีเวียร์ ซึ่งใช้ได้ผลดี โดยมีมาตรการควบคุมการใช้ยาอย่างเข้มงวด กำหนดให้เป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งโดยแพทย์ ใช้เฉพาะในโรงพยาบาลไม่มีจำหน่ายในร้านขายยา ต้องกินให้ครบจำนวน เพื่อป้องกันการดื้อยาและใช้ยาเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้จะอบรมทีมแพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งภายใน 1-2 เดือนนี้
ประการสำคัญ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบการป้องกันการแพร่เชื้อในโรงพยาบาล หากมีผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายสงสัยเฝ้าระวังในโรงพยาบาล ให้ยึดหลักปฏิบัติตามแนวสากล ดูแลผู้ป่วยในห้องแยกปลอดเชื้อในโรงพยาบาล และให้สถานบริการทุกแห่งทั้งโรงพยาบาลและสถานีอนามัย ตั้งจุดตรวจคัดกรองผู้ป่วยแยกจากโรคทั่วไปด้วย โดยเตรียมเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออย่างเพียงพอ
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย
รู้จัก “ไวรัสไข้หวัดหมู” มฤตยูสายพันธุ์ล่าสุด!
สธ.สั่งจับตาหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ในเม็กซิโกใกล้ชิด ยันไม่พบเชื้อนี้ในไทย ปชช.ไม่ต้องกังวล
คุมเข้ม! ตั้งด่านวัดอุณหภูมิ สนามบินสุวรรณภูมิสกัดหวัดหมู เน้นขาเข้าจากเม็กซิโก-อเมริกา
สธ.เปิดสายด่วนไข้หวัดหมู ป้องกันประชาชนตระหนก
สธ.รับมือ “หวัดหมู” กระจายยาสำหรับ 3 แสนคน WHO เผยติดจากคนสู่คน
แพทย์ระบุ “หวัดหมู” รุนแรงน้อยกว่าหวัดนก แต่กระจายได้มากกว่า
“สุวรรณภูมิ” จับตา 8 เที่ยวบินจากเม็กซิโก ยังไม่พบติดเชื้อหมูมรณะ
สธ.เตรียมใช้แผนรับหวัดนก หาก WHO เพิ่มความรุนแรง “หวัดหมู” เตรียมทำคู่มือแจกปชช.
รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก” (ฉบับประชาชน)/เอมอร คชเสนี
WHO ยกระดับ “หวัดเม็กซิโก” ระดับ 4-สธ.ชง ครม.ตั้งกรรมการคุมระบาด
สธ.เฝ้าระวัง "หวัดเม็กซิโก"เข้มข้น คัดกรองทุกสนามบิน วอนคนไทยเลี่ยงไปพื้นที่ระบาด
ครม.ตั้ง “เสธ.หนั่น” นั่งประธานคุม “หวัดเม็กซิโก”
ด่วน! ไทยพบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ “หวัดเม็กซิโก” หลังกลับจากเมืองจังโก้ รพ.จุฬาฯ แถลง 4 โมงเย็นนี้
จุฬาฯ แถลงพบหญิงผู้ป่วยเฝ้าระวัง “หวัดจังโก” วัย 42 ปี ลุ้นผลแล็บคืนนี้
ไทยโล่ง! ผลตรวจผู้ป่วยต้องสงสัย แค่หวัดธรรมดา-สธ.ออกแถลงการณ์ ฉ.1
คำแนะนำ สธ.เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก ฉบับที่ 1
จุฬาฯ แถลงชัดสาวใหญ่ป่วยหวัดใหญ่ธรรมดา ไม่ใช่หวัดเม็กซิโก
กรมการจัดหางานเตรียมพร้อมอพยพแรงงานไทยหาก “หวัดเม็กซิโก” คุมไม่อยู่
กทม.ร่อนสารแจ้งโรงแรมทั่วกรุงเฝ้าระวังหวัดเม็กซิโก หวั่นนักท่องเที่ยวนำเชื้อ
รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก”/ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ภาควิชาจุลชีววิทยา
สธ.ออกคำแนะนำเรื่อง “หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” ฉบับที่ 2
แพทย์จุฬาฯ ปรับวิธีตรวจหาเชื้อไวรัสแค่ 4 ชม.รู้ผล - อเมริกาส่งเชื้อหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ให้วิจัยถึงไทยจันทร์นี้
สธ.เตรียมรับคนไทยกลุ่มแรกจากเม็กซิโก จัดทีมแพทย์ตรวจยิบ
ตื่นหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ 2009! อภ.เผยปชช.โทร.ซื้อ"โอเซลทามิเวียร์" เพียบ ระบุต้องหมอสั่ง ซื้อทั่วไปไม่ได้
สธ.เพิ่มมาตรการเข้มหลังหวัดใหญ่ 2009 ลามถึงฮ่องกง-เกาหลีใต้ ไทยเหลือผู้ป่วยเฝ้าระวัง 2 ราย
“เสธ.หนั่น” ตรวจด่านคุมโรคสุวรรณภูมิ เพิ่มเทอร์โมสแกนเต็มพิกัด 6 จุด เผยยังไม่พบหวัดใหญ่ 2009
ทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทยทำหนังสือขอบคุณ สธ.ช่วยให้ข้อมูลหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ถูกต้อง
“มาร์ค” ยันไทยยังไม่ติดหวัด 2009 กทม.ระดมเขต-อสม.-อปพร.มอบนโยบายป้องกัน
ทูลกระหม่อมหญิงฯทรงแนะ สธ.เข้มมาตรการระวังสูง “หวัด 2009” ให้สูงกว่ามาตรฐานเพื่อความมั่นใจ
สธ.ยังไม่ห้ามคนไทยเข้า 16 พื้นที่ระบาด-จัดทีมแพทย์รับคนไทยจากเม็กซิโกถึงสนามบินคืนนี้
ยันคนไทยเฝ้าระวังปลอดหวัด 2009 แนะเดินทาง ตปท.ควรสังเกตอาการตัวเอง
“วิทยา” นำทีม สธ.รับครูและ นร.AFS จากเม็กซิโก-เผยผลตรวจ ด.ช.11 เดือนบุรีรัมย์ไม่ติดหวัด 2009
วันนี้ (4 พ.ค.) ที่ รร.มิราเคิลแกรนด์ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังการเปิดประชุมปฏิบัติการเรื่องการวินิจฉัยการดูแลรักษาพยาบาลและการเฝ้าระวังผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A H1N1 2009 หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์อายุรกรรม กุมารแพทย์ พยาบาลควบคุมป้องกันการติดเชื้อ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดทั่วประเทศ และโรงพยาบาลรัฐและเอกชนเข้าร่วมประชุม
นายวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับรายงานจากสถาบันบำราศนราดูร กรณีนักเรียนไทยทุน AFS จำนวน 14 คน ที่เดินทางกลับมาจากประเทศเม็กซิโก พบว่า 11 คนมีอาการปกติ โดยมี 3 คนที่มีไข้ ซึ่งในจำนวนนี้ มีไข้ขึ้นสูงถึง 38.5 องศาเซลเซียส 1 คน ส่วนอีก 2 คนมีอาการน้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ โดยได้แยกผู้ที่มีอาการทั้ง 3 รายไปพักอยู่ในห้องปลอดเชื้อ เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยจะทราบผลตรวจพิสูจน์ว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 หรือไม่นั้น ภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังทั้งหมด หากครบ 48 ชั่วโมงแล้วไม่มีอาการไข้ ก็จะสามารถกลับบ้านเพื่อเฝ้าระวังติดตามอาการต่อที่บ้านได้
นายวิทยากล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอเอช 1 เอ็น 1 มีแนวโน้มการแพร่ระบาดค่อนข้างเร็ว ล่าสุดองค์การอนามัยโลกรายงานมีผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอเอช 1 เอ็น 1 ในเช้าวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 (ตามเวลาในประเทศไทย) ทั่วโลก 898 ราย เสียชีวิต 20 ราย จาก 18 ประเทศ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยอย่างเคร่งครัด แต่หากเข้ามาก็สามารถค้นหาและควบคุมได้อย่างรวดเร็ว ขณะนี้ทุกฝ่ายทำงานอย่างเข้มงวดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง และกำหนดยุทธศาสตร์การป้องกัน เฝ้าระวังให้ครบทุกด้าน
นายวิทยากล่าวต่อไปว่า ในการค้นหาผู้ที่สงสัยจะป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอเอช 1 เอ็น 1 มีนโยบายเน้นการวินิจฉัยที่รวดเร็ว แม่นยำ หากพบต้องรักษาทันที ขณะนี้กรมการแพทย์จัดทำคู่มือการตรวจคัดกรองผู้ป่วยเพื่อรักษา จัดส่งให้โรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยในระยะเร่งด่วนนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญโรคระบบติดเชื้อทางเดินหายใจ 24 คน ให้เป็นที่ปรึกษาแก่แพทย์ในโรงพยาบาล ทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน มีรองศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมการแพทย์เป็นประธาน เพื่อให้คำปรึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆตลอด 24 ชั่วโมง
ทางด้าน นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอเอช 1 เอ็น 1 จะใช้ยาต้านไวรัสโอเชลทามีเวียร์ ซึ่งใช้ได้ผลดี โดยมีมาตรการควบคุมการใช้ยาอย่างเข้มงวด กำหนดให้เป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งโดยแพทย์ ใช้เฉพาะในโรงพยาบาลไม่มีจำหน่ายในร้านขายยา ต้องกินให้ครบจำนวน เพื่อป้องกันการดื้อยาและใช้ยาเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้จะอบรมทีมแพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งภายใน 1-2 เดือนนี้
ประการสำคัญ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบการป้องกันการแพร่เชื้อในโรงพยาบาล หากมีผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายสงสัยเฝ้าระวังในโรงพยาบาล ให้ยึดหลักปฏิบัติตามแนวสากล ดูแลผู้ป่วยในห้องแยกปลอดเชื้อในโรงพยาบาล และให้สถานบริการทุกแห่งทั้งโรงพยาบาลและสถานีอนามัย ตั้งจุดตรวจคัดกรองผู้ป่วยแยกจากโรคทั่วไปด้วย โดยเตรียมเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออย่างเพียงพอ
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย